วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2550

กระบวนทัศน์องค์รวมพหุภาพในกรอบอ้างอิง9มิติ(ต่อ)

การจำแนกชุดของอนุภาค


ปัจจุบันมีการค้นพบ อนุภาคและปฏิอนุภาคใหม่ๆมากกว่า200 ชนิด...มีการจำแนกกว้างๆตามขนาดของมวลพลังงานดังนี้...

แบรีออน ( Baryons) เป็นกลุ่มอนุภาคและปฏิอนุภาคที่มีมวลมากที่สุด เช่น นิวตรอน โปรตอน โอเมกา ซิกม่า แลมดา ฯลฯ

นิวคลิออน(Nucleons) ได้แก่โปรตอน หรือนิวตรอนและปฏิอนุภาค

ไฮเปอรอน ( Hyperons) หมายถึง แบริออนที่มีมวลมากกว่านิวคลีออน

เมซอน ( Mesons)ได้แก่อนุภาคและปฏิอนุภาคที่มีมวลปานกลาง..เช่น เคออน ไพออน เป็นต้น

ฮาดรอน ( Hadrons) หมายถึงแบบชุดอนุภาคใดๆที่เกิดขึ้นในอันตรกิริยาพลังงานสูงซึ่งจะรวมไปถึง เมซอน และ แบริออนทั้งหมด...

เลปตอน ( Leptons) อนุภาคและปฏิอนุภาคที่มีมวลต่ำ หรือศูนย์ และสามารถมีอันตรกิริยากับแรงแม่เหล็กไฟฟ้า หรือแรงพลังต่ำ ได้.....แต่จะไม่มีอันตรกิริยาในพลังสูง...ได้แก่ มิวออน อิเล็กตรอน อิเล็กตรอนนิวตริโน เป็นต้น

บอซอน ( Bosons) คือ อนุภาคที่มีการหมุนรอบตัวเองเป็น 0 และ1 และไม่เป็นไปตามหลักการไม่ยอมให้ของพอลิ......คือไม่มีขีดจำกัดของจำนวน บอซอนที่อัดกันอยู่ที่เดียวกันได้..... ได้แก่ อนุภาคโฟตอน และเมซอนทั้งหมด บอซอนจึงรวมไปถึงอนุภาคทั้งหมดที่แบกพาแรงอ่อนและแรงแบบเข้ม ภายในนิวคลิออน

เฟอร์มิออน( Fermions) ได้แก่อนุภาคและปฏิอนุภาคที่มีค่าตัวเลขควอนตัมของการหมุนรอบตัวเองที่ไม่เป็นจำนวนเต็ม...เช่น ½ หรือ 1½ จึงรวมถึง แบริออน และเลปตอนทั้งหมด


การค้นหาอนุภาคที่เป็นมูลฐานของสสารต่างๆในจักรวาลยังดำเนินต่อไป.....จากการค้นพบว่า มีสิ่งที่เรียกว่าอะตอม....และในอะตอม ประกอบไปด้วย อิเล็กตรอน โดยมีโปรตอน และนิวตรอนรวมตัวอยู่ใจกลางเป็นนิวเคลียส....

นักวิทยาศาสตร์ยังพยายามทำความเข้าใจในธรรมชาติแห่งโลกของอนุภาคให้เข้าใจละเอียดยิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่องมาตลอด....ในความสัมพันธ์ของระดับต่างๆ...จากโมเลกุล....อะตอม...และนิวเคลียสของอะตอม....รวมไปถึงความสัมพันธ์ต่างๆของแรง 4 แรงอันเป็นพื้นฐาน....

นั่นก็คือการทำความเข้าใจ....มวลพลังงานที่เป็นพื้นฐาน...ที่มีความสัมพันธ์กันระหว่างพลังงานก่อเกิดมวลอนุภาค...และมวลอนุภาคก่อเกิดพลังงาน....ที่แปรเปลี่ยนไปมา...

มีการค้นพบอนุภาคใหม่ๆอยู่ตลอดเวลา....


การจำแนกอนุภาคพื้นฐานและแรงพื้นฐานภายในอนุภาคปัจจุบันมีดังนี้ :


ปัจจุบัน มีการจำแนกอนุภาคที่เป็นพื้นฐานออกเป็น2กลุ่มใหญ่...ได้แก่กลุ่มแลปตอน และกลุ่ม ควาร์ก.....ที่เรียกว่าอนุภาคพื้นฐานหมายความว่าจากเครื่องไม้เครื่องมือในการทดลองเท่าที่มีอยู่ในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ยืนยันว่าบรรดาอนุภาคเหล่านี้...ไม่สามารถตรวจพบโครงสร้างภายในที่ประกอบเป็นอนุภาคเหล่านี้ได้


1. การจำแนกตามประจุและมวลที่เป็นพื้นฐาน

-กลุ่มแลปตอน ดังได้กล่าวมาในตอนที่แล้ว...หมายถึงอนุภาคที่มีมวลน้อย หรือเป็นศูนย์..อันได้แก่ อิเล็กตรอน, อิเล็กตรอนนิวทริโน,มิวออน,มิออนนิวทริโน,tau และ tau-neutrino
( อนุภาค tau ค้นพบโดย มาร์ติน เลวิส เพิร์ล นักฟิสิกส์โนเบลชาวอเมริกัน มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับอิเล็กตรอน แต่มีมวลมากกว่า3,550 เท่า มีอายุสั้นเพียง 0.3ล้านล้านวินาที)

-กลุ่มควาร์ก อันได้แก่ ควาร์กเฟลเวอร์ (flavour) ต่างๆ ที่จำแนกตาม ประจุ และมวล ได้แก่ up(u),down(d),strange(s),charm(c),bottom(b) และ top(t) นอกจากนี้ยัง แบ่งควาร์กออกเป็น คัลเลอร์ (colour) ที่อธิบายถึงค่าของประจุที่เรียกเป็นคัลเลอร์ต่างๆอันทำให้ควาร์กเกาะเกี่ยวกันและประกอบกันขึ้น...ได้แก่ red, green และ blue

2. การจำแนกเป็นกลุ่มในการก่อโครงสร้างพื้นฐาน

-กลุ่มอนุภาคขั้นปฐมภูมิ(first family ) ได้แก่ กลุ่มที่เป็นส่วยประกอบโครงสร้างพื้นฐานของอนุภาคส่วนใหญ่ในจักรวาลและค่อนข้างเสถียรได้แก่.....up ควาร์ก , down ควาร์ก ,อิเล็กตรอน และอิเล็กตรอนนิวทริโน

-กลุ่มอนุภาคขั้นทุติยภูมิ ( second family) ที่จะพบหลังเกิดบิ๊กแบงก์ ได้แก่ charm ควาร์ก, strange ควาร์ก,มิวออน และมิวออนนิวทริโน

-กลุ่มตติยภูมิ ( third family )เป็นกลุ่มที่มีอายุสั้นไม่เสถียร ได้แก่ top quark ,bottom quark , อนุภาค tau และ tau-neutrino

3.การจำแนกกลุ่มอนุภาคที่เป็นสื่อนำพาแรงภายในอนุภาค
หรือที่เรียกว่ากลุ่มบอซอน(boson)

-โฟตอน ( photon) เป็นอนุภาคพื้นฐานในการนำพาแรงแม่เหล็กไฟฟ้า....ของกลุ่มแลปตอนและ ควาร์กที่มีคู่ประจุไฟฟ้า

-กลูออน ( gluons) เป็นอนุภาคที่นำพาแรงแข็ง หรือแรงเข้ม หรือเรียกอีกชื่อว่าแรงนิวเคลียร์พลังสูง ( strong force) ที่เชื่อมควาร์ก เข้าด้วยกัน....เช่นโปรตอน ที่ประกอบด้วยควาร์ก 3 ตัวได้แก่ u,u,d นิวตรอนประกอบด้วยควาร์ก u,d,d เป็นต้น

- อนุภาค w และ Z boson เป็นอนุภาคที่นำพาแรงอ่อน หรือแรงนิเคลียร์พลังต่ำ ( weak force) เช่น แรงที่เกิดจากการแผ่กัมมันตภาพรังสี ออกมาจากนิวตรอน และเปลี่ยนเป็นอิเล็กตรอนและโปรตอน เป็นต้น


นอกจากนี้ยังมีการจำแนกอนุภาคประหลาด แบ่งเป็น2 ประเภท ได้แก่...กลุ่ม อนุภาคเค-เมซอน ที่มีมวล 967 เท่าของอิเล็กตรอน และกลุ่มไฮเปอรอน..ที่มีมวลมากกว่านิวคลีออน(โปรตอนหรือนิวตรอน) อันได้แก่ แลมด้า ,ซิกม่า,ไซ และโอเมก้า

.................................


จากตำนาน ควาร์ก ถึง ทฤษฎีควอนตัม โครโมไดนามิกส์ (Quantum Chromodynamics หรือ QCD)


ในปลายปี 1960 มีการยิงประจุพลังงานสูงเข้าไปในนิวคลีออนจากเครื่องเร่งอนุภาค...และมีการตรวจพบว่ามีจุดศูนย์กลางของประจุแยกออกจากกันเป็น3จุด ภายในโปรตอนและภายในนิวตรอน...

โดยค่าตัวเลขควอนตัม ประจุที่แยกออกภายในโปรตอนรวมกันแล้วได้เท่ากับ1 อันมีประจุเป็นบวก ส่วนนิวตรอนรวมกันได้ 0 ซึ่งไม่มีประจุ...

จึงมีการตั้งชื่อศูนย์กลางประจุเหล่านี้ว่า....พาร์ตอน ( partons)

เมอร์เรย์ เกลล์-มันน์ นักฟิสิกส์อเมริกัน...ขณะนั้นเป็นศาสตราจารย์สาขาฟิสิกส์ที่สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย จึงคิดแบบจำลองทางคณิตศาตร์ขึ้นมาเพื่ออธิบายหน่วยลึกลับเหล่านั้น...

และตั้งชื่อ หน่วยเหล่านั้นว่า...ควาร์ก และปฏิของควาร์ก ว่าแอนตี้ควาร์ก

โดยแบ่งเป็นหน่วยที่เขาตั้งชื่อให้ว่าเฟลเวอร์(flavour) อันได้แก่ up,down และ sideway ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น strange รวมกับ แอนตี้ควาร์ก ก็เป็น6หน่วย

เดิมที เกลล์-มันน์และนักฟิสิกส์เชื่อว่า...เป็นเพียงกฎเกณณ์พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่ดำรงอยู่ ในลักษณะ พาร์ตอนของเม็ดพลังงาน

แต่ต่อมา...ก็มีการตรวจพบลักษณะที่เป็นเม็ดของพลังงานที่แยกย่อยของหน่วยลึกลับเหล่านี้......และก้เรียกกันว่า....ควาร์ก...

เมอร์เรย์ เกลล์-มันน์ เกิดเมื่อวันที่ 15 กันยายน 1929 ที่นิวยอร์ก เข้าศึกษาระดับปริญญาตรีที่ Yale เมื่ออายุ 15 ปี ในสาขาฟิสิกส์...และสำเร็จปริญญาเอกที่ MIT ในปี1951

ปี 1952 ได้เข้าร่วมงานวิจัยที่สถาบันนิวเคลียร์ศึกษา มหาวิทยาลัยชิคาโกและได้เสนอแนวคิด The “ strangeness ” อันเป็นคุณสมบัติทางควอนตัมที่ตรวจวัดได้จากการสลายตัวของเมซอน

ปี1955 เข้าทำงานวิจัยและได้รับการแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์ฟิสิกส์ที่สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย

ปี1961 เกลล์-มันน์และ ยูวาน เน อีแมน เขียนทฤษฎี Eight fold way ( ที่ตั้งชื่อตาม มรรคแปด อันเป็นทางสายกลางที่พระพุทธเจ้าบัญญัติ) เพื่ออธิบายอันตรกิริยาพื้นฐานของแรงเข้มและวางรากฐานทางความสมมาตรคณิตศาสตร์

จากความสำเร็จในแบบจำลองตามแนวคิดของ เกลล์-มันน์ ทำให้มีการค้นพบอนุภาค omega-minus (1964)

ปี 1969 เกลล์-มันน์ ได้รับรางวัลโนเบลฟิสิกส์ในผลงานการจำแนก sub-atomic และเรื่องอันตรกิริยาของอนุภาคภายในนิวคลีออน....

ต่อมาในปี1973 นักฟิสิกส์ 3 คน ได้แก่ เซลดอน ลี กลาสโซ , สตีเวน เวนเบิร์ก จากอเมริกา และ อับดุล ซาลาม จากปากีสถาน (ซึ่งทั้ง 3 คนได้รับรางวัลฟิสิกส์โนเบลในปี1979 ) ได้ร่วมกันพัฒนาทฤษฎีขึ้นมาที่ชื่อว่า ควอนตัม โครโมไดนามิกส์ หรือ QCD

และได้เพิ่มคุณสมบัติ ของควาร์ก ในเรื่องประจุสี..หรือ คัลเลอร์ อันเป็นการอธิบายถึงแรงเข้ม...ที่เกิดการแลกเปลี่ยนภายในควาร์ก...อันได้แก่ ค่าประจุ สีแดง สีน้ำเงิน และสีเขียว
เมื่อรวมกัน ไม่มีประจุจะเรียกว่าคัลเลอร์เลส...ที่จะเสถียร...

ทฤษฎี QCD ได้อธิบายว่า อนุภาคกลูออน เป็นตัวนำพาแรงแข็ง....อันเกิดจากควาร์กแต่ละตัวแลกเปลี่ยนคัลเลอร์กัน..

พร้อมกับทำนายว่าจะต้องมีควาร์กที่มีคุณสมบัติแตกต่างเพิ่มขึ้นอีกตัว คือควาร์ก charm ( C ) และมีการค้นพบในปี1974

หลังจากนั้นก็มีการค้นพบ ควาร์ก top และ bottom

และในปีที่แล้ว 2004 ได้มีการมอบรางวัลโนเบลให้กับ 3 นักฟิสิกส์ ได้แก่ เดวิท เจ กรอส, เอช เดวิท โพลิตเซอร์ และแฟรงค์ วิลเช็ค ในสาขาฟิสิกส์...ในการพัฒนาแนวคิดทฤษฎีQCD ที่ได้อธิบายถึงคุณสมบัติของควาร์กคัลเลอร์ และในการค้นพบ colour force ในรูปของ ควาร์ก-กลูออนพลาสมา...

อันเป็นการอธิบายว่า คุณสมบัติของควาร์กที่ดำรงความเป็นอิสระได้ ในสถานะภาพของพลังงานสูงมาก....ก่อนเกิด บิ๊กแบงก์

ซึ่งโดยธรรมชาติแล้ว...ไม่มีควาร์กใดที่ดำรงอยู่อย่างอิสระ...

ปัจจุบันมีการค้นพบอนุภาคใหม่เรื่อยๆ..ภายใต้เครื่องเร่งอนุภาคพลังงานสูง...เช่น อนุภาคไฮบริด หรือควาร์กลูกผสมเป็นต้น...


....................................


บทสรุปแห่งอนุภาคพื้นฐาน ควาร์ก
และ Theory Of Everything (TOE)



Well now, we get low and we get high,
and if we can't get either, we really try.
Got the wings of heaven on our shoes for the show,
and dancing on “The theory physic of TOE”.

So, we can try to understand,
the physic’s effect on a man.
And you may look on the other ways.
For we'll stayin' alive to see another day.


ขอเริ่มต้นบทสรุป...ด้วยการดัดแปลงเปลี่ยนแปลงบางตอนบทเพลง Stayin' alive ของ Bee Gees ที่ใช้เป็นเพลงประกอบภาพยนตร์ไม่ต่ำกว่า10เรื่องทั้งร้องในเวอร์ชั่นใหม่และบรรเลง....นับแต่ยุค 70 จนถึงยุคปัจจุบัน..

บทสรุปแห่งการค้นหาอนุภาคมูลฐาน....ซึ่งถึงที่สุดแล้วก็คือ....พลังงานในรูปต่างๆ...

ณ.เวลาปัจจุบันเท่าที่ค้นพบ...พลังงานอิสระในรูปแบบหนึ่งของ ควาร์กคัลเลอร์ที่เป็นกาวเชื่อมในรูปของพลาสม่าของกลูออน หรือประจุพลังงานที่อยู่ในสภาวะของพลังงานสูง...

สมมติฐานใดๆในสิ่งที่เราเรียกว่าวิทยาศาสตร์หรือจินตนาการใดๆ....ในเชิงประจักษ์นิยม...ล้วนอยู่บนขีดจำกัดทั้งสิ้นอันได้แก่....

บนความสมมาตรทางสมการคณิตศาสตร์....ในรูปแบบต่างๆ

บนการอ้างอิงและเปรียบเทียบกับค่าสมมติว่านี่คือค่าคงที่อันสัมบูรณ์ ซึ่งมีอยู่เพียงไม่กี่ร้อยค่า...เมื่อเทียบกับความกว้างใหญ่ของจักรวาลแห่งมหภาคและจุลภาค...เช่น ค่าแรงที่มีเพียง4แรงซึ่งเมื่อแยกย่อยก็จะเป็น ค่าประจุทางไฟฟ้า...ค่าการหมุนและทิศทางการหมุน...ค่าต่างๆที่มีทิศทางการเคลื่อนที่ของพลังงานในแบบเรขาคณิต4มิติ ....เป็นต้น

บนความสมมาตรระหว่างสิ่งตรงข้าม....

แบบจำลองในสิ่งที่เรียกว่าวิทยาศาสตร์จึงเป็นความจริงแห่งการตรวจวัดบนการเปรียบเทียบ...กับมุมมองเพียงเศษเสี้ยวหนึ่งของจักรวาล.....

จักรวาลที่ดำรงอยู่แห่งมิตินับอนันต์....และหลากหลายแบบวิธีแห่งการเปรียบเทียบอ้างอิงเชิงประจักษ์นิยม....

ทฤษฎีกระบวนทัศน์องค์รวม9มิติ....เป็นเพียงแค่การนำเสนอมุมมองเสี้ยวหนึ่ง...
หากจะ กล่าวในแง่ของ มิติแล้ว...สามารถอ้างอิงได้จำนวนอนันต์ของมิติ= Dn

จากตอนที่แล้ว...ที่กล่าวในเรื่องของควาร์ก....

ไม่ว่าจากทฤษฎี ควอนตัม โครโมไดนามิกส์....หรือทฤษฎี สตริง...ล้วนแล้วอ้างอิงโดยเปรียบเทียบกับค่าคงที่ค่าใดค่าหนึ่ง....ที่เรายืนยันว่านี่คือค่าคงที่และใช้หลักการทางคณิตศาสตร์ในการตรวจวัดในเชิงเรขาคณิต ของวัตถุนั้นๆ...

การดำรงอยู่โดยสรุปแล้ว....ก็คือพลังงานหนึ่งๆที่ดำรงอยู่ภายใต้การเปรียบเทียบ...

หากจะอธิบายในการแบบวิธีการหาอนุภาคที่เป็นมูลฐานในทางฟิสิกส์....ในแบบทฤษฎี QCD


ยังมีข้อที่เราจะต้องค้นคว้าต่อไปกล่าวคือ....

ในแง่การมอง...ควาร์กในแบบกระบวนทัศน์องค์รวม....มีข้อสังเกตุที่เราจะต้องค้นคว้าต่อไปได้ดังนี้...กล่าวคือ

-องค์รวมของ ควาร์กคัลเลอร์....ที่เป็นหน่วยย่อยของประจุแรงเชื่อมควาร์กในแบบชุดตัวเลขควอนตัม...หากเรากำหนดแค่ 3 คัลเลอร์ และด้านตรงข้ามคือคัลเลอร์เลส...อันเป็นแบบชุดองค์รวมของแรง(มวลพลังงานสถิตย์รวมไปถึงการเคลื่อนที่ของพลังงาน) องค์รวมที่เป็นสิ่งตรงข้ามตามแบบวิธีการสมมาตรทางคณิตศาสตร์ ก็จะต้องมีการดำรงอยู่เช่นกัน....

องค์รวมแห่งแรงที่ตรงข้ามกับองค์รวมนี้นั่นก็ย่อมคือองค์รวมที่รักษาไว้ซึ่งการคงรูปขององค์รวมชุดของคัลเลอร์และคัลเลอร์เลส....ซึ่งขอเรียกว่าองค์รวมแห่ง dark colour หรือองค์รวมประจุมืด...อันรักษาโมเมนตัมแห่งองค์รวมแรงควาร์กคัลเลอร์...

ความแตกต่างระหว่าง colourless และ dark colour ก็คือ...ประจุมืดเป็นการสมมาตรกับค่าขององค์รวมทั้งหมดขององค์รวมแรงคัลเลอร์และคัลเลอร์เลส...ในการก่อรูปการทางวัตถุใดๆ...

- ค่าของพลังงาน(สถิตย์และจลน์) หรือ E จึง เท่ากับ ค่าคงที่จำนวนใดๆในระบบการเคลื่อนที่(Kn)ที่ใช้ในการเปรียบเทียบ คูณกับ ขนาดปริมาณของพลังงานใดๆภายใต้กรอบแห่งมิติอ้างอิงในการก่อรูปการทางวัตถุในระบบนั้นๆหรือ En = Mn x Kn

ดังนั้น มวลพลังงานที่ตรวจวัดได้ในการก่อรูปการทางวัตถุใดๆ...ล้วนขึ้นกับกรอบที่สัมพัทธ์...แห่งการเปรียบเทียบทั้งสิ้น....



............................


For my Jewel ,

Well, my mine ’s completely in the dark,
cos’ colour of quarks .
You made a good impression on my mine,
and sparked in the dark moonshine.
In the deathlike slumber of my feelling ,
You turned over my inner charges to starts singing.

Or,am I standing still
out of the corner of “ the theory TOE ” dancing ?


ฟังเสียงกีต้าร์ใสๆ acoustic guitar ของ Jewel แล้วอดไม่ได้ที่ต้องเขียนบทกวีฟิสิกส์อันกระท่อนกระแท่นทางภาษาของผมไปถึงเธอ......

ผมชอบฟังเพลง....และฟังได้ทุกประเภทตั้งแต่ลูกทุ่ง...ยันลูกกรุงไปถึงเพลงสากล...

เสียงใสๆของ Jewel Kilcher ก็เป็นนักร้องคนหนึ่ง....แอบอ่านใน..บันทึกสายน้ำที่ไหลกลับในบล็อกบทกวีของleelyhongที่แปลบทเพลงนี้(จะนำมาลงให้อ่านภายหลัง)........

ทำให้อดนึกถึงนักร้องนักต่อสู้เพื่อสันติภาพและเพื่อสิทธิมนุษยชนที่โด่งดังอีกคนไม่ได้นั่นคือ..Joan Baez..ที่ยังมีอัลบั้มออกมานับตั้งแต่ปี1960ต่อเนื่องมาจนถึงรวมชุดในปี1999 .....สองสาวต่างวัยที่ร่วมสมัย...

Jewel สาววัย30 ปี ที่เปี่ยมด้วยความสามารถ ทั้งเป็นนักร้อง...นักแต่งเพลง...นักเรียบเรียงเสียงประสาน..นักประพันธ์และนักกิจกรรมเพื่อสังคม.....

เธอได้สร้างวิวัฒนาการเพลงในสไตน์ อคูสติก แนวใหม่ด้วยความหลากหลายให้กลับคืนมาอีกในยุคเสียงสังเคราะห์ปัจจุบัน....นอกจากเป็นนักร้องระดับซุปเปอร์สตาร์...หนังสือที่เธอเขียนล้วนติดอันดับยอดขายสูงสุดและได้รับการตีพิมพ์หลายครั้ง.....

แด่เธอ..ผู้ซื่อสัตย์อย่างไม่บิดเบือนต่ออารมณ์ความรู้สึกภายในใจของเธอ....

เพื่อสะท้อนความเป็นจริงของมนุษย์และความเป็นไปของสังคม...ที่ถ่ายทอดออกมาเป็นบทเพลงและตัวอักษรอันก่อเกิดสุนทรียภาพที่งดงามในผลงานเพลงและงานเขียนของเธอ.....ดูรายละเอียดของเธอได้ที่ www.jeweljk.com

จากตอนที่แล้วกล่าวถึง ควาร์ก คัลเลอร์...แล้วมันเกี่ยวอะไรกับเพลงด้วย...บางท่านอาจสงสัย

ฟิสิกส์ด้านจิตใจของคนเรา....อันประกอบไปด้วยการก่อรูปการทางอารมณ์ต่างๆก็เช่นกัน....

องค์รวมด้านจิตใจที่ประกอบไปด้วยด้านสองด้าน....ที่ประกอบรวมกันเป็นเอกภาพ

องค์รวมทางอารมณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นของมนุษย์....ไม่แตกต่างจากการประกอบกันขึ้นเป็นองค์รวมของแบบชุดทางควอนตัมของ ควาร์ก...บนจินตนาการแห่งความสมมาตรทางคณิตศาสตร์ที่มีกรอบจำกัด...

เราหลับตาลง...ลองจินตนาการดูว่า....ถ้าไม่มีแสงดวงอาทิตย์....สิ่งที่เกิดขึ้นคือ

ความมืดในสายตาของเราเท่าที่รับคลื่นแสงได้....ความหนาวเย็นเท่าที่ผิวกายเรารับได้.....

ไม่ได้หมายความว่าไม่มีพลังงานอื่นดำรงอยู่....คลื่นพลังงานมากมายที่เรามองไม่เห็นก็ยังมีอยู่

ความหนาวเย็นที่เย็นจัดที่อยู่นอกกรอบระบบสุริยะ...ทำให้พลังงานเคลื่อนที่ได้เร็วขึ้นอย่างน้อยก็20เท่าเนื่องจากความต้านทานในสนามแม่เหล็กไฟฟ้าลดลง....แล้วแสงดวงอาทิตย์เดินางอย่างคงที่หรือในจักรวาล....เช่นกันกับแสงจากดวงดาวที่มากระทบสายตาเรา....

สมมาตร CPT ในแบบชุดควอนตัม...คงที่หรือ...ค่าแพลงค์เป็นค่าที่นิรันดร์หรือ....ทิศทางการหมุน...สนามเวกเตอร์(ทิศทางการเคลื่อนที่ของแรง)...คงที่หรือ...ในจักรวาลใบนี้

แรงโน้มถ่วงของระบบกาแลกซี่....แผ่คลุมระบบสุริยะ ไม่ต่างจากแรงโน้มถ่วงระหว่างดวงอาทิตย์กับโลก...แบบวิธีคิดในเรื่องสนามแรงโน้มถ่วงสมบูรณ์แล้วหรือ...เมื่อแรงรักษาการคงที่จากสิ่งที่เราเรียกว่าสสารมืดยังดำรงอยู่และเป็นส่วนใหญ่ของจักรวาล...และอีกสารพัดที่เราจะจินตนาการ....เพื่อบรรลุในการสร้างนวัตกรรมเชิงประจักษ์นิยม.....

มิติที่9 องค์รวมพุภาพ ขอสรุปสั้นๆเพราะกล่าวมานานแล้ว....ก็คือการมองในองค์รวมทั้งหมดที่ผมได้กล่าวถึง....

และขอจบบทสรุปแบบห้วนๆ..สั้นๆแบบนี้แหละครับว่า....ทุกอย่างอยู่ที่เรายืนอยู่ตรงไหนในการมอง....ถ้าเราไม่ติดกับอัตตาในการ standing still ...และกล้าก้าวขาออกมา...เราก็จะเห็นอะไรอีกเยอะบนจักรวาลใบนี้....ที่มีมากกว่าในสมองเราคิด...

ขอจบ...หัวข้อกระบวนทัศน์องค์รวมเพียงเท่านี้

ขอบคุณสำหรับมิตรภาพที่ดีงามและความจริงใจของทุกท่านและที่ได้ติดตามอ่านมาตลอด 1ปีกว่า...


ขอเพียงในหัวใจมีความรัก....ไม่ว่าเราจะร้องเพลงไหน...

จากเสียงสายลมในเพลง Last Leaf ของCascade ,Travelin’man ของ Ricky Nelson แห่งอดีต...มาจนถึง Standing Still ของ Jewel และ The Last Flight Out ของ Plus-one หรือ บทเพลงจากพุ่มพวง ดวงจันทร์....


ความซื่อสัตย์ที่มีต่อสิ่งที่ดำรงอยู่ในใจนั่นคือ..ความรัก...ที่มนุษย์มีต่อมนุษย์....อันถ่ายทอดออกมาจากส่วนลึกในใจ...ก็คือบทเพลงเดียวกัน


ที่เราร้องร่วมกันให้ยังคงอยู่ตลอดไป....บนจักรวาลใบนี้...


Fare well, miss you .....Jewel แห่งแดนไกลทุกคนบนโลกเสมือน......




(หมายเหตุ:  เนื่องจากที่โพสลงไม่สามารถลง สัญญลักษณ์ต่างๆที่ใช้แทนความหมาย ท่านอาจเห็นตัวเลขประหลาดๆ...ก็อย่าได้แปลกใจ เช่น สมการ หรือสัญญลักษณ์ อนุภาค เป็นต้น.....)


การวิเคราะห์แบบองค์รวมในทางสังคม



การวิเคราะห์แบบองค์รวมในทางสังคม
................................

การคิดใหม่ต่อหลักการ
และแนวคิดทั่วไปในการวิเคราะห์:


หลักการพื้นฐานโดยทั่วไปในกระบวนการรับรู้ในการเรียนรู้ของมนุษย์ไม่ต่างจากปิระมิดที่มียอดแหลมตั้งบนพื้น....ถ้าเปรียบพื้นดินเหมือนความรับรู้อันกว้างใหญ่ไพศาลในจักรวาล....โดยมีปลายแหลมของยอดปิระมิดที่เป็นบริเวณที่มนุษย์ทำความเข้าใจต่อโลกและสรุปเป็นหลักการ
.....เมื่อมีการต่อยอดขึ้นไปเรื่อยๆขององค์ความรู้....ฐานที่เล็กแต่ส่วนบนมีการแตกแขนงไปไม่สิ้นสุด....ย่อมล่องลอยอยู่บนฟ้าและในที่สุดก็ล้มลงสัมผัสความเป็นจริงยังพื้นดิน.....และสร้างพื้นฐานใหม่....
......นั่นจึงเป็นสาเหตุว่า...ทำไมจึงต้องมีการคิดใหม่ในเรื่องหลักการ...ก็เพื่อหารากฐานที่ถูกต้องในการต่อยอด....

หลักพื้นฐานในการคิด....ที่มีหลายรูปแบบเช่น...
แบบแยกส่วนย่อย
แบบการสรุปรวบยอด
แบบบูรณาการ

ในแบบบูรณาการจะเห็นว่ามีฐานของปิระมิดหลายๆปิระมิดแห่งสหวิชาหลายๆสาขาที่เอาปลายแหลมตั้งไว้หลายๆบนดินแดนแห่งความรู้อันเป็นรากฐานการต่อยอดขึ้นไป....จากหลายๆฐานที่เกี่ยวโยงกัน...

หากแต่ว่า....กระบวนทัศน์แบบองค์รวม( holistic paradigm )ที่นำเสนอนี้เป็นแบบวิธีคิดอีกแบบ....ที่ขยายกรอบอ้างอิงให้กว้างขึ้น...เช่นกรอบมิติ...ในการอ้างอิง..

โดยสรุปเป็นกรอบกว้างๆเรียกว่า....มิติแห่งองค์รวมพหุภาพ..

องค์รวมพหุภาพ.....หมายถึงองค์รวมอันประกอบเป็นเอกเทศของสิ่งหนึ่งสิ่งใดในการตรวจวัด....และสัมพันธ์กับสิ่งที่ตรวจวัด....

การวิเคราะห์ทุนอันเป็นหน่วยพื้นฐานหนึ่งในทางเศรษฐกิจการเมืองเช่นกัน...มีรากฐานในการวิเคราะห์ดังได้กล่าวมาแล้ว...คือ....

การวิเคราะห์บนรากฐานทฤษฎีแบบเสรีนิยม
การวิเคราะห์บนรากฐานทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองแบบมาร์กซิสต์

และการวิเคราะห์ภายใต้กระบวนทัศน์แบบองค์รวม....

ผู้เขียนจะเน้นหนักเฉพาะทุน...แห่งระบอบธรรมาธิปไตย....เช่นระบบทุนแบบ ethical capital อันเป็นรากฐานทางเศรษฐกิจ ของโครงสร้างชั้นบนในระบอบรัฐแห่งธรรมาธิปไตย

Ethical capital หรือทุนแบบมีศีลธรรม ( ทุนในอุดมคติของระบบที่กลไกกลางการแลกเปลี่ยนศักยภาพของทุนเกิดดุลยภาพ) ซึ่งมีความหมายครอบคลุมที่กว้างขวาง....อันรวมไปถึงรูปการจิตสำนึกต่างๆที่เป็นศักยภาพแห่งทุนที่ดำรงอยู่ของมนุษย์ในสังคมนั้นๆ.....รวมถึงศาสนา....ความเชื่อทางจิตวิญญาณต่างๆของผู้คน....

รวมไปถึงจุดอ่อนต่างๆของระบอบทุนภายใต้กรอบกลไกแลกเปลี่ยนแบบเสรีนิยม....และแบบสังคมนิยม...


ทุน...หน่วยย่อยพื้นฐานเศรษฐกิจ-การเมือง


ระบอบเศรษฐกิจการเมืองใดๆล้วนแล้วมิอาจแยกออกจากการพัฒนาไปของระบอบทุนในโลก....
ทุน อันถือเป็นหน่วยย่อยพื้นฐานหนึ่งในทางเศรษฐกิจและการเมืองในสังคม....และเป็นรากฐานสำคัญต่อความสัมพันธ์ต่างๆของผู้คนในสังคมที่ก่อเกิดรูปการจิตสำนึกต่างๆ
การทำความเข้าใจในการพัฒนาไปของทุนที่มีการเปลี่ยนแปลงไปทำให้เราเข้าใจการเปลี่ยนแปลงไปของสังคม...วัฒนธรรม...การเมือง...ที่เกิดขึ้นจากการเคลื่อนที่ไปของทุน...

นิยามของทุน...มีผู้ให้คำอธิบายไว้หลายมุมมอง...ในทฤษฎีของฝ่ายสังคมนิยม...ได้ให้คำอธิบายว่า....

ทุน...เกิดจากแรงงาน....และผลจากแรงงานได้สร้างมูลค่าส่วนเกิน....และจากการสะสมทุนที่เกิดจากแรงงานส่วนเกิน ก่อให้เกิดชนชั้นใหม่คือชนชั้นนายทุน...ที่มีอำนาจผูกขาดควบคุมปัจจัยการผลิตต่างๆ.....จึงก่อให้เกิดทฤษฎีแห่งการต่อสู้ทางชนชั้น...และก่อเกิดรัฐแห่งสังคมนิยมขึ้น.....

ขณะที่อีกแนวคิดหนึ่ง...ยึดถือความมีเสรีภาพแห่งทุน....และก่อให้เกิดความมั่งคั่งและใหญ่โตของทุนที่เป็นปัจเจกชนขนาดใหญ่ขึ้น...จนไปสู่การข้ามชาติและไร้รัฐ...

ในแนวคิดที่นำเสนอ...จะพิจารณาทุนในอีกแง่มุมหนึ่ง...เพื่อนำเสนอว่าทุนแห่งรัฐธรรมาธิปไตย....เกิดขึ้นได้อย่างไร...

รัฐแห่งธรรมาธิปไตย ก็คือรัฐที่มีกระบวนการจัดความสัมพันธ์ของระบอบทุนอย่างมีดุลยภาพที่มีการเคลื่อนที่....


การกำเนิดของทุน....และกลไกแลกเปลี่ยนศักยภาพทุน


มนุษย์ ทุกคนที่เกิดมาบนโลก...ต่างล้วนมีความแตกต่างกัน...ไม่มีมนุษย์คนไหนที่เกิดมาเหมือนกันทุกประการแม้แต่เด็กฝาแฝดก็ตาม....
ความแตกต่างเหล่านี้...แยกเป็นความแตกต่างทางศักยภาพทางกายภาพ...และความแตกต่างทางศักยภาพทางปัญญารวมถึงจิตวิญญาณ...
องค์รวมของศักยภาพเหล่านี้ ที่ประกอบเป็นมนุษย์ผู้นั้น ที่มีความแตกต่างจากผู้อื่น....เมื่อมนุษย์มีการอยู่กันเป็นสังคม....จึงก่อให้เกิดกระบวนแห่งการแลกเปลี่ยนศักยภาพเหล่านั้นที่มีศักย์สะสมไว้แตกต่างกัน....
จึงมีการเกิดขึ้นของ....กลไกแห่งการแลกเปลี่ยนทางศักยภาพของทุน....

เช่น...ระบบการประเมินคุณค่าของศักยภาพที่มีอยู่....ระบบแลกเปลี่ยนศักยภาพ...
ในยุคบรรพกาล....ก็ย่อมมีการประเมินคุณค่าที่แตกต่างกันไป....ศักยภาพที่ได้เปรียบทางกายภาพบางครั้งอาจถูกประเมินว่ามีคุณค่าที่สูงกว่า...
เมื่อกลไกแห่งการแลกเปลี่ยนไร้ซึ่งดุลยภาพ.....ภายใต้การเปลี่ยนแปลงไปของสภาพแวดล้อมต่างๆที่เปลี่ยนไป....รวมไปถึงศักยภาพที่เพิ่มขึ้นและลดลงของผู้คนเมื่อมีการเปรียบเทียบอย่างสัมพัทธ์.....
การเปลี่ยนแปลงจึงเกิดขึ้น......จากการขาดดุลยภาพในการแลกเปลี่ยนเหล่านั้น......



การวิเคราะห์ในแบบเศรษฐกิจการเมือง


ในการวิเคราะห์แบบทฤษฎีของค่ายสังคมนิยม หรือทฤษฎีวัตถุนิยมวิภาษ จะมีแบบวิธีวิเคราะห์ กว้างๆคือ รากฐานทางเศรษฐกิจ และโครงสร้างชั้นบน

รากฐานทางเศรษฐกิจ หรือพื้นฐานทางเศรษฐกิจ จะประกอบไปด้วยส่วนหลักๆ2ส่วนคือ....พลังการผลิต และความสัมพันธ์ทางการผลิต
พลังการผลิต จะวิเคราะห์ถึง คน และ เครื่องมือการผลิต หรือการเปลี่ยนแปลงไปของคน และสภาพแวดล้อมภายใต้การเปลี่ยนไปของกระบวนการผลิตต่างๆ....
ความสัมพันธ์ทางการผลิต จะวิเคราะห์ถึงความสัมพันธ์ของคนในการถือครองปัจจัยการผลิตต่างๆ....ระบบแห่งสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป...
ทั้งหมด กล่าวโดยรวมๆจะเรียกว่า การศึกษาวัตถุนิยมทางประวัติศาสตร์....โดยมีรากฐานแห่งการคิดคือปรัชญาวัตถุนิยมวิภาษที่มีหลักสำคัญคือวัตถุกำหนดจิต การปฏิบัติเป็นพื้นฐานความรู้เป็นต้น..... และเอกภาพของด้านตรงข้ามหรือทวิลักษณะหรือทฤษฎีวิภาษวิธี

การวิเคราะห์ในเรื่องทุน....ในแบบวิธีการวิเคราะห์แบบนี้จะเน้นการวิเคราะห์ชนชั้นของทุน....หรือสรุปกว้างๆได้ว่ากระบวนความคิดใดๆมีการดำรงอยู่ของชนชั้น....ระหว่างชนชั้นที่ได้เปรียบและเสียเปรียบ
บนพื้นฐานของปรัชญาวัตถุนิยมวิภาษ ที่มีหลักการว่าการเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่งเกิดจาก การเปลี่ยนแปลงของเอกภาพด้านตรงข้ามโดยมีเหตุภายนอกเป็นเงื่อนไข และเหตุภายในเป็นมูลฐานการเปลี่ยนแปลง เหตุภายนอกก่อบทบาทโดยเหตุภายใน......
ด้วยเหตุนี้...นักทฤษฎีของค่ายนี้ที่ยึดถือทฤษฎีอย่างเหนียวแน่นจึงเสนอแนวทางนโยบายใดๆล้วนมีลักษณะ การสร้างเงื่อนไขที่ก่อให้เกิดการเร่งการสูญสลายทางชนชั้น.....

เมื่อมีการวิเคราะห์ถึงชนชั้นของทุน....จึงมีการเสนอทิศทางนโยบายอันเป็นการลดทอนลงของการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์....เมื่อมีการถือเอาว่ามนุษย์ที่มีแนวคิดที่เรียกว่าทุนนิยมเป็นเป้าหมายทำลายล้าง.....ด้วยแบบวิธีคิดแบบกลไก...

จึงทำให้เกิดการเฉื่อยชา....เกิดองค์กรขนาดมหึมาที่เทอะทะและเฉื่อยชา.....หรือในกรอบคิดค่ายนี้จะเรียกว่า ความขัดแย้งระหว่างพลังการผลิตและความสัมพันธ์ทางการผลิต...ที่ก่อเกิดเงื่อนไขขัดขวางต่อการพัฒนาของพลังการผลิต.....

ในประเทศจีน ก็ยังยึดถือแนวคิดเช่นนี้...แต่ปัจจุบันได้ปรับเปลี่ยนแนวคิดโดยมุ่งยึดถือคนเป็นศูนย์กลาง....
การยึดถือคนเป็นศูนย์กลาง....จึงทำให้...ทุน...ในความหมายแบบมาร์กซิสต์คลาสสิกต้องเปลี่ยนไป....และตรงกับความเป็นจริงมากขึ้น...

เพราะทุน....แท้ที่จริงแล้วก็คือศักย์...หรือพลังงานศักย์ ใดๆ....หรือศักยภาพใดๆที่แตกต่างกันของมนุษย์....ของกลุ่มทางสังคมของมนุษย์....

ที่ย่อมมีความแตกต่าง ทั้งปัจเจกชน และกลุ่ม

ระบบแห่งการเอารัดเอาเปรียบใดๆ....ล้วนเกิดจากการขาดดุลยภาพอันเกิดจาก ระบบกลไกกลางการแลกเปลี่ยนศักยภาพของทุนที่ดำรงอยู่ในมนุษย์....


กรอบแนวคิดแบบเสรีนิยมเช่นกัน....เมื่อปล่อยให้มีการดำเนินไปของปัจเจกชน...อย่างไร้ทิศทางควบคุม...ก่อให้เกิดกลุ่มที่ทรงอำนาจที่ผูกขาดอำนาจเศรษฐกิจการเมืองไว้ในมือของคนส่วนน้อยในสังคม....และลักษณะอนาธิไตยต่างๆ...อันไม่อาจเกิด.....ทุนแห่งศีลธรรมจรรยา หรือธรรมาธิปไตยของทุนได้....

ดังนั้นเอง...ทุนแห่งศีลธรรมจรรยา กล่าวกว้างๆก็คือทางสายกลาง...ที่เกิดจากการลดลงของทั้งสองขั้วดังกล่าว....ก่อเกิดรูปการใหม่ขึ้นมา....อันก่อให้เกิดดุลยภาพของระบบทุน.....



แบบจำลององค์รวมพหุภาพทุน


ในการวิเคราะห์แบบแยกส่วนย่อย(reduction) จะเห็นได้ว่าหน่วยย่อยพื้นฐานเบื้องต้นของทุน(capital ) ที่จริงแล้วก็คือ คน นั่นเอง

ทุน คือศักยภาพที่มีการสั่งสมของมนุษย์ อันประกอบไปด้วยศักยภาพทุนทางกายภาพ และศักยภาพทุนทางปัญญา-จิตวิญญาณ นั่นก็คือคนที่มีการสั่งสมทางวิวัฒนาการ ในทางกายภาพของมนุษย์ และการสั่งสมทางปัญญา-จิตวิญญาณ ตามวิวัฒนาการแบบวิถีชีวิตในทางสังคมมนุษย์

เมื่อทุน ก็คือ คน และ คน ก็คือ ทุน การวิเคราะห์ทุนใดๆที่พัฒนารูปแบบมาถึงปัจจุบัน ย่อมแยกไม่ออกจาก ระบบความเชื่อ รูปการจิตสำนึก จิตวิญญาณของมนุษย์

การศึกษาวิจัยในทางสังคมศาสตร์ ทุกชนิด ล้วนเริ่มต้นจากคน....และมีการต่อยอดสาขาวิชาไปมากมายเหลือคณานับ....

หากมิมีการมองในแบบรวบยอด ( deduction) ก็จะไม่เห็นถึง รากฐาน และทิศทาง....และเช่นกันหากมองแบบแยกส่วนโดดๆ( reductionism) และการสรุปรวบยอดโดดๆโดยขาดการเจาะลึกหารายละเอียด( deductionism) ก็จะไม่พบทิศทางและแนวทางที่เป็นรูปธรรม.....


อุดมการณ์ และจุดมุ่งหมาย

นักทฤษฎีทางสังคมศาสตร์โดยทั่วไปแล้วหากกล่าวถึงจุดมุ่งหมายแล้วล้วนมีจุดมุ่งหมายในการก่อให้เกิดสภาวะดุลยภาพของมนุษย์ในการเปลี่ยนแปลงสังคม...

ในปัจจุบันหากแยกประเภทใหญ่ๆกว้างๆในเชิงอุดมการณ์ได้แก่...
-อุดมการณ์แห่งลัทธิเสรีนิยม
-อุดมการณ์แห่งสังคมนิยมแบบอเทวนิยม
-อุดมการณ์แห่งสังคมนิยมแบบเทวนิยม

ในแบบเสรีนิยม อันมีจุดมุ่งหมาย เสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ ภายใต้หลักคิดแห่งการมีเสรีภาพของปัจเจกชน ซึ่งเป็นแรงจูงใจให้เกิดการขยายศักยภาพทุนภายใต้การแข่งขัน....หากแต่ว่าเมื่อขาดทิศทางแห่งการสร้างลักษณะร่วมขององค์รวมพหุภาพเหล่านั้น....อันไม่ต่างจากองค์รวมที่ประกอบเป็นมนุษย์ที่ประกอบด้วยองคาพยพของหน่วยย่อยต่างๆที่เป็นอิสระ....แต่ก็ยังมีลักษณะร่วมเพื่อการพัฒนาร่วมกัน.....

เสรีภาพ ที่มีในเชิงกายภาพและจิตวิญญาณ โดยขาดการควบคุมทางจิตวิญญาณ.....ก็ก่อให้เกิด....อนาธิปไตยแห่งทุน...อันเป็นการทำลายเอกภาพแห่งองค์รวม....

ในแนวคิดแบบสังคมนิยม ในแบบอเทวนิยม และแบบเทวนิยม รูปแบบหลักคือการใช้รูปแบบศรัทธานิยมเป็นหลัก....อุดมการณ์แห่งการควบคุมในทางจิตวิญญาณอย่างเข้มข้น.....

ในการควบคุมอย่างเข้มข้นเพียงอย่างเดียว....จึงก่อให้เกิดการทำลายความมีเสรีภาพแห่งการสร้างสรรค์ หรือส่งเสริมให้เกิดศักยภาพสูงสุดของทุน....

เมื่อทุน....ก็คือ คน.....หรือศักย์ที่ดำรงอยู่ในคน

เมื่อคน...ต่างล้วนมีรูปการแห่งความเชื่อ ที่แตกต่างกัน....ไม่มีแม้แต่คนเดียวในโลกที่เหมือนและเท่าเทียมกันทุกประการ......

เมื่อ อุดมการณ์ ที่ตั้งบนพื้นฐานทฤษฎีและการปฏิบัติอันไม่สอดคล้อง....เป้าหมายและอุดมการณ์...ก็ต้องเป็นเพียงแค่ความฝันลมๆแล้งๆ....

และในทางตรงข้าม เป็นการทำลายล้างมวลมนุษยชาติ....

แน่นอนที่สุด...เป็นการทำลายทุน...

เมื่อทุนคือคน....และจุดมุ่งหมายของผู้คน....ต่างล้วนแสวงหาความสุขที่ตนพึงพอใจ.....


แนวคิดทฤษฎีและแบบวิธีการวิเคราะห์ทางสังคม

ไม่มีความคิดเห็น: