วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2550

กระบวนทัศน์องค์รวมในกรอบอ้างอิง9มิติ

การวิเคราะห์ในแบบเศรษฐกิจการเมือง


ในการวิเคราะห์แบบทฤษฎีของค่ายสังคมนิยม หรือทฤษฎีวัตถุนิยมวิภาษ จะมีแบบวิธีวิเคราะห์ กว้างๆคือ รากฐานทางเศรษฐกิจ และโครงสร้างชั้นบน

รากฐานทางเศรษฐกิจ หรือพื้นฐานทางเศรษฐกิจ จะประกอบไปด้วยส่วนหลักๆ2ส่วนคือ....พลังการผลิต และความสัมพันธ์ทางการผลิต
พลังการผลิต จะวิเคราะห์ถึง คน และ เครื่องมือการผลิต หรือการเปลี่ยนแปลงไปของคน และสภาพแวดล้อมภายใต้การเปลี่ยนไปของกระบวนการผลิตต่างๆ....
ความสัมพันธ์ทางการผลิต จะวิเคราะห์ถึงความสัมพันธ์ของคนในการถือครองปัจจัยการผลิตต่างๆ....ระบบแห่งสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป...
ทั้งหมด กล่าวโดยรวมๆจะเรียกว่า การศึกษาวัตถุนิยมทางประวัติศาสตร์....โดยมีรากฐานแห่งการคิดคือปรัชญาวัตถุนิยมวิภาษที่มีหลักสำคัญคือวัตถุกำหนดจิต การปฏิบัติเป็นพื้นฐานความรู้เป็นต้น..... และเอกภาพของด้านตรงข้ามหรือทวิลักษณะหรือทฤษฎีวิภาษวิธี

การวิเคราะห์ในเรื่องทุน....ในแบบวิธีการวิเคราะห์แบบนี้จะเน้นการวิเคราะห์ชนชั้นของทุน....หรือสรุปกว้างๆได้ว่ากระบวนความคิดใดๆมีการดำรงอยู่ของชนชั้น....ระหว่างชนชั้นที่ได้เปรียบและเสียเปรียบ
บนพื้นฐานของปรัชญาวัตถุนิยมวิภาษ ที่มีหลักการว่าการเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่งเกิดจาก การเปลี่ยนแปลงของเอกภาพด้านตรงข้ามโดยมีเหตุภายนอกเป็นเงื่อนไข และเหตุภายในเป็นมูลฐานการเปลี่ยนแปลง เหตุภายนอกก่อบทบาทโดยเหตุภายใน......
ด้วยเหตุนี้...นักทฤษฎีของค่ายนี้ที่ยึดถือทฤษฎีอย่างเหนียวแน่นจึงเสนอแนวทางนโยบายใดๆล้วนมีลักษณะ การสร้างเงื่อนไขที่ก่อให้เกิดการเร่งการสูญสลายทางชนชั้น.....

เมื่อมีการวิเคราะห์ถึงชนชั้นของทุน....จึงมีการเสนอทิศทางนโยบายอันเป็นการลดทอนลงของการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์....เมื่อมีการถือเอาว่ามนุษย์ที่มีแนวคิดที่เรียกว่าทุนนิยมเป็นเป้าหมายทำลายล้าง.....ด้วยแบบวิธีคิดแบบกลไก...

จึงทำให้เกิดการเฉื่อยชา....เกิดองค์กรขนาดมหึมาที่เทอะทะและเฉื่อยชา.....หรือในกรอบคิดค่ายนี้จะเรียกว่า ความขัดแย้งระหว่างพลังการผลิตและความสัมพันธ์ทางการผลิต...ที่ก่อเกิดเงื่อนไขขัดขวางต่อการพัฒนาของพลังการผลิต.....

ในประเทศจีน ก็ยังยึดถือแนวคิดเช่นนี้...แต่ปัจจุบันได้ปรับเปลี่ยนแนวคิดโดยมุ่งยึดถือคนเป็นศูนย์กลาง....
การยึดถือคนเป็นศูนย์กลาง....จึงทำให้...ทุน...ในความหมายแบบมาร์กซิสต์คลาสสิกต้องเปลี่ยนไป....และตรงกับความเป็นจริงมากขึ้น...

เพราะทุน....แท้ที่จริงแล้วก็คือศักย์...หรือพลังงานศักย์ ใดๆ....หรือศักยภาพใดๆที่แตกต่างกันของมนุษย์....ของกลุ่มทางสังคมของมนุษย์....

ที่ย่อมมีความแตกต่าง ทั้งปัจเจกชน และกลุ่ม

ระบบแห่งการเอารัดเอาเปรียบใดๆ....ล้วนเกิดจากการขาดดุลยภาพอันเกิดจาก ระบบกลไกกลางการแลกเปลี่ยนศักยภาพของทุนที่ดำรงอยู่ในมนุษย์....


กรอบแนวคิดแบบเสรีนิยมเช่นกัน....เมื่อปล่อยให้มีการดำเนินไปของปัจเจกชน...อย่างไร้ทิศทางควบคุม...ก่อให้เกิดกลุ่มที่ทรงอำนาจที่ผูกขาดอำนาจเศรษฐกิจการเมืองไว้ในมือของคนส่วนน้อยในสังคม....และลักษณะอนาธิไตยต่างๆ...อันไม่อาจเกิด.....ทุนแห่งศีลธรรมจรรยา หรือธรรมาธิปไตยของทุนได้....

ดังนั้นเอง...ทุนแห่งศีลธรรมจรรยา กล่าวกว้างๆก็คือทางสายกลาง...ที่เกิดจากการลดลงของทั้งสองขั้วดังกล่าว....ก่อเกิดรูปการใหม่ขึ้นมา....อันก่อให้เกิดดุลยภาพของระบบทุน.....



แบบจำลององค์รวมพหุภาพทุน


ในการวิเคราะห์แบบแยกส่วนย่อย(reduction) จะเห็นได้ว่าหน่วยย่อยพื้นฐานเบื้องต้นของทุน(capital ) ที่จริงแล้วก็คือ คน นั่นเอง

ทุน คือศักยภาพที่มีการสั่งสมของมนุษย์ อันประกอบไปด้วยศักยภาพทุนทางกายภาพ และศักยภาพทุนทางปัญญา-จิตวิญญาณ นั่นก็คือคนที่มีการสั่งสมทางวิวัฒนาการ ในทางกายภาพของมนุษย์ และการสั่งสมทางปัญญา-จิตวิญญาณ ตามวิวัฒนาการแบบวิถีชีวิตในทางสังคมมนุษย์

เมื่อทุน ก็คือ คน และ คน ก็คือ ทุน การวิเคราะห์ทุนใดๆที่พัฒนารูปแบบมาถึงปัจจุบัน ย่อมแยกไม่ออกจาก ระบบความเชื่อ รูปการจิตสำนึก จิตวิญญาณของมนุษย์

การศึกษาวิจัยในทางสังคมศาสตร์ ทุกชนิด ล้วนเริ่มต้นจากคน....และมีการต่อยอดสาขาวิชาไปมากมายเหลือคณานับ....

หากมิมีการมองในแบบรวบยอด ( deduction) ก็จะไม่เห็นถึง รากฐาน และทิศทาง....และเช่นกันหากมองแบบแยกส่วนโดดๆ( reductionism) และการสรุปรวบยอดโดดๆโดยขาดการเจาะลึกหารายละเอียด( deductionism) ก็จะไม่พบทิศทางและแนวทางที่เป็นรูปธรรม.....


อุดมการณ์ และจุดมุ่งหมาย

นักทฤษฎีทางสังคมศาสตร์โดยทั่วไปแล้วหากกล่าวถึงจุดมุ่งหมายแล้วล้วนมีจุดมุ่งหมายในการก่อให้เกิดสภาวะดุลยภาพของมนุษย์ในการเปลี่ยนแปลงสังคม...

ในปัจจุบันหากแยกประเภทใหญ่ๆกว้างๆในเชิงอุดมการณ์ได้แก่...
-อุดมการณ์แห่งลัทธิเสรีนิยม
-อุดมการณ์แห่งสังคมนิยมแบบอเทวนิยม
-อุดมการณ์แห่งสังคมนิยมแบบเทวนิยม

ในแบบเสรีนิยม อันมีจุดมุ่งหมาย เสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ ภายใต้หลักคิดแห่งการมีเสรีภาพของปัจเจกชน ซึ่งเป็นแรงจูงใจให้เกิดการขยายศักยภาพทุนภายใต้การแข่งขัน....หากแต่ว่าเมื่อขาดทิศทางแห่งการสร้างลักษณะร่วมขององค์รวมพหุภาพเหล่านั้น....อันไม่ต่างจากองค์รวมที่ประกอบเป็นมนุษย์ที่ประกอบด้วยองคาพยพของหน่วยย่อยต่างๆที่เป็นอิสระ....แต่ก็ยังมีลักษณะร่วมเพื่อการพัฒนาร่วมกัน.....

เสรีภาพ ที่มีในเชิงกายภาพและจิตวิญญาณ โดยขาดการควบคุมทางจิตวิญญาณ.....ก็ก่อให้เกิด....อนาธิปไตยแห่งทุน...อันเป็นการทำลายเอกภาพแห่งองค์รวม....

ในแนวคิดแบบสังคมนิยม ในแบบอเทวนิยม และแบบเทวนิยม รูปแบบหลักคือการใช้รูปแบบศรัทธานิยมเป็นหลัก....อุดมการณ์แห่งการควบคุมในทางจิตวิญญาณอย่างเข้มข้น.....

ในการควบคุมอย่างเข้มข้นเพียงอย่างเดียว....จึงก่อให้เกิดการทำลายความมีเสรีภาพแห่งการสร้างสรรค์ หรือส่งเสริมให้เกิดศักยภาพสูงสุดของทุน....

เมื่อทุน....ก็คือ คน.....หรือศักย์ที่ดำรงอยู่ในคน

เมื่อคน...ต่างล้วนมีรูปการแห่งความเชื่อ ที่แตกต่างกัน....ไม่มีแม้แต่คนเดียวในโลกที่เหมือนและเท่าเทียมกันทุกประการ......

เมื่อ อุดมการณ์ ที่ตั้งบนพื้นฐานทฤษฎีและการปฏิบัติอันไม่สอดคล้อง....เป้าหมายและอุดมการณ์...ก็ต้องเป็นเพียงแค่ความฝันลมๆแล้งๆ....

และในทางตรงข้าม เป็นการทำลายล้างมวลมนุษยชาติ....

แน่นอนที่สุด...เป็นการทำลายทุน...

เมื่อทุนคือคน....และจุดมุ่งหมายของผู้คน....ต่างล้วนแสวงหาความสุขที่ตนพึงพอใจ.....


แนวคิดทฤษฎีและแบบวิธีการวิเคราะห์ทางสังคม


แนวคิดทฤษฎีและแบบวิธีการวิเคราะห์ทางสังคมเพื่อศึกษาสังคมไทยโดยทั่วไปจำแนกเป็นประเภทใหญ่ๆได้ดังนี้

1. การวิเคราะห์แบบแยกส่วนย่อย และแบบสรุปรวบยอด จะจำแนกเป็นประเภทกว้างๆดังนี้

- แบบวิธีวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจ
- แบบวิธีวิเคราะห์ทางการเมือง
- แบบวิธีวิเคราะห์ทางสังคมและมานุษยวิทยา
- แบบวิธีวิเคราะห์ทางประวัติศาสตร์
- แบบวิธีวิเคราะห์ทางจิตวิทยาสังคม
- แบบวิธีวิเคราะห์ด้านโครงสร้าง
- แบบวิธีวิเคราะห์ด้านบุคลิกภาพและจิตใจ
- แบบวิธีวิเคราะห์ด้านความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
- แบบวิธีวิเคราะห์ในแนววิวัฒนาการ เป็นต้น


ในแบบวิธีวิเคราะห์ทางทฤษฎีทางเศรษฐกิจ ของนักเศรษฐศาสตร์ จำแนกได้กว้างๆดังนี้

- กลุ่มคลาสสิก ได้แก่ ทฤษฎีพัฒนาการเศรษฐกิจ ของอดัม สมิท (1723-1790)ถือเป็นOriginal ในทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ของโลก เดวิด ริคาร์โด (1772-1823) และจอห์น สจ๊วต มิลล์ เป็นต้น

- กลุ่มคัดค้านคลาสสิก ได้แก่ คาร์ล มาร์กซ (1818-1883)

- กลุ่ม นีโอ-คลาสสิก เช่น อัลเฟรด มาร์แชลล์ กลุ่มออสเตรีย (the Austrian School) กลุ่มMathematical School มีอิทธิพลระหว่าง 1870-1935

- กลุ่มคัดค้าน นีโอ-คลาสสิก ได้แก่ โจเซฟ ชุมปีเตอร์ จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ Roy F.Harrod และEvsey D.Domar เป็นต้น รวมไปถึงแนวคิดนักเศรษฐศาสตร์ทั่วไปในปัจจุบัน
- กลุ่มคลาสสิกใหม่ (new clas-sical )

แนวนโยบายทั่วไปของรัฐโดยทั่วไปจะยึดแนวทางพัฒนาเศรษฐกิจจากแนวคิดดังกล่าวข้างต้น

2. การวิเคราะห์แบบสหวิทยาการ หรือแบบบูรณาการ ได้แก่

- แบบวิธีวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม สังคม ในแบบวิธีวิเคราะห์แบบนี้ เช่น แบบวิธีวิเคราะห์แบบมาร์กซิสต์ ถือเป็นแบบแรกในการนำเสนอแนวคิดในการวิเคราะห์แบบนี้โดยมีรากฐานทางทฤษฎีวัตถุนิยมวิภาษ เป็นหลักในการวิเคราะห์

หากแต่ว่ากรอบวัตถุนิยมวิภาษแบบมาร์กซิสต์คลาสสิก นั้นจะเป็นในรูป การวิเคราะห์แบบทวิลักษณะในแบบกลไก เช่น การยึดถือเอาชนชั้นอันเป็นนามธรรมคือชนชั้นกรรมาชีพที่ไร้สมบัติ ไม่มีความคิดเอารัดเอาเปรียบ ไม่มีการขูดรีด เป็นชนชั้นที่มองแบบกลไกว่าเป็นวิทยาศาสตร์ที่สุด มีจิตใจเสียสละที่สุด ไร้ซึ่งความเห็นแก่ตัว ฯลฯ

หรือสรุปง่ายๆ ก็คือ พระเจ้านั่นเอง จินตภาพ กรรมาชีพ ก็ไม่ต่างจากพระอรหันต์ ในศาสนาพุทธ และพระเจ้าในศาสนา อื่นๆ

นั่นคือการถือเอา อุดมคติ หรือเป้าหมายในเชิงอุดมคติ มาเป็นแบบวิธีการกำหนดแนวทางนโยบายในการแปรเปลี่ยนมนุษย์ โดยแนวทางการสูญสลายชนชั้นแบบกลไก

แต่ทฤษฎีของมาร์กซ ได้สร้างคุณูปการให้แก่ชาวโลกหลายประการเช่น การเกิดแนวคิดรัฐสวัสดิการ ในประเทศอุตสาหกรรม การดูแลเอาใจใส่แก่คนงานเพิ่มขึ้น และทฤษฎีมาร์กซ ถือเป็นต้นแบบการวิเคราะห์แบบสหวิทยาการแม้ว่าจะเป็นในแบบกลไกแต่เนื่องจากเกิดขึ้นมานับร้อยปีแล้ว

3.การวิเคราะห์แบบองค์รวม ในแบบวิธีการวิเคราะห์ แบบนี้จะต้อง ถือความสัมพันธ์ของทุกส่วนนั้นเกี่ยวข้องกัน


เพื่อเสนอ model ( ตัวแบบ) ในการวิเคราะห์ลักษณะสังคมไทยและเป็นแนวทางในการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ ดังที่ได้นำเสนอมากว้างๆ ในปัญหาเรื่องทุน ซึ่งจะเป็นหน่วยพื้นฐานทางเศรษฐกิจการเมืองในสังคม

การวิเคราะห์แบบองค์รวม จะต้องวิเคราะห์ ถึงความสัมพันธ์ ระหว่าง องค์รวมของทุนหรือศักยภาพทุนทางกายภาพและศักยภาพทุนทางปัญญาและจิตวิญญาณของมนุษย์ ที่มีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมภายนอก เช่นธรรมชาติ ทรัพยากรธรรมชาติ และสังคม

การวิเคราะห์รูปแบบการพัฒนาไปของกลไกกลางการแลกเปลี่ยนทางศักยภาพของทุน ระบบที่มีดุลยภาพของกลไกกลางการแลกเปลี่ยน หรือระบบดุลยภาพของทุน เป็นต้นเพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ที่ก่อให้เกิดดุลยภาพทางเศรษฐกิจการเมืองและสังคม

การพัฒนาคิดค้นรูปแบบการสร้างมูลค่าให้กับทุน เช่น ทุนทางวัฒนธรรม และทุนทางสังคมต่างๆเพื่อก่อให้เกิดดุลยภาพ และเกิดการสะสมทุนเพิ่มขึ้นของกลุ่มที่ขาดดุลยภาพทางทุนในสังคมไทยเช่นชาวนาชาวไร่ในชนบทไทย อย่างเป็นรูปธรรม

ชาวนาชาวไร่ ที่เพิ่งหลุดพ้นจากความไร้อิสระภาพในการสะสมทุนจากระบบไพร่ มาเพียงแค่ชั่วไม่กี่อายุคน คือเพียงแค่ร้อยกว่าปี จากที่ต้องทำงานให้มูลนายในสังกัดเป็นปี ลดลงเหลือ 6เดือนต่อปี และมีการยกเลิก แต่แบบวิถีชาวบ้านในชนบทก็ยังมีการเกณท์แรงงานเช่นกันหากแต่ว่าเป็นความสมัครใจ นอกจากจะมีระบบการผลิตที่ต้องพึ่งพิงธรรมชาติเป็นหลักและต้องทำงานอย่างหนักแต่ไม่มีอำนาจในการกำหนดราคาผลผลิต
จากประวัติศาสตร์ที่ยากจน ปัจจุบันก็ยังยากจน และอนาคตก็ยังจะยากจนต่อไป ถ้าไม่มีการสร้างเสริมให้เกิดดุลยภาพแห่งทุน

เมือง ที่บริโภคทรัพยากรส่วนใหญ่ของประเทศ ขณะที่ชนบท ขาดแคลน จึงก่อให้เกิดการขาดดุลยภาพอย่างหนักในประเทศ ระบบรวมศูนย์ที่เมืองใหญ่ และกระจายไปเมืองบริวาร ไปจนถึงหน่วยสุดท้ายหมู่บ้านในชนบท
เช่นคนเมืองใหญ่ มีการบริการทางการแพทย์ที่ดี เป็นศูนย์รวมการคมนาคมขนส่ง ส่วนเมืองเล็กๆก็เป็นเมืองบริวาร เช่นถ้าจะขึ้นเครื่องบินก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปเมืองใหญ่เพิ่มขึ้น จึงก่อให้เกิดการกระจุกตัวในเมืองใหญ่ และพ่อค้าในเมืองจึงเป็นผู้ที่มีการสะสมเงินทุนได้สูง
ภายใต้ระบบการเมืองที่ผูกขาดอำนาจก่อให้เกิดการเติบโตของกลุ่มพ่อค้า กลุ่มมาเฟีย และระบบผู้รับเหมาก่อสร้างที่บริหารจังหวัดที่ผลาญงบประมาณแผ่นดินในการบริหารท้องถิ่น เป็นต้น
ขณะที่ระบบการผลิตที่ล้าหลังในชนบท ระบบการทำนาที่อาศัยธรรมชาติเป็นหลัก โดยมีที่ทำการเกษตรที่เป็นที่ทำนาเป็นหลัก แยกออกไปจากบ้านพักอาศัยซึ่งจะเป็นชุมชนเป็นหมู่บ้าน ทำให้การปรับเปลี่ยนมาทำเกษตรแบบผสมผสานลำบาก และต้องลงทุนสูงในการปรับปรุงที่นา ในการโยกย้ายที่อยู่อาศัย ปัญหาความปลอดภัยต่างๆเป็นต้น จึงทำให้การผลิตไม่เพียงพอที่จะเลี้ยงตนเองได้และก่อเกิดปัญหาหนี้สิน ปัญหาการอพยพหางานทำในเมือง การแตกสลายของครอบครัว เป็นต้น

แนวทางการปรับเปลี่ยนและมีการค้นคิดนำใช้ทุน ทางวัฒนธรรม ทางสังคม ทางการสั่งสมภูมิปัญญา ให้กับชาวนาชาวไร่ พร้อมๆกับการช่วยเหลือด้านเงินทุนเบื้องต้นเพื่อก่อให้เกิดการสร้างผลิตผล จึงเป็นแนวทางหนึ่งที่ก่อให้เกิดการเพิ่มพูนขึ้นทางศักยภาพทุนของกลุ่มชาวนาชาวไร่ในสังคมที่ขาดศักยภาพทุนมาตลอดในรูปเงินลงทุน

ระบบกลไกกลางการแลกเปลี่ยนศักยภาพแห่งทุนใดๆที่ก่อให้เกิดดุลยภาพ ย่อมเป็นกลไกของระบบรัฐแห่งธรรมาธิปไตย




ระบอบทุนนิยมแห่งสังคม
SOCIAL - CAPITALISM

…………………………………


ทุน ( Capital ) :
นิยามและความหมาย


กระบวนการวิเคราะห์พื้นฐานในทางสังคมเพื่อให้เห็นถึงทิศทางแห่งการพัฒนาไปทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ล้วนแล้วก็คือการวิเคราะห์ถึงโครงสร้างแห่งความสัมพันธ์ต่างๆของทุนภายใต้การวิวัฒนาการไปสังคมนั้นๆ

ความหมายของคำว่า ทุน ดังได้กล่าวมาแล้ว...อันหมายถึงศักยภาพที่มีการสั่งสมมาในทางกายภาพและทางจิตวิญญาณของมนุษย์ในสังคม...

ในความหมายที่กล่าวมานี้ย่อมแตกต่างจาก แนวคิด ทวิลักษณะกลไกแบบมาร์กซิสต์ ที่ให้คำอธิบายว่าทุนก็คือแรงงาน....ภายใต้การใช้แรงงานของชนชั้นกรรมาชีพ แรงงานส่วนเกินของชนชั้นกรรมาชีพก่อเกิดมูลค่าส่วนเกินและเกิดการสะสมทุนของชนชั้นนายทุนที่ขูดรีดและเอาเปรียบสร้างความมั่งคั่งและก่อเกิดชนชั้นนายทุน...

ในความหมายในที่นี้ จะอธิบายให้เห็นว่า ที่จริงแล้วทุนก็คือการสั่งสมแห่งศักยภาพที่ดำรงอยู่อันแตกต่างกันของมนุษย์
ทั้งในทางศักยภาพทางกายภาพและศักยภาพทางปัญญาและจิตวิญญาณอันเกิดจากการเรียนรู้ที่สั่งสมมาในกระบวนการทางสังคม

ในความแตกต่างแห่งศักยภาพเหล่านี้ของคนที่ไม่เท่าเทียมกันอย่างสัมบูรณ์บนโลก อันเป็นธรรมชาติของสรรพสิ่งในจักรวาลที่ดำรงสถานะความเป็นเอกเทศอย่างสัมพัทธ์

ภายใต้ความแตกต่างเหล่านี้ ก่อให้เกิด กลไกกลางแห่งการแลกเปลี่ยนศักยภาพทุน ที่พัฒนามาเป็นระบอบการเมืองการปกครอง ระบอบเศรษฐกิจ วัฒนธรรม สังคม กฏเกณท์ต่างๆ บรรทัดฐานทางสังคม รูปการทางจิตสำนึก-จิตวิญญาณต่างๆ เป็นต้น

ตัวอย่างเช่น เด็กทารกแรกเกิดในประเทศจีน หากเกิดมาเป็นเด็กชาย จะมีศักยภาพทางกายภาพที่สูงกว่า เด็กหญิง และมีมูลค่าในการแลกเปลี่ยนศักยภาพแห่งทุนสูงกว่า เด็กหญิง

จากตัวอย่างนี้จะเห็นได้ว่า แค่เด็กร้อง อุแว้ ...ก็มีมูลค่าสูงกว่าแล้วหาได้ใช้แรงงานส่วนเกินอะไรไม่..

ทุนแห่งศักยภาพทางกายภาพของเด็กที่ดำรงอยู่ ก่อเกิดมูลค่าได้ ที่มีมูลค่าสูงกว่าเด็กหญิง ย่อมเกิดจาก สิ่งที่เรียกว่า องค์รวมพหุภาพแห่งทุนในทางสังคม...

องค์รวมพหุภาพแห่งทุนในทางสังคม ก็คือองค์รวมแห่งการสั่งสมศักยภาพแห่งทุนในสังคมนั้นๆที่มีมานับแต่อดีต ปัจจุบัน และทิศทางแห่งอนาคต
การก่อรูปการองค์รวมทางวัตถุใดๆของสรรพสิ่ง ล้วนดำรงไว้ซึ่งร่องรอยแห่งอดีต ปัจจุบันและอนาคต ในกระบวนการพัฒนาไปของสิ่งนั้นๆ...



ความหมายของคำว่าทุน


ทุน ได้มีการให้ความหมายของคำว่า ทุนในปัจจุบัน เป็น 2 แนวคิดใหญ่ๆ

คือ แนวคิด แนวคิดของนักเศรษฐศาสตร์ แบบเสรีนิยม จะให้ความหมายที่ครอบคลุมไปทั้งหมด คือหมายถึงทรัพยากร ต่างๆรวมทั้งทรัพยากรมนุษย์ที่มีการนำใช้ในกระบวนการผลิต,การแลกเปลี่ยนสินค้า

ในขณะที่แนวคิดของนักเศรษฐศาสตร์แบบมาร์กซิสต์ จะให้ความหมายของคำว่าทุน ก็คือ ผลอันเกิดจากแรงงานของมนุษย์ในการดำเนินการผลิต และผลจากแรงงานส่วนเกิน ที่ก่อให้เกิดมูลค่าส่วนเกินได้กลายมาเป็นทุนหรือเครื่องมือในการดำเนินการผลิตและก่อเกิดยุคทุนนิยม

สำหรับความหมายของคำว่าทุน ในที่นี้ หมายถึงคุณสมบัติที่ดำรงอยู่ในตัวมนุษย์ ที่แสดงออกถึงการสั่งสมไว้ทางศักยภาพอันประกอบเป็นองค์รวมพหุภาพของมนุษย์ ที่ทำให้เกิดความแตกต่างของมนุษย์แต่ละคนที่ไม่เหมือนกัน

การแสดงออกของทุน ก็คือกระบวนการที่มนุษย์ มีอันตรกิริยา กับ สิ่งอื่นที่อยู่นอกตัวมนุษย์ เช่นระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ ,มนุษย์ กับธรรมชาติ ภายใต้การดูดกลืน และการแผ่กระจายออกในการปรับดุลยภาพในความแตกต่างทางศักยภาพก็คือการแลกเปลี่ยนทุน

การกำเนิดของทุน มาจากความแตกต่างทางศักยภาพ ของมนุษย์ กล่าวคือในยุคบรรพกาล เมื่อมนุษย์มีการอยู่กันเป็นสังคมชุมชนแบบบรรพกาล ความแตกต่างทางกายภาพเช่นความแข็งแรง หรือความเชี่ยวชาญในการสังเกตุ , ทักษะ ประสบการณ์, ได้ก่อรูปให้เกิดการ แลกเปลี่ยนทางศักยภาพ
ผู้มีทุนทางศักยภาพสูงสุดและศักยภาพนั้นๆเป็นที่ยอมรับของสังคมนั้นหรืออยู่บนพื้นฐานของความต้องการของชุมชนนั้นๆก็ได้รับการยอมรับเป็นผู้นำ หรือเป็น กลไกกลาง ที่จะไกล่เกลี่ย และให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางศักยภาพที่เกิดดุลยภาพในชุมชนนั้นๆ และเป็นระบบแรกเริ่มของระบบกลางของการประเมินคุณค่าแลกเปลี่ยน รวมทั้งเป็นจุดเริ่มต้นของ กระบวนการแห่งอำนาจรัฐของชุมชน หรือระบบกลางในการแลกเปลี่ยนศักยภาพในทางการเมือง,วัฒนธรรม และสังคม

รัฐแห่งชุมชนบรรพกาลได้ก่อรูปการจิตสำนึกขึ้นมาบนพื้นฐานการประเมินคุณค่าของศักยภาพ ในทางจิตวิญญาณ และศักยภาพในทางวัตถุ จากที่มีรูปการจิตสำนึกทางสังคมแบบแบ่งปันกันที่มีดุลยภาพ ก็เริ่ม มี อภิสิทธิ์ ต่างๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนไปจากการขาดดุลยภาพของระบบกลางในการประเมินคุณค่าต่อศักยภาพของสิ่งต่างๆ

เมื่อสังคมได้ขยายใหญ่ขึ้นระบบกลไกกลางแห่งการแลกเปลี่ยนศักยภาพทุนไม่ได้รับการปรับตัวให้เกิดดุลยภาพ เช่นการแลกเปลี่ยนที่ไม่เป็นธรรม,ความไม่เท่าเทียมกันด้านต่างๆ ประกอบกับ มีการรุกรานซึ่งกันและกันของชุมชน รวมทั้งการรับรู้ ระหว่างชุมชน กับชุมชน ทำให้เกิดการเปรียบเทียบ อันก่อให้เกิดการรวมตัวและการแยกตัวของชุมชน

ทุน ได้มีการนำใช้ นับแต่มนุษย์ เริ่มอยู่กันเป็นสังคม หรือแม้แต่ดำรงชีพอยู่อย่างโดดเดี่ยว ก็ยังต้องใช้ทุนทางปัญญาหรือทุนที่เกิดจากการสั่งสมทางประสบการณ์ ที่รวมไปถึงความคิดจินตนาการ ในการใช้ทุนเหล่านี้เพื่อต่อสู้ในการดำรงชีวิตอยู่กับสภาพแวดล้อมธรรมชาติ

ชุมชนบรรพกาลหรือตามแนวคิดของสำนักมาร์กซิสต์ ที่อธิบายว่าเป็นสังคมคอมมิวนิสต์บรรพกาล ที่มีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน นั้น ที่จริงแล้ว ไม่ได้เป็นเช่นนั้น ความแตกต่างทางศักยภาพของมนุษย์ยังดำรงอยู่ ระบบกลางของการไกล่เกลี่ยหรือแลกเปลี่ยนศักยภาพที่จะต้องไม่เท่าเทียมกัน เช่นความรัก ความผูกพัน ของครอบครัวหนึ่งๆย่อมไม่เท่ากัน ,กิเลส,ความเห็นแก่ตัวของมนุษย์ที่มีความแตกต่างกันก็ยังมีอยู่ ซึ่งก็คือมีการดำรงอยู่ของรูปการอันก่อให้เกิดอภิสิทธิ์ที่ไม่เท่าเทียมกัน

การวิเคราะห์ว่าเป็นสังคมที่ไม่มีชนชั้น คือเป็นสังคมที่มีความเสมอภาคเท่าเทียมกันคงไม่เป็นความจริง ทั้งนี้เนื่องจากความเป็นจริงในทางธรรมชาติที่ไม่มีสิ่งใดๆเท่าเทียมกันอยู่แล้วอย่างสัมบูรณ์

สิ่งที่เรียกว่าความเสมอภาคก็คือกระบวนการภายใต้กรอบแห่งการแลกเปลี่ยนหรือกระบวนการของอันตรกิริยาที่มีดุลยภาพภายใต้การเคลื่อนที่ ดังนั้นย่อมไม่มีสิ่งที่สัมบูรณ์ของความเสมอภาคหรือความเท่าเทียมของชนชั้นสิ่งที่เท่าเทียมอย่างสัมพัทธ์ของมนุษย์ก็คือ การเกิดการแลกเปลี่ยนที่มีดุลยภาพภายใต้การเคลื่อนที่ของศักยภาพที่แตกต่างกันของมนุษย์

เมื่อสังคมพัฒนาไป ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นกลไกของระบบเริ่มมีความซับซ้อนสูงขึ้น มีการสร้างระบบกลางการแลกเปลี่ยนดุลยภาพที่เข้มแข็งขึ้น การใช้สิ่งของหาได้ยากมาแลกเปลี่ยนไปสู่ระบบการใช้เงินตราแลกเปลี่ยน และ ภายใต้การพัฒนาไปของรูปการจิตสำนึกในทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป จากชุมชนเดี่ยวๆ กลายเป็นหลายๆชุมชน และเป็นรัฐ

การขยายตัวทางศักยภาพ จากบุคคล มาเป็นกลุ่มบุคคล กลุ่มสังคม และกลุ่มระบอบรัฐ โดยมีการรวมตัวของกลุ่มคนหรือตัวแทนของกลุ่มที่มีศักยภาพสูงกว่า กลุ่มบุคคลอื่น ทำหน้าที่ควบคุมกลไกกลางการแลกเปลี่ยนทางศักยภาพของคนในสังคม อันได้แก่กลไกทางการผลิต,กลไกการป้องกันและการรักษาตนเอง, กลไกทางจิตวิญญาณต่างๆ อันก่อเป็นรูปการจิตสำนึกในสังคมนั้นๆ

การพัฒนาทางเทคโนโลยีในการผลิตที่ล้าหลังที่ต้องพึ่งพาอาศัยแรงงานจากมนุษย์ เป็นหลัก ภายใต้การแย่งชิงทรัพยากรและผลผลิตต่างๆระหว่างรัฐกับรัฐเพื่อสร้างความมั่งคั่ง หรือการเสริมสร้างศักยภาพให้กับรัฐของตนเอง

แรงงานมนุษย์หรือทุนทางศักยภาพของมนุษย์ทั้งทางกายภาพและทางปัญญาจิตวิญญาณ ได้ถูก กลุ่มที่มีอำนาจในการควบคุมกลไกกลางของรัฐ นำมาแลกเปลี่ยนเป็นสินค้า และมีการเกิดขึ้นของตลาดซื้อขายมนุษย์ที่เป็นไปอย่างกว้างขวาง และเข้าสู่ยุคสังคมทาส
การขาดดุลยภาพ ทางกลไกกลางของสังคมเป็นไปอย่างรุนแรงจนในที่สุดเกิดการลุกฮือของทาส และก่อให้เกิดการปรับดุลยภาพทางสังคมใหม่ของกลไกกลาง พร้อมๆกับ ความก้าวหน้าขึ้นของเทคโนโลยีการผลิต กลุ่มชนชั้นนำในสังคมต้องมีการปรับเปลี่ยนกลไกกลางใหม่ เป็นในรูปของ การแลกเปลี่ยนผลผลิตจากแรงงาน กับการคุ้มครองทางสวัสดิภาพของบุคคลหรือกลุ่มคนที่อยู่ภายใต้สังกัดเดียวกันซึ่งกลายเป็นไพร่ ในยุคนี้ที่ต้องเสี่ยงกับการรุกรานกวาดต้อนทุนหรือผู้คน และก่อเกิดสังคมศักดินา ที่มีการครอบครอง และแบ่งปันการถือครองปัจจัยการผลิตหลักคือที่ดินหรืออาณาเขตุที่เป็นแหล่งทรัพยากรทางธรรมชาติด้วยการใช้กำลัง หรือเทคโนโลยีการรบและป้องกันตนเองที่เหนือกว่าครอบครองเขตุแดนนั้นๆจนเกิดเป็นรัฐชาติต่างๆ

การค้นคว้าทางการผลิต ทำให้เกิดการพัฒนาทางเทคโนโลยี ไปสู่การคิดค้นการใช้เครื่องจักรไอน้ำ มาทดแทนแรงงานในการผลิต อันเป็นกระบวนการผลิตที่ก้าวหน้ากว่า และเกิดกระบวนการผลิตในรูปแบบของโรงงาน ที่มี การเกิดขึ้นของกลุ่มที่เรียกว่านายทุน ที่มีสีสัน แตกต่างจากชนชั้นนำเดิม และมีระบบการขายแรงงานแบบรับจ้างเกิดขึ้น นั่นก็คือการเกิดขึ้นของผู้ขายแรงงาน และก้าวสู่ สังคมที่มีรูปแบบความสัมพันธ์แบบใหม่ที่เราเรียกกันว่า สังคมทุนนิยม ที่มีการพัฒนาและมี กลไกกลาง ที่ซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆมาจนทุกวันนี้

การคาดหมายแบบกลไกในแนวคิดแบบมาร์กซิสต์ที่ คาดหมายว่าระบอบทุนนิยมจะล่มสลายและจะเป็นการเกิดขึ้นของสังคมคอมมิวนิสต์นั้น เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ยากในความเป็นจริงของมนุษย์ ถ้าหากว่าสังคมที่เกิดจากการดำเนินแนวทางนโยบายตามกรอบการจำแนกชนชั้นการสร้างเงื่อนไขในการทำลายชนชั้น ในรูปแบบที่นักลัทธิมาร์กซ์ดำเนินงาน หรือภายใต้กรอบหรือแนวคิดที่คิดว่าต้องอาศัยความพยายามทางอัตวิสัย เพื่อสร้างเงื่อนไขให้เกิดการเปลี่ยนแปลง โดยมีรูปธรรมคือการคัดค้าน ,การต่อต้าน,การทำลาย ต่อระบอบทุนนิยม เพื่อเป็นเงื่อนไขต่อการเกิดขึ้นของสังคมคอมมิวนิสต์ที่ไม่มีชนชั้นตามแนวคิดแบบมาร์กซิสต์ คงเป็นไปไม่ได้เลย เพราะรูปแบบ,วิธีการ,แนวทาง,นโยบาย ดังได้กล่าวมาข้างต้น ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงของสังคมมนุษย์

เป้าหมายในการทำลาย ระบอบทุนนิยม จึงเป็นเป้าหมายที่ผิดอย่างสิ้นเชิง เพราะไม่สอดคล้องความเป็นธรรมชาติของทุน ซึ่งทุน ยุคปัจจุบันก็คือการสั่งสมทางศักยภาพของมนุษย์

ทุน มีการดำรงอยู่มาแต่บรรพกาล จนถึงปัจจุบันหากมิใช่ว่าเมื่อเกิดกระบวนการผลิตที่มีการจ้างแรงงานและมีชนชั้นกรรมกรที่ยังชีพด้วยการขายแรงงาน จึงจะมีการเกิดขึ้นของทุน

การจำแนกความแตกต่างของสังคม ก็คือความแตกต่างขององศาแห่งความเข้มข้นของการใช้ทุนในรูปแบบที่แตกต่างกัน การที่จะบรรลุสังคมตามอุดมคติของนักลัทธิมาร์กซ์ ได้นั้นจะต้องมีกระบวนแห่งวิธีการที่ถูกต้องและสอดคล้องความเป็นจริงทางธรรมชาติของสังคมมนุษย์

ไม่ว่าจะเรียกว่าสังคมอะไรโลกปัจจุบันก็คือโลกของการแลกเปลี่ยนเพื่อให้เกิดดุลยภาพของทุนหรือ โลกทุนนิยมทั้งสิ้น ซึ่ง ก็มีการดำรงอยู่ของรูปแบบ การแลกเปลี่ยนศักยภาพแห่งทุนในหลายๆรูปการ เหมือนแบบบรรพกาลเช่น ศักยภาพทางกายที่ได้เปรียบ รูปแบบสังคมทาส เช่นการค้ามนุษย์ในรูปแบบที่มีการแลกเปลี่ยนที่มีความซับซ้อนขึ้น รูปแบบสังคมศักดินา เช่น การผูกขาดการครอบครองในปัจจัยการผลิตเช่นที่ดินหรือแหล่งทรัพยากร รวมทั้งระบบเจ้าพ่ออิทธิพล หรือรูปแบบ ของ ตลาดเสรีของการขายแรงงานกายและแรงงานสมอง หรือที่เรียกว่าทุนนิยม

ทั้งนี้ การจำแนกรูปแบบสังคมก็คือการจำแนกประมาณการความเข้มข้นของรูปแบบการใช้ทุน และระบอบแห่งกลไกกลางการแลกเปลี่ยนศักยภาพทุน

การพัฒนาทุนในสังคมมนุษย์ มีการพัฒนากล่าวคือ ทุนคือศักยภาพ ที่แสดงออกภายใต้การเปรียบเทียบและอันตรกิริยาของมนุษย์ในสังคมผ่านทางกลไกกลางที่เป็นรูปการต่างๆในสังคม ทิศทางหลักของการพัฒนาไปของทุนก็คือทิศทางแห่งการรักษาไว้ซึ่งดุลยภาพขององค์รวมร่วมกันของระบบย่อยภายใต้ความเป็นเอกภาพร่วมกันขององค์กรใหญ่ ที่เป็นองค์รวมพหุภาพของระบบ

การทำลายทุนก็คือการทำลายศักยภาพของมนุษย์ที่ดำรงความแตกต่างในสังคม เพราะศักยภาพที่แสดงออกของมนุษย์อันประกอบไปด้วยแรงงานกายและแรงงานสมองก็คือทุน ที่มนุษย์มีอยู่ไม่เท่าเทียมกัน ทั้งทางกายภาพและทางกระบวนการทางสังคมที่มีพัฒนาการไปไม่เท่าเทียมกัน

เพราะกล่าวถึงที่สุดแล้ว ทุนก็คือคน และคนก็คือทุน

การดำเนินการเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายในการพัฒนาของทุนหรือเกิดดุลยภาพในระหว่างการเคลื่อนที่ไปของทุนในสังคม ที่เข้าสู่ยุค โลกาภิวัตน์ของทุน ในปัจจุบัน จะต้องดำเนินการใน รูปแบบ ของ ระบอบทุนนิยมแห่งสังคม ดังที่จะกล่าวในรายละเอียดต่อไป

ระบอบทุนนิยมแห่งสังคม ในการอธิบายในที่นี้จะแตกต่างจาก คำว่า ทุนทางสังคม ซึ่งคำว่าทุนทางสังคมหมายถึงการ นำใช้ทุนแห่งปัจเจกชนอันเกิดจากการก่อรูปการการแลกเปลี่ยนศักยภาพทุนจากรูปการทางสังคมต่างๆเช่น ความสัมพันธ์ครอบครัว ญาติพี่น้อง เพื่อนร่วมสถาบัน ศาสนา เชื้อชาติ ความเชื่อมั่น ความศรัทธา เป็นต้น ซึ่งการนำใช้ทุนทางสังคม ในความหมายแบบนี้ โดยไม่จำแนกย่อมเกิดผลกระทบต่อการสร้างดุลยภาพ เช่น ลัทธิคลั่งชาติ ,ลัทธิชาตินิยม เป็นต้น

องค์รวมพหุภาพทุน และระบอบทุนนิยมแห่งสังคม


......................................................


ขอบเขตุเนื้อหาองค์รวมพหุภาพทุนและระบอบทุนนิยมแห่งสังคม



เพื่อให้เห็นภาพรวมกว้างๆถึงขอบเขตุเนื้อหาที่จะนำเสนอในแนวคิดซึ่งจะเน้นในลักษณะมหภาคมากกว่าในแบบจุลภาค.... จะประกอบไปด้วยหัวข้อใหญ่ๆดังนี้


-กลไกกลางการแลกเปลี่ยนศักยภาพทุน

-ระบอบเศรษฐกิจสังคมและการเมืองภายใต้การพัฒนาไปของกลไกกลางการแลกเปลี่ยนศักยภาพทุน

-ลักษณะขององค์รวมพหุภาพทุน
-รูปการศักยภาพแห่งทุนในทางกายภาพ
-รูปการศักยภาพแห่งทุนทางปัญญาและจิตวิญญาณ
-องค์รวมพหุภาพทุน ที่ประกอบไปด้วยศักยภาพทางกายภาพและทางปัญญาในทางสังคม อันได้แก่รูปการของทุนทางวัฒนธรรม สังคม และจิตวิญญาณ

-โลกาภิวัตน์ขององค์รวมพหุภาพทุน

-ระบบมูลค่ารูปการศักยภาพทุนทางปัญญา-จิตวิญญาณ
-เครดิต ความเชื่อถือ หรือศักย์ ที่ดำรงอยู่กลายเป็นมูลค่า
-ดุลยภาพที่มีการเคลื่อนที่ขององค์รวมพหุภาพทุน
-ทิศทางแนวทางนโยบายด้านเศรษฐกิจแห่งรัฐ
-นโยบายด้านการเงินการคลังแห่งรัฐ และภาคประชาชน

-พลังงาน การจัดการด้านทรัพยากร หรือศักยภาพทุนในเชิงกายภาพในทางสังคม

-มูลค่าของรูปการทางจิตวิญญาณ

- สุนทรียภาพ ความงาม ความรัก ความสุขที่สมดุล

-เศรษฐศาสตร์ แห่งความสุข


-ระบอบทุนนิยมแห่งสังคม

- วิวัฒนาการขององค์รวมพหุภาพทุน และระบอบแห่งรัฐ
-องค์กรคู่ขนาน และการขยายการมีส่วนร่วมขององค์กรประชาชน
-ทิศทาง อุดมการณ์แห่งรัฐระบอบทุนนิยมแห่งสังคม
-นวัตกรรมทางการเมือง-สังคม
-องค์กรและรูปการองค์กรทางสังคม
-ระบอบรัฐ ระบอบแห่งอำนาจรัฐธรรมาธิปไตย
-ทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมไทย

กระบวนทัศน์ประชาธิปไตยแบบกลไก


การเสนอแนวทางนโยบายในการพัฒนาประเทศนอกจากจะต้องพิจารณาความเป็นจริงทางเศรษฐกิจในสังคมไทย....

สิ่งที่สำคัญอีกประการ...คือความเป็นจริงทางวัฒนธรรม-สังคม....ของผู้คนบนผืนดินแห่งนี้ที่มีมายาวนาน...อันเป็นรากฐานแห่งความคิดจิตวิญญาณ.....

กระบวนทัศน์ประชาธิปไตยแบบกลไก.....อันเกิดจากความคิดแบบสุดขั้วสองด้าน....
ระหว่างรากฐานกระบวนคิดแบบวัฒนธรรมแบบไพร่โบราณ....กับวัฒนธรรมแบบไพร่แห่งยุคโลกาภิวัตน์...

ระหว่างความคิดของคนที่ไม่มีอิสระภาพและทรัพย์สินที่อุทิศแรงงานทุกอย่างให้ผู้เป็นเจ้าของชีวิต....และเมื่อมีอิสระภาพก็ยังคงอยู่ภายใต้ระบบแห่งผู้มีพระคุณ....

อีกขั้วของความคิดที่บูชานายทาสทางปัญญาแห่งยุคโลกาภิวัตน์อย่างหลับหูหลับตาจนหาความคิดที่เป็นของตนเองที่มองสิ่งต่างรอบตัวจากความเป็นจริงไม่มี.....และความจงรักภักดีแห่งผู้มีพระคุณทางเงินตราอำนาจวาสนาที่พร้อมแปรเปลี่ยนความคิดได้ตามมูลค่าเศษเงินที่โยนให้....และยึดมั่นถือมั่นศรัทธาต่อความคิดต่างๆของนายทาสทางปัญญาว่าคือคัมภีร์แห่งทางปัญญาที่ต้องจงรักภักดีด้วยจิตวิญญาณ...โดยหามองความเป็นจริงหรือกฎเกณฑ์แห่งความเป็นจริงรอบตัวเองไม่....ไม่ต่างจากทาสทางปัญญาที่นายทาสล่ามโซ่ตรวนไว้.....


กระบวนทัศน์เหล่านี้วิวัฒนาการเรื่อยมาถึงปัจจุบันในสังคมไทย....

กระบวนทัศน์เหล่านี้....ย่อมมองไม่เห็นถึงองค์รวมแห่งองคาพยพที่ประกอบเป็นรัฐแห่งประชาชาติ.....มองไม่เห็นถึงจุดมุ่งหมายของรัฐที่เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายแห่งความเป็นเอกภาพ....ความสมานฉันท์....ความร่วมมือ....ความเสมอภาค...ภราดรภาพ....ภายใต้ความแตกต่าง...ความหลากหลายทางวัฒนธรรม.....อันก่อเกิดจากกระบวนการ...กฎกติกาตามระบอบแห่งประชาธิปไตย.....

รากเหง้าทางความคิดแบบแยกส่วนและกลไก....

ก่อเกิดกระบวนการทำลายล้างตนเองขึ้น.....
การทำลายองค์รวมแห่งองคาพยพของรัฐแห่งประชาชาติไทย.....

ในทางการเมือง....กระบวนทัศน์เหล่านี้ไม่ยอมรับต่อกติกาใดๆ.....

ด้านหนึ่ง...ความคิดแบบวิญญาณกบฏเข้าสิง....ที่เป็นกบฎต่อกฎเกณท์ใดๆทุกเรื่องหากกฎเกณฑ์นั้นไม่สอดคล้องหรือกลุ่มตนเองสูญเสียผลประโยชน์อันจำเป็นต้องเสียเพื่อคงรักษาไว้ซึ่งเอกภาพของส่วนรวม......หรือความคิดแบบอนาธิปไตยบนรากฐานที่มีเสรีภาพอย่างเห็นแก่ตัว...มีเสรีภาพเฉพาะกลุ่มตน....เรียกร้องเฉพาะกลุ่มตน...โดยกลุ่มตนเพื่อกลุ่มตน.....และทำลายล้างกลุ่มที่มีความคิดเห็นไม่เหมือนกับตนทุกวิถีทาง....โดยไม่คำนึงว่าไม่ว่าจะถูกหรือจะผิดจริยธรรมและมนุษยธรรมอย่างไรก็ตาม.....ขอเพียงให้กลุ่มตนได้รับชัยชนะ......และ มีเพียงความคิดของตนและกลุ่มตนเท่านั้นที่ถูกต้องและฉลาดเฉลียวที่สุด.....นอกนั้นคือศัตรูที่ต้องทำลายล้าง....ก่อเกิดระบบมาเฟียต่างๆนานาแม้กระทั่งกระบวนการผูกขาดทางความคิดและการโน้มน้าวจูงใจ.....

อีกขั้วของความคิด....ที่ยอมทุกอย่าง...ความคิดแบบไพร่ที่ติดที่ดินอันไม่เคยมีที่ทำกินของตน....อุทิศแรงงานแรงกายให้ทุกอย่าง....พยักหน้าได้ทุกเรื่อง....นายว่าขี้ข้าพลอยพยัก....
วัฒนธรรมสอพลอประชาธิปไตยแห่งโลกาภิวัตน์ที่วิวัฒนาการมาก่อรูปการระบอบอุปถัมภ์แบบไทยๆ....ที่มีไพร่ทาสยุคใหม่...และบรรดาศักดิ์แห่งท่านขุนพลอยพยัก....

รากเหง้าวัฒนธรรม....ความคิด...จิตวิญญาณเหล่านี้ยังคงมีหนาแน่นในสังคมไทย....
เป็นรากฐานกระบวนการคิดของผู้คน....ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยแบบไทยๆ....

วัฒนธรรมการทำลายล้างการนำองค์กร...ทำลายล้างการบริหาร...คัดค้านรัฐบาลของตนเองที่ตนเป็นผู้เลือกมากับมือ.....ไม่ยอมรับกติกา....หากไม่ใช่ไพร่พล....

ภายใต้การผสมผสานกลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของวัฒนธรรมความคิดสุดขั้วทั้งสองแบบ...
การทำลายตนเองจึงเกิดขึ้น....มาจากตนเอง...โดยเงื้อมมือของตนเอง...และเพื่อจุดจบของตนเอง...

และหาได้บรรลุเอกภาพ....ความสามัคคี...ความสมานฉันท์...ขององค์รวมองคาพยพต่างๆที่ต้องการความสมานฉันท์อย่างยิ่งยวดในการรักษาเอกภาพแห่งองค์รวมอันพึ่งพาอาศัยกันของทุกๆส่วน อันเป็นเจตนารมณ์แห่งการปกครองในประชาธิปไตยแต่อย่างใดไม่......

และทำให้กระบวนการพัฒนาใดๆในทางเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม สังคม....ต้องสะดุดและเกิดสภาวะชะงักงันตลอดมา......

และที่สำคัญ....เมื่อได้รับการคัดเลือกเป็นตัวแทนที่ทำหน้าที่บริหาร.....หรือเป็นผู้กุมกลไกอำนาจรัฐในองค์กรต่างๆ....

การขัดขวางต่อความมีเสรีภาพ...การขยายเสรีภาพ...ของประชาชนและประชาชาติ....จึงเกิดขึ้น....
และเฉื่อยชา...ต่อการกระจายอำนาจรัฐ....หรือการลดทอนอำนาจรัฐที่รวมศูนย์สู่ส่วนกลางที่ใหญ่โตเทอะทะและประสิทธิภาพต่ำต่อการบริการให้กับประชาชาติไทย......


การกระจายอำนาจรัฐจากการรวมศูนย์ส่วนกลางไปสู่ท้องถิ่น....มีความจำเป็นอย่างยิ่งภายใต้การเปลี่ยนแปลงไปของสภาวการณ์ต่างๆที่เปลี่ยนแปลงไปในสังคม...

การสร้างนวัตกรรมใหม่ทางเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม สังคม....ล้วนต้องอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริงทางสังคมไทย....


รัฐบาล...ในฐานะผู้กุมกลไกอำนาจรัฐ...และทำหน้าที่บริหารจัดการงบประมาณแผ่นดินบริหารการเงินการคลังแห่งรัฐ......
ข้อเท็จจริงของงบประมาณที่รวมศูนย์ส่วนกลาง....คือ...


รายได้จากงบประมาณทั้งหมด....ที่มาจากภาษีอากร...โดยมีรายจ่ายหลักๆดังนี้....

กว่า45%.....เป็นรายจ่ายเงินเดือนข้าราชการ...ที่มีอยู่3ล้านคน...จากเฉลี่ยอายุ20ปีไปถึงรับบำนาญเฉลี่ยจนถึง80ปี......

30 %จ่ายดอกเบี้ยเงินกู้....และคืนเงินกู้ต่างประเทศ....

เหลือเพียง....25%.....เท่านั้น...ที่จัดสรรให้กระทรวงทบวงกรมไปพัฒนาประเทศ.....

และใน 25 % นี้....ยังมีการคอรัปชั่น...ทุกรูปแบบ...จากกระทรวงไปถึงหย่อมหญ้า....คิดว่าสูญหายไปอย่างไร้ร่องรอย....ประมาณอย่างน้อย10 %.....จึงคงเหลืองบพัฒนาประเทศชาติ....อย่างมากก็แค่15%......

เมื่อรายจ่ายที่จ่ายให้กับกลไกที่ไร้ประสิทธิภาพเทอะทะเชื่องช้า....ขนาดมหึมา.......
และรายได้ก็มาจากภาษีเป็นหลัก......
แล้วจะแก้ปัญหาประเทศชาติอย่างไรให้มีการพัฒนาไปอย่างมีประสิทธิภาพ.....

ย่อมแยกไม่ออกจาก.....การสร้างนวัตกรรมใหม่ในการบริหารงาน....การจัดการด้านองค์กร...ฯลฯโดยเฉพาะอย่างยิ่ง.....การกระจายอำนาจรัฐ.....
แม้กระทั่งการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ.....ที่จะต้องระดมทุนในการขยายบริการประชาชน..

เมื่อคนส่วนใหญ่ยากจน.....รายได้ของรัฐก็ต้องน้อยลง....
รายได้ของรัฐจะมากขึ้นก็ต่อเมื่อรายได้ของคนสูงขึ้น.....ซึ่งก็มีทั้งจากการประหยัด....และการสร้างรายได้เพิ่มขึ้น.....

นโยบายรัฐในการกระตุ้นเศรษฐกิจรากหญ้าอันแก้ปัญหาที่เป็นรูปธรรมเฉพาะหน้าในสังคม...มักจะถูกมองจากนักวิชาการว่าเป็นนโยบายประชานิยม......

สมมติว่าประเทศไทย....มีอยู่ 65 ครอบครัว....มีเพียง5 ครอบครัวที่ร่ำรวย...และอีก15 ครอบครัวอยู่ในระดับปานกลาง....อีก 50 ครอบครัวระดับกลางค่อนข้างยากจน....และอีก30ครอบครัวยากจน...

เงินกองกลางของหมู่บ้านแห่งนี้....ได้มาจากครอบครัวทั้งหมด....เมื่อแต่ละครอบครัวย่ำแย่รายได้กองกลางก็ลดลง.....ตลอดเวลาเพราะต้องมาชดเชยกับความยากจนลงเหล่านี้.....

การขาดดุลยภาพของทุน....ภายในหมู่บ้านแห่งนี้....จึงจำเป็นจะต้องสร้างรายได้ให้มีเพิ่มขึ้นกับทุกกลุ่ม....

ดังนั้นนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจเฉพาะหน้าที่ผ่านมาจึงดำเนินไปในแบบคู่ขนาน....ทั้งรากหญ้าและระดับบนหรือภาคอุตสาหกรรมต่างๆ....

ตราบใดที่ครอบครัวต่างๆจนลง...รายได้กองกลางก็ลดลง....ปัญหาต่างๆทางสังคมก็จะเพิ่มขึ้นทวีคูณ.....จึงเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้กับการปรับเศรษฐกิจระดับกลางและล่าง...ให้มีการยกระดับรายได้สูงขึ้น....

และในกระบวนการทำงาน....การแก้ปัญหา...ก็ย่อมมีทั้งการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าและปัญหาระยะยาว.....

การอัดฉีดระดับล่างตามปัญหาเฉพาะหน้าจึงถูกมองว่า.....ประชานิยม...และถูกโจมตีหนักจากบรรดาผู้เชี่ยวชาญทั้งหลาย.....ที่มีเพียงงานสร้างสรรค์ถ้อยคำว่า..ประชานิยม...

และก็หามีผู้หนึ่งผู้ใดที่มีการเสนองานสร้างสรรค์ที่เป็นรูปธรรมใดๆในการนำเสนอแนวนโยบายในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นเหล่านั้นแต่อย่างใดไม่....ดังนั้นจึงมีเพียงงานสร้างสรรค์ถ้อยคำอันงดงามว่าประชานิยม....

หากมิมีการแก้ปัญหาอันเกิดวิกฤติการณ์ในเฉพาะหน้า...ปัญหายาวไกลก็ต้องเลิกพูด...เพราะมันเกิดกระบวนการใหม่แล้วคือกระบวนการแห่งการถอยหลังลงนรกอันเกิดจากวิกฤติการณ์

การสร้างนวัตกรรมทางเศรษฐกิจเพื่อสร้างดุลยภาพให้กับกลุ่มต่างๆในสังคม....โดยเฉพาะคนกลุ่มใหญ่ในสังคม....

มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องยกระดับกระบวนทัศน์ในทุกๆด้าน.....

การยกระดับผลิตภัณฑ์....ก็ต้องยกระดับเทคโนโลยีการผลิตในทุกด้าน....

การตลาด...การจัดการสมัยใหม่....การบริหารงานแบบใหม่....

การยกระดับวัฒนธรรม...ความคิด....จิตวิญญาณ...ก็ย่อมได้รับการยกระดับไปด้วย....

และในกระบวนการต่างๆนาๆเหล่านี้.....มันไม่ได้เกิดขึ้นมาลอยๆ....ล้วนแล้วต้องใช้ทุน....

ทั้งทุนทางกายภาพและทุนทางปัญญา.......หรือการองค์รวมพหุภาพทุน


การกระจายอำนาจรัฐที่รวมศูนย์ของกระทรวง...ทบวงกรมไปสู่ท้องถิ่น....และการสร้างองค์กรในการจัดการตนเองของประชาชน....ย่อมเป็นทางออกที่ดีที่สุดในการแก้ไขปัญหา.....ที่นับเพิ่มขึ้นทั้งในขอบเขตุปริมาณ...และระดับของคุณภาพ....ในการให้บริการอย่างทั่วถึงด้วยประสิทธิภาพต่อประชาชน

นอกเหนือจากด้านเศรษฐกิจ.....การจัดการด้านการเมืองสังคม.....สวัสดิภาพทางสังคม..

ปัญหาหลักประกันกระบวนการแห่งความยุติธรรมขั้นต้นของประชาชน...ดังได้กล่าวมาในตอนที่แล้ว.....กระบวนการไกล่เกลี่ยปรองดองขั้นต้นของประชาชนในส่วนท้องถิ่นที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการดำรงชีวิตอยู่ของผู้คนในสังคม.....ที่ไม่อาจรอกลไกกลางรวมศูนย์แห่งรัฐที่อืดอาดเทอะทะเมไปด้วยพิธีกรรมขั้นตอนมากมายมหาศาลจัดการแก้ไขให้ได้ทันท่วงที....

เมื่อจุดมุ่งหมายแห่งรัฐ...คือความเสมอภาค...สันติภาพ...ภราดรภาพของประชาชน..

แล้วจะขัดขวางอะไรกัน....กับการมีส่วนร่วมและพึ่งพาตนเองของชุมชน....ภายใต้บทบัญญัติตามแนวทางนโยบายแห่งรัฐที่มีบัญญํติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย......

เพราะมีแต่จะต้องส่งเสริมและขยายให้กว้างขวาง....
จึงจะบรรลุตามเจตนารมณ์ที่มีในรัฐธรรมนูญ.....

หากไม่จำกัดกรอบความคิดของตนเองไว้และมีกระบวนทัศน์แบบกลไก....
การสร้างนวัตกรรมใหม่ในทางเศรษฐกิจ....การเมือง....วัฒนธรรม...สังคม...ย่อมมีมากมาย...

หากทางการเมือง....ยังมีกระบวนทัศน์ประชาธิปไตยแบบกลไก....

เราก็มีเพียงนักคัดค้านแบบกลไก.....anti-thesis .....
และไม่เข้าใจองค์รวมแห่งเจตจำนงค์การคัดค้านถ่วงดุล....คืออะไรในเนื้อหาสาระ....

ถ้าไม่เข้าใจว่าการคัดค้าน....คือการเสนอสิ่งที่เป็นไปได้อย่างเป็นรูปธรรมและดีกว่า....ด้วยวิธีการสร้างสรรค์และบรรลุผลแห่งความสมานฉันท์

เราก็มีเพียงนักถ่วงความเจริญ....หาได้ถ่วงดุล....

การเกิดขึ้นขององค์กรประชาชนในรูปแบบกระจายอำนาจรัฐก็ยากยิ่งที่จะเกิดขึ้นได้....
ปัญหาเฉพาะหน้าที่ต้องการแก้ไข....และการวางรากฐานแนวทางนโยบายในระยะยาว...เช่น...

องค์กรจัดการบริหารด้านพลังงานและทรัพยากร....ของชุมชน...

องค์กรจัดการด้านหลักประกันกระบวนการยุติธรรมขั้นต้น....ของชุมชน..

องค์กรจัดการด้านเศรษฐกิจ....และกลไกแลกเปลี่ยนศักยภาพทุน.....ของชุมชน....

และอีกฯลฯฯลฯฯลฯ.....

ถ้ากระบวนทัศน์ยังคงเป็น....
กระบวนทัศน์ประชาธิปไตยแบบกลไก....อย่างที่เห็นอยู่ดาษดื่นในปัจจุบัน....


ในช่วงฤดูกาลหาเสียงช่วงที่ผ่านมาของบรรดาผู้ทรงเกียรติทั้งหลายต่างก็เสนอแนวนโยบาบแบบ เกทับบลัฟแหลกแจกแถมกันอุตลุต....สร้างความมึนงงและความสับสนให้กับผู้คนได้อย่างน่าเวียนหัว....ในทิศทางของประเทศจากจินตนาการอันบรรเจิดของบรรดานักเลือกตั้งอาชีพ....

บางพรรคปรับเปลี่ยนอุดมการณ์ได้ราวกิ้งก่าเปลี่ยนสี....จากที่ไม่เคยมีสัจจะวาจาก็มีสัจจนิยม....และพร้อมที่รักษาสัจจะต่อไปในการให้ได้มาซึ่งสัมปทานโครงการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของรัฐที่เคยได้รับมานานอย่างต่อเนื่องจนหายอดอยากปากแห้ง.....

บางพรรคนโยบายก็สร้างจินตนาการไว้ริมถนนติดกันไว้เป็นระยะ...ฟรีทุกอย่าง...จนถึง...60 ปี มีเงินเดือนให้...อีกพรรคก็เช่นกันนโยบายยังกะลอกกันมา.....

แต่ที่ประหลาดใจและสับสนในนโยบาย2พรรคนี้ที่มีระบบความคิดสุดขั้วทั้งสองด้านในการนำเสนอประชาชนคือ....นโยบายรัฐเอื้ออาทร..ฟรีทุกอย่างเพื่อประชาชน และอีกขั้วanti-thesis คือการดำรงเป็นฝ่ายค้านหัวชนฝาถ้าพรรคหนึ่งบอกว่าสวรรค์ก็จะต้องเลือกทางตรงข้ามคือนรก...เป็นต้น..คือเลิกทุกอย่างที่พรรคตรงข้ามเขาทำไว้เพราะต้องถือว่าผิดทุกอย่าง....
นโยบายนี้กลับมิได้รับการวิพากษ์วิจารณ์จากปัญญาชนแห่งประเทศไทยว่าเป็นนโยบายประชานิยม....เป็นสิ่งเหลือเชื่อและมหัศจรรย์ยิ่งนักกับกระบวนทัศน์ทางวิชาการ...

นี่เป็นส่วนหนึ่งในความสับสนอลหม่านทางความคิด......หรือว่าเป็นระบบความคิดใหม่แห่งยุคที่เผ่าพันธุ์มนุษย์มีการแปรเปลี่ยนทางพันธุกรรมที่นับวันคล้ายไส้เดือน....ที่มีสองขั้วอยู่ในตัวเดียวกัน...

หากเคนเนดี้กลับชาติมาเกิดก็คงต้องพูดว่า......" จงแบมือเถิดประชาชนแห่งรัฐ.......รัฐจะให้ท่านทุกอย่างแม้แต่ลมหายใจ......ท่านไม่ต้องถามว่าจะให้อะไรแก่รัฐ...เพราะสิ่งที่ท่านจะให้...รัฐจะให้ท่านมากกว่าหลายเท่าพันทวี..."

ในแนวคิดนักวิชาการหลายคน...ก็สับสนอลหม่านไม่ต่างจากทฤษฎีไร้ระเบียบ...บางพรรคที่เสนอนโยบายที่สร้างเสริมความแข็งแกร่งให้กับประชาชนให้หัดเดินได้ด้วยขาตนเอง...ลดทอนอำนาจรัฐไปสู่จุดมุ่งหมายแห่งประชาสังคมแม้ว่าจะนำเสนอในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าของสังคมที่เป็นรูปธรรมที่เกิดขึ้นในสังคม.....เพื่อที่จะวากรากฐานในแนวนโยบายระยะยาวไกล...

นโยบายเหล่านี้กลับตกเป็นเป้าโจมตีในเปอร์เซ็นต์ที่สูงยิ่ง...ทั้งจากนักวิชาการและสื่อมวลชนต่างๆ......อย่างเหลือเชื่อราวโลกพิศวงมิติลี้ลับ.....


ขอวกเข้าเรื่อง...สู่กระบวนทัศน์ใหม่ต่อ....จากที่ได้กล่าวมาแล้วจุดมุ่งหมายการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมก็เพื่อบรรลุ ความสุขที่สมดุลแห่งมวลมนุษยชาติ....

การปรับเปลี่ยนกลไกกลางแห่งการแลกเปลี่ยนศักยภาพทุน....เป็นปัญหาสำคัญ....กลไกกลางการแลกเปลี่ยนศักยภาพทุนในรูปแบบหนึ่งซึ่งพัฒนาเป็นกลไกรัฐกลไกแห่งรัฐ....และที่แน่นอนที่สุดจะต้องใช้เครื่องมือเหล่านี้ในการทำให้บรรลุสู่จุดมุ่งหมายแห่งความสุขที่สมดุลของคนในรัฐชาตินั้นๆ....

กระบวนการคิดใดๆของมนุษย์ล้วนแยกไม่ออกจากกรอบอ้างอิงในการคิด....

การสร้างนวัตกรรมใหม่ๆทางความคิดก็เช่นกัน....
จะต้องคิดบนหลักการใหม่....จึงจะเกิดนวัตกรรมใหม่...ในการแก้ไขปัญหาใหม่ๆที่เกิดจากความไม่คงที่ของขนาดและขอบเขตุที่ขยายตัวไปตามกระบวนการพัฒนาของสรรพสิ่ง...

กรอบอ้างอิงใดๆในระบบความคิดของมนุษย์ยุคปัจจุบันล้วนอยู่บนพื้นฐานแห่งระบบกรอบอ้างอิง4มิติ คือความกว้าง ความหนา ความยาว และกรอบเวลา....หรือที่เรียกว่ากาลาวกาศ (space-time)และดำเนินไปเป็นความต่อเนื่องของกาลาวกาศในรูปแบบ4มิติตามความเข้าใจจากผู้สังเกตุคือมนุษย์ยุคปัจจุบัน....

กรอบอ้างอิงที่ว่ามานี้....เพียงพอแล้วหรือในการที่จะทำความเข้าใจในสัจจธรรมที่ดำรงอยู่บนจักวาล.....คำตอบก็คือน้อยสุดแสนน้อยเกินไป...

ทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมไทย....หากไม่มีการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ใหม่ทุกองคาพยพ...ก็ยากยิ่งที่จะพัฒนาไปในรูปแบบดุลยภาพที่มีการเคลื่อนที่...


ระบบเตือนภัยล่วงหน้า....ทางการเมือง


ระบบเตือนภัยล่วงหน้าทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ล้วนแยกไม่ออกจากการกระจายอำนาจรัฐที่รวมศูนย์กระจุกตัวจากส่วนกลาง....

นอกเหนือจากการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าปัจจุบัน....ในปัญหาหลักคือเรื่องพลังงานของชุมชนด้วยการจัดตั้งองค์กรจัดการพลังงานของชุมชน...

การนำใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม(appropriate technology) ไม่ได้หมายความว่า....ชุมชนท้องถิ่นต่างๆจะหันไปใช้เทคโนโลยีที่ล้าหลัง....เทคโนโลยีที่เหมาะสมย่อมหมายถึงเทคโนโลยีที่ใช้พลังงานน้อย...ก่อเกิดมลภาวะน้อย....นั่นย่อมอาจเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยแห่งยุคก็ได้....

เทคโนโลยี...ไม่ได้ก่อให้เกิดมลภาวะหรือเป็นตัวทำลายล้างสภาพแวดล้อมแต่เพียงอย่างเดียวตามมุมมองแนวคิดของนักคิดในอดีตเช่น..แนวคิดของ อีเอฟ ชูมักเกอร์....หรือกลุ่มอนุรักษ์ต่างๆ....แต่เทคโนโลยียังมีบทบาทในการก่อให้เกิดดุลยภาพในกระบวนการผลิตเพื่อยังชีพของสังคมมนุษย์....ที่มีการเพิ่มขึ้นของประชากร....มีการบริโภคทรัพยากรต่างๆเพิ่มขึ้น...ภายใต้ระบบที่มีการแบ่งงานกันทำและการลดลงของทรัพยากรต่างๆ......

“ เปลี่ยนท้องนาเป็นมหาวิทยาลัย ” ก็คือการกระจายอำนาจสู่ชุมชนในการจัดการปัญหาต่างๆให้เกิดสภาวะที่สมดุล....การค้นคิดและนำใช้พลังงานสะอาด....ในชุมชนย่อมมีขนาดเล็ก...และกระจายกันไปทั่วประเทศ....พลังงานแสงอาทิตย์...พลังงานน้ำ...พลังงานลม...ฯลฯ...ย่อมไม่ต้องลงทุนสูงเพราะมีหน่วยขนาดเล็ก...การก่อมลภาวะก็น้อย...อีกทั้งเป็นการลงทุนอย่างยั่งยืนของชุมชน...


การสร้างระบบเตือนภัยล่วงหน้าทางการเมือง


ปัญหาความขัดแย้งต่างๆในสังคม...ที่มีความแตกต่างทางเชื้อชาติ วัฒนธรรม...นอกจากจะมีการสร้างกลไกกลางแห่งการแลกเปลี่ยนศักยภาพทุนที่มีประสิทธิภาพ....

กลไกที่พัฒนามาเป็นกลไกรัฐ.....จะต้องขยายบทบาทรัฐแห่งชุมชนหรืออำนาจในการควบคุมกลไกกลางการแลกเปลี่ยนศักยภาพของชุมชนให้แต่ละชุมชนมีบทบาทในการจัดการด้วยตนเอง...อันเป็นองค์กรกลางแห่งความสมานฉันท์ของชุมชนในการคลี่คลายปัญหา....การแก้ไขปัญหา....

การจัดตั้งองค์กรชุมชนทำหน้าที่ให้หลักประกันแห่งความยุติธรรมเบื้องต้นของชุมชนในการไกล่เกลี่ยและคลี่คลายปัญหาของคนในชุมชน.....จึงเป็นการระงับข้อพิพาท...ระงับชนวน..อันอาจลุกลามไปสู่ระดับที่สูงขึ้นจนเป็นวิกฤติการณ์ทางการเมือง....ภายใต้การฉวยโอกาสของผู้กุมกลไกรัฐฉ้อฉลการใช้อำนาจเหล่านั้นกระทำต่อผู้คน...และก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำจนไม่มีความเสมอภาค...ทั้งกายภาพและจิตใจ....หรือไร้มนุษยธรรมใดๆ...

องค์กรกลางของรัฐซึ่งทำหน้าที่จัดการให้เกิดความเสมอภาคในขอบเขตทั่วประเทศ...ทำหน้าที่หลักในการประสานงาน....การประสานเครือข่ายท้องถิ่นต่างๆให้เป็นเอกภาพ....ภายใต้ความแตกต่างของแต่ละชุมชนที่มีอิสระในการบริหารชุมชนของตนเอง และภายใต้การส่งเสริมหนุนช่วยพัฒนาจากองค์กรกลางแห่งรัฐอย่างเต็มที่......

สงครามและสันติภาพ


สงคราม....ดังนิยามที่นักทฤษฎีสงคราม....เหมาเจ๋อตงกล่าวก็คือความต่อเนื่องทางการเมือง......สงครามก็คือการเมืองที่หลั่งเลือด....

การปรองดอง...ความสมานฉันท์...อันไม่อาจตกลงกันได้....ก็ย่อมต้องมีสาเหตุของปัญหา....

ปัญหาการเกิดสงครามกลางเมืองใดๆ.....ล้วนมีสาเหตุหลักๆมาจาก....

ความไร้ประสิทธิภาพของกลไกกลางการแลกเปลี่ยนศักยภาพทุน....

ทุน...ทางกายภาพและทางปัญญา...ทางจิตวิญญาณ..ของมนุษย์ในสังคมนั้นๆ...

และเป็นต้นตอก่อเกิด...ปัญหาต่างๆทุกด้าน...

เมื่อในทางการเมืองได้พัฒนาถึงขั้นการใช้รูปแบบสูงสุดในการปะทะกัน....หรือสงคราม..

รูปแบบในการต่อสู้กัน...ในการวางแผนการการสู้รบจึงประกอบไปด้วยยุทธศาสตร์...และยุทธวิธี..

ลักษณะการทำการสู้รบ....จะประกอบไปด้วย...การรุก...และการรับ...

การรุก....จะประกอบด้วย...การตามตี หรือความต่อเนื่องของการรุก....
ความต่อเนื่องของการรับ...ก็คือการถอย....

การสู้รบ...การวางแผนการสู้รบ..จะต้องมีการกำหนดที่ถูกต้องจึงจะได้รับชัยชนะ....
ยุทธศาสตร์....ก็คือการกำหนดถึงส่วนทั้งหมดหรือลักษณะสัมบูรณ์...หรือองค์รวมแห่งการยุทธ์นั้นๆ....
ยุทธวิธี....ก็การกำหนดส่วนย่อยในการกระทำที่เพื่อบรรลุผลในทางยุทธศาสตร์....

ผู้ที่จะพิชิตชัยชนะ....ก็คือผู้ที่สามารถกำชัยชนะในทางยุทธศาสตร์ทุกๆด้านหรือ...เป็นผู้ที่รุกในทางยุทธศาสตร์ทั่วด้าน....หรือเป็นฝ่ายกระทำในทางยุทธศาสตร์....
ผู้แพ้...ก็คือผู้ที่ตกเป็นฝ่ายถูกกระทำ...และเป็นฝ่ายถอยในทางยุทธศาสตร์....

แต่หัวใจหลักในการต่อสู้....อะไรคือความเป็นธรรม....
ความเป็นธรรมอันเป็นสากลของมนุษยชาติ....
ความมีมนุษยภาพ....มนุษยธรรม...เสมอภาค....
ความสมานฉันท์....ความรักแห่งมวลมนุษย์......
และ....สันติภาพไม่ใช่หรือ....ที่เป็นจุดมุ่งหมายแต่ละฝ่ายต้องการ....

หาใช่....สันติภาพแบบกลไก...บนซากศพมนุษยชาติเป็นฐานรองให้ไขว่คว้าแต่อย่างใดไม่...
ตราบใดที่มนุษย์ยังมีสมอง....และไม่ใช่เดียรัจฉาน..!!


( หมายเหตุ บันทึกไว้ราวปลายปี47 ในหัวข้อระบบเตือนภัยล่วงหน้า...เอามาลงอีกครั้งเพื่อจุดประกายแนวคิด)


ระบอบทุนนิยมแห่งสังคม
SOCIAL - CAPITALISM
..................................

(ต่อจากตอนที่แล้ว)

ภายหลังจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมในซีกโลกตะวันตกเมื่อหลายร้อยปีก่อนซึ่งก่อให้เกิดการพัฒนาทุนนิยมอย่างเต็มรูปในขณะที่แนวคิดที่ตรงกันข้ามคือแนวคิดแห่งสังคมนิยม-สังคมคอมมิวนิสต์ก็ได้ก่อตัวนำไปสู่การปฏิวัติใหญ่ในรัสเซียและให้กำเนิดรัฐที่มีระบอบการปกครองตามแนวคิดแบบมาร์กซิสเป็นประเทศแรกและขยายตัวไปในหลายๆประเทศ

การแสวงหากำไรสูงสุดในระบอบทุนนิยมของปัจเจกชนในระบอบเสรีนิยม ขยายไปสู่รัฐและอุดมการณ์แห่งรัฐ ก่อให้เกิดทุนผูกขาดข้ามชาติที่มีการใช้อำนาจที่เหนือกว่ารุกรานและครอบครองทรัพยากรในรัฐต่างๆในโลกเพื่อประโยชน์สูงสุดของกลุ่มทุนผูกขาดที่เป็นประเทศมหาอำนาจ รัฐผู้ทรงอำนาจเหล่านี้ได้กลายเป็นประเทศจักรพรรดินิยมที่ครอบครองปัจจัยการผลิตและดินแดนต่างๆในทั่วโลก

ในทางตรงกันข้ามแนวคิดของระบอบสังคมนิยมตามทฤษฎีมาร์กซ์-เลนินซึ่งเน้นหนักในการพัฒนาทุนแห่งรัฐได้พัฒนาแนวคิดไปจนถึงขีดสุดคือสังคมจักรพรรดินิยม ภายใต้กรอบอุดมการณ์แห่งชนชั้นเดียวหรือเผด็จการแห่งชนชั้นกรรมาชีพ และแนวนโยบายการเร่งการสูญสลายทางชนชั้น ด้วยวิถีทางกำจัดเงื่อนไขที่เป็นพันธนาการกีดขวาง ทุกรูปแบบ


จากยุคสงครามเย็น จนถึงการล่มสลายแห่งสหภาพสังคมนิยมโซเวียตมาสู่การจัดระเบียบโลกใหม่ที่อาศัยเงื่อนไขทางด้านสิทธิมนุษยชน,ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม,ปัญหาการก่อการก่อการร้าย มาเป็นเงื่อนไขในการกีดกันทางการค้า และเป็นเครื่องมือในการขยายการครอบงำของกลุ่มทุนผูกขาดข้ามชาติ รวมทั้งการกีดกันในรูปกลุ่มประเทศ

การก่อกำเนิดระบอบทุนแห่งสังคมได้ถือกำเนิดขึ้นมาระหว่าง2ขั้วของระบอบทุนคือทุนที่มีทิศทางการพัฒนาไปสู่จักรพรรดินิยม และทุนที่พัฒนาไปสู่สังคมจักรพรรดินิยม กล่าวคือทุนเอกชนข้ามชาติผูกขาด และทุนแห่งรัฐข้ามชาติที่ผูกขาด ระบอบทุนนิยมแห่งสังคมคือระบอบทุนที่อยู่ตรงกลางระหว่างทุนทั้ง2 เป็นระบอบแห่งทุนที่มีศีลธรรมจรรยา(ethical capital) และมีทิศทางการพัฒนาของทุนเพื่อที่จะบรรลุสู่จุดมุ่งหมายการสร้างสันติภาพของโลก

การพัฒนาของทุนในปัจจุบันทุนผูกขาดข้ามชาติขนาดใหญ่ได้กลายเป็น พันธนาการกีดขวางสันติภาพของโลก ขณะเดียวกันแนวคิดแห่งทุนในระบอบสังคมนิยมที่มีจุดมุ่งหมายในการสร้างสังคมคอมมิวนิสต์หรือสังคมที่ไม่มีชนชั้น หรือสังคมที่จะเหลือเพียงชนชั้นเดียว

การดำเนินกรอบแนวทางนโยบายในการเร่งการสูญสลายทางชนชั้นและด้วยแนวคิดแห่งเผด็จการชนชั้นกรรมาชีพก่อให้เกิดการพัฒนาทุนแห่งรัฐที่มีขนาดใหญ่ที่เป็นอุปสรรคและกีดขวางต่อการสร้างสันติภาพของโลก และไม่สามารถที่จะบรรลุอุดมการณ์แห่งการสร้างสังคมนิยมและสังคมคอมมิวนิสต์ได้
ทั้งนี้เนื่องจากโลกปัจจุบันก็คือโลกแห่งทุนนิยมทั้งหมด เพียงแต่ว่าจะแตกต่างตรงความเข้มข้นของทุนว่าเป็นเอกชนหรือรัฐ ถ้ามีความเข้มข้นทางภาคเอกชนก็เรียกทุนนิยม หรือถ้ามีความเข้มข้นในทุนแห่งรัฐก็เรียกสังคมนิยม การจะบรรลุสู่การสร้างสันติภาพในโลกได้มีแต่จะต้องดำเนินแนวทางนโยบายในการพัฒนาทุนแห่งสังคมหรือทุนที่มีศีลธรรมจรรยาเท่านั้นจึงจะบรรลุจุดมุ่งหมายได้

ลักษณะพิเศษของระบอบทุนนิยมสังคม กล่าวคือ เป็นทุนที่ดำเนินการโดยไม่มีจุดมุ่งหมายในการแสวงหากำไรสูงสุดแบบกลไกหรือการอ้างอิงในเชิงปริมาณ,มูลค่าตัวเลขในการกอบโกยทรัพยากรต่างๆโดยไม่คำนึงถึงรูปแบบและวิธีการเพื่อให้บรรลุตามจุดมุ่งหมาย

หากแต่ว่าการดำเนินงานของระบอบทุนนิยมแห่งสังคมจะคำนึงถึงกรอบแห่งองค์รวม (holistic) กรอบแห่งบูรณาการของทุน ที่ครอบคลุมไปถึงการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ทางจิตใจและคุณค่าแห่งความเป็นมนุษย์ที่อยู่ร่วมชะตากรรมภายใต้ดาวพระเคราะห์สีฟ้าแห่งโลกดวงเดียวกัน

หรือกล่าวได้ว่าการดำเนินงานของทุนในแง่การแสวงหาผลกำไรสูงสุดเพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายสูงสุดที่จะก่อให้เกิดประโยชน์สุขร่วมกันของมวลมนุษยชาติ หรือกล่าวตามการวิเคราะห์ทุนตามแนวคิดแบบมาร์กซิสต์ ก็คือการแปรกำไรส่วนเกินอันก่อเกิดจากแรงงานส่วนเกินให้กลับคืนสู่จุดแห่งดุลยภาพของทุนซึ่งต่างก็ได้รับผลประโยชน์สูงสุดร่วมกัน

สำหรับรูปธรรม ในไทยเช่น การดำเนินนโยบายที่มีการปรับเปลี่ยนแนวนโยบายจากในอดีตที่สนองต่อกลุ่มทุนผูกขาดในชาติ มาสู่การกระจาย,การกระตุ้น เพื่อให้เกิดการพัฒนาของทุนต่างๆในสังคมตั้งแต่ระดับรากหญ้า,ขนาดย่อม,ขนาดกลางให้เกิดการสะสมทุน,และแผ้วถางทางมีพัฒนาการที่มั่นคงและเติบใหญ่ขึ้น จากในอดีตที่ขาดดุลยภาพอย่างหนัก

การแปรทุนส่วนเกินให้กลับคืนสู่สังคมเพื่อให้เกิดดุลยภาพของทุน มีผลต่อการปรับดุลยภาพทางด้านสังคม,การเมือง,วัฒนธรรม และรูปการจิตสำนึกในสังคม หรือโครงสร้างชั้นบนในสังคมที่ก่อเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางรากฐานทางเศรษฐกิจ จากเดิมกลุ่มทุนที่มีไม่กี่ร้อยคนที่กุมทิศทางและชะตากรรมของทุนในประเทศได้สร้างภาระให้ประชาชนทั้งประเทศต้องมารับใช้ภาระหนี้สิน รวมทั้งผลักภาระความเสี่ยงนานาชนิดไปสู่ประชาชนส่วนใหญ่ ก่อให้เกิดการขาดดุลยภาพอย่างหนักต่อทุนในประเทศที่คนส่วนใหญ่ถูกควบคุมโดยคนไม่กี่ร้อยคน

การพัฒนาเสริมสร้างศักยภาพทุน หรือ คน นั่นย่อมหมายถึงการยกระดับจริยธรรม จิตวิญญาณ ภูมิปัญญา ของผู้คน ให้บรรลุสู่จุดมุ่งหมายสูงสุดคือ ความสุข....สันติภาพของมวลมนุษย์ย่อมเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดในการพัฒนาทุนอันมีประสิทธิภาพสูงสุด.....และเป็นหัวใจหลักแห่งรากฐานทางแนวทางนโยบายทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง......


...................................

วิวัฒนาการระบอบทุนในโลก


ทุนนิยมเสรี........ทุนนิยมแห่งสังคม......สังคมนิยม(สังคมทุนนิยม)

ทุนเอกชน...........ทุนที่มีศีลธรรม...........ทุนแห่งรัฐ

ทุนผูกขาด............ทุนแห่งสังคม..............ทุนผูกขาดแห่งรัฐ

จักรพรรดินิยม.....ธรรมาธิปไตย..............สังคมจักรพรรดินิยม

........................................


โครงสร้างระบอบอำนาจรัฐ

.................ทุนนิยมเสรี............ทุนแห่งสังคม.......สังคมนิยม

ระบอบรัฐ...เสรีประชาธิปไตย....ธรรมาธิปไตย....ประชาธิปไตย
..........................................................................รวมศูนย์

ระบอบแห่ง
อำนาจรัฐ....เผด็จการกลุ่มทุน.....ธรรมาภิบาล.......เผด็จการ
...........................................................................ประชาธิปไตย
...........................................................................ประชาชนที่นำ
...........................................................................โดยกรรมาชีพ

.............................

การพึ่งตนเองและเดินทางสายกลางตามทฤษฎีใหม่ตามพระราชดำริขององค์พระประมุข เป็นตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดของการดำเนินทุนอย่างมีศีลธรรมจรรยา

การที่สามารถเลี้ยงตนเองอยู่ได้และเจือจานผู้อื่นได้ ไม่เบียดบังธรรมชาติจนเกินไป เพราะการทำลายล้างธรรมชาติและสภาพแวดล้อมต่างๆเพื่อความอยู่รอดของตนเองหรือเพื่อความร่ำรวยของตนเองนอกจากจะสร้างสภาวะที่ขาดดุลยภาพในทุกๆด้านทั้งทางธรรมชาติและสังคมแล้วในที่สุดก็จะเป็นการทำลายตนเอง และสังคมโดยรวม

ในระบอบสังคมนิยมมีความโน้มเอียงต่อการพัฒนาทุนกล่าวคือ จะเน้นต่อการขยายพลังการผลิต(คนและเครื่องมือการผลิต)และเน้นต่อการกำจัดสิ่งกีดขวางต่อพลังการผลิต โดยขาดการวิเคราะห์ถึงผลกระทบจากการขยายพลังการผลิตและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางความสัมพันธ์ทางการผลิต ที่มีต่อธรรมชาติ,สังคมและสิ่งแวดล้อมโดยรวม

การเพิ่มอัตราเร่งในการสร้างเงื่อนไขในการสูญสลายทางชนชั้นเพื่อสร้างชนชั้นเดียวที่มีทีทรรศน์เดียว เป็นการดำเนิน แนวทางนโยบายแบบกลไกและมีความโน้มเอียงต่อการขยายทุนแบบไร้ศีลธรรมจรรยา
กรอบวิธีวิเคราะห์แบบวิภาษวิธี ที่เน้นต่อการขจัดความขัดแย้งที่เป็นปรปักษ์ที่ต้องใช้รูปแบบที่เป็นปรปักษ์กันในการขจัดความขัดแย้ง ก็เป็นแนวคิดหนึ่งที่ทำให้ชนชั้นและชั้นชนต่างๆในโลกต้องกลายเป็นปรปักษ์กับชนชั้นกรรมาชีพในประเทศสังคมนิยมตามแนวคิดแบบมาร์กซิสต์และในที่สุดก็เป็นการทำลายตนเองของชนชั้นกรรมาชีพ

ในระบอบทุนเสรีที่เน้นการแสวงหากำไรสูงสุดด้วยวิถีทางต่างๆทุกวิถีทางรูปแบบวิธีคิด,แบบจำลองในการคิดที่ขาดการประเมินคุณค่าทางด้านจิตใจ,คุณค่าทางศีลธรรมจรรยาและความเป็นมนุษย์ เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายในการสร้างกำไรสูงสุดของนายทุน ก่อให้เกิดการทำลายล้างทางธรรมชาติและทางสังคมอย่างรุนแรง และก่อให้เกิดทาสยุคใหม่ที่มีวัฒนธรรมแบบใหม่ที่หยาบกระด้างทางจิตใจของความเป็นมนุษย์

การพึ่งพาอาศัยกันในทางธรรมชาติ เช่น symbiosis ในเซลล์ต่างๆที่มีการพึ่งพาอาศัยกัน โดยต่างฝ่ายต่างพึ่งพาอาศัยกัน ประกอบเป็นองค์เอกภาพเดียวกันและสร้างสภาวะที่เกิดดุลยภาพในเซลล์ เป็นตัวอย่างที่เห็นถึงการอยู่ร่วมกันที่เกิดดุลยภาพและมีการพัฒนา

ในทางสังคมมนุษย์เช่นกัน จากความไร้ระเบียบและขาดดุลยภาพแห่งทุน เป็นผลก่อให้เกิดความอัปลักษณ์ของโครงสร้างชั้นบน ที่สนองและรับใช้แก่กลุ่มคนจำนวนหนึ่งซึ่งมีจำนวนน้อยนิดที่เอารัดเอาเปรียบและทำลายล้างมวลมนุษยชาติในโลก อย่างเห็นแก่ตัว ตะกละตะกราม และไร้ศีลธรรมจรรยา

องค์รวมพหุภาพทุน
กับระบอบเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม สังคม


จากการทำความเข้าใจในเบื้องต้นว่า...ทุน..ก็คือ องค์รวมแห่งศักยภาพแห่งทุนทางกายภาพ และศักยภาพทางจิตวิญญาณปัญญา.....ของมนุษย์ และการสั่งสมในทางสังคม....

การอยู่ร่วมกันของมนุษย์ในสังคมก่อเกิดการสร้างกลไกกลางแห่งการแลกเปลี่ยนศักยภาพทุน ที่มีความแตกต่างทั้งในระหว่างมนุษย์กับมนุษย์...มนุษย์กับสังคม...และสังคมกับสังคม ก่อให้เกิดการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปแห่งกลไกกลางการแลกเปลี่ยนศักยภาพแห่งทุนในสังคม...

การแปรเปลี่ยนแห่งกลไกกลางการแลกเปลี่ยนศักยภาพทุนใดๆ ต่างล้วนดำเนินไปบนกฎเกณฑ์ทางธรรมชาติในการรักษาไว้ซึ่งดุลยภาพแห่งองค์รวมพหุภาพศักยภาพทุนในสังคม...

โครงสร้างชั้นบนในทางสังคมที่ประกอบไปด้วย โครงสร้างทางระบอบการเมือง...โครงสร้างทางรูปการจิตวิญญาณต่างๆ....กฎหมาย...กลไกอำนาจรัฐ....รูปการจิตสำนึกใดๆล้วนแล้วก็คือ รูปการของกลไกกลางการแลกเปลี่ยนทางศักยภาพแห่งทุนที่ได้มีวิวัฒนาการไปในทางสังคม

ในการอธิบายของนักทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ คลาสสิก....อดัม สมิท เป็นครั้งแรกเมื่อ 200 กว่าปีที่ผ่านมา....ได้อธิบายถึงปรากฏการณ์ใหม่ในทางสังคมในยุคนั้น ที่ก้าวผ่านจากระบอบศักดินา เข้าสู่กระบวนการผลิตแบบลัทธิพาณิชย์นิยม หรือที่เรียกว่า ลัทธิ เมอร์แคนไตลิสม์...

อดัม สมิท ได้สร้างรากฐานให้กับการวิเคราะห์ แบบแยกส่วนย่อย อันก่อกำเนิดสาขาวิชาที่เรียกว่าเศรษฐศาสตร์ ขึ้นมา....ทฤษฎีของ อดัม สมิท เป็นการอธิบายถึงวิวัฒนาการที่แปรเปลี่ยนไปของกลไกกลางการแลกเปลี่ยนศักยภาพแห่งทุน...

ทุนที่มีวิวัฒนาการไปสู่ขอบเขตุความสัมพันธ์ที่มีความกว้างขึ้นทั้งทางปริมาณและคุณภาพ กล่าวคือ

ศักยภาพทุนทางกายภาพและจิตวิญญาณปัญญา มนุษย์ ก่อเกิดองค์รวมพหุภาพทุนที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ก่อเกิดมูลค่าแห่งการสะสมทุน (ศักย์ ที่ดำรงอยู่)ของกลุ่มต่างๆ เช่นกลุ่มนายทุน ที่ควบคุมปัจจัยการผลิตต่างๆหรือองค์รวมพหุภาพทุนของกลุ่มคนและทรัพยากรต่างๆ ที่อยู่ภายใต้การควบคุมของนายทุน...

มรรควิธี ที่ อดัม สมิท นำเสนอคือ กฎธรรมชาติ ( Natural Law) หรือหลักแห่งการค้าเสรี บนกรอบแห่งความเชื่อมั่นในประสิทธิภาพ ของกลไกราคา และ ตลาดที่มีการแข่งขันสมบูรณ์...

การอธิบายของ อดัม สมิท และ เดวิท ริคาร์โด ในยุคนั้น ก็คือการอธิบายถึง การปรับปรุงประสิทธิภาพแห่งกลไกกลางการแลกเปลี่ยนศักยภาพทุนในทางสังคม...

การสะสมทุน( capital formation ) ที่ อดัม สมิท ได้ให้คำอธิบายถึงปรากฏการณ์ในทางสังคมในยุคนั้น ก็คือการแสดงออกแห่งการสั่งสมในทางศักยภาพขององค์รวมพหุภาพทุน....

เมื่อวิเคราะห์ภายใต้กรอบกระบวนทัศน์องค์รวม9มิติจะเห็นว่า ศักยภาพทุนมีขอบเขตุที่กว้างขึ้น เช่น รูปการทางปัญญาหรือจิตวิญญาณ อันสั่งสมในทางกายภาพในรูปการของเครื่องมือการผลิตที่มีวิวัฒนาการสูงขึ้นล้วนมีศักยภาพทางปัญญาที่เกิดการต่อยอดพอกพูนทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพที่สูงขึ้น...ในทางปริมาณที่มีขนาดการผลิตที่มากขึ้นประสิทธิภาพสูงขึ้นเป็นต้น....

การใช้ทรัพยากรในทางธรรมชาติและสังคมที่สูงขึ้นและแปรเปลี่ยนเป็นศักย์ที่ดำรงอยู่ ทั้งของระบอบทุน ของมนุษย์ทั้งการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปในทางกายภาพในการดำเนินชีวิตและศักยภาพทางปัญญาจิตวิญญาณ.....และระบอบแห่งสังคมต่างๆ...


โลกในยุคนี้ แนวคิดทางวิทยาศาสตร์กลศาสตร์แบบนิวตันกำลังเฟื่องฟู...การนำเอาหลักการในทางคณิตศาสตร์มาใช้ในการหาคำอธิบายทางเศรษฐศาสตร์จึงเกิดขึ้น...

ภายใต้การค้นคว้าหาค่าการตรวจวัดที่ให้ได้ค่าใกล้ความเป็นจริงมากที่สุด...สมการทางคณิตศาสตร์จึงถูกนำมาใช้อ้างอิง...
แบบจำลองทางเศรษฐมิติ...ในทางตัวเลขทางคณิตศาสตร์ล้วนต้องอ้างอิงกับค่าคงที่หนึ่งๆ...หรือการหาดัชนีสำคัญที่ชี้วัด...

ในการนำเสนอทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ของคาร์ล มาร์กซ ในยุคต่อมาโดยใช้หลักการวิเคราะห์สังคมและทุนที่เป็นหน่วยย่อยพื้นฐาน...

คาร์ล มาร์กซ ได้เสนอทฤษฎีมูลค่าส่วนเกิน หรือ  Theory of Surplus Value ...ขึ้นมาโดยให้การอธิบายถึง ถึง ทุน ก่อเกิดจากแรงงาน...และแรงงานเป็นสิ่งที่สร้างมูลค่า...โดยจะแบ่งเป็น มูลค่าทุนคงที่ มูลค่าทุนแปรผัน และมูลค่าทุนส่วนเกิน และได้สร้างสมการเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของมูลค่าเหล่านี้...

ในส่วนของมูลค่าส่วนเกิน...ซึ่งมาร์กซ ได้อธิบายถึงการเอารัดเอาเปรียบของนายทุน และร่ำรวยจากการขูดรีดแรงงานส่วนเกินของคนงาน และมีแนวคิดว่าในกระบวนวิวัฒนาการทางสังคมระบอบทุนนิยมเป็นระบอบที่จะต้องล่มสลาย และจะเกิดสังคมใหม่คือสังคมคอมมิวนิสต์ขึ้นมา ภายใต้การต่อสู้ของชนชั้นกรรมาชีพ...

องค์รวมพหุภาพทุน
และระบอบทุนนิยมแห่งสังคม(ต่อ)

.............................................


ภายใต้การประยุกต์หลักการทฤษฎีของ คาร์ล มาร์กซ นำไปสู่การสร้างรูปแบบแห่งรัฐแบบใหม่ที่ วลาร์ดิมีย์ อิลยิส เลนิน นำไปต่อสู้เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองสถาปนารัฐสังคมนิยมแห่งแรกคือสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต....หลังจากนั้น เหมาเจ๋อตง แห่งประเทศจีนก็นำไปประยุกต์ใช้ในการต่อสู้เพื่อปลดปล่อยประเทศจีน จากการครอบงำของมหาอำนาจและเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง....และอีกในหลายๆประเทศก็เจริญรอยตาม.....

ดังนั้น...จินตภาพของคำว่า ระบอบทุนนิยม ในความเข้าใจในแบบการอธิบายแบบมาร์กซิสต์จึงแพร่หลาย....และ เป็นสิ่งที่ผู้คนเชื่อว่า ทุนนิยม ก็คือความเลวร้ายและต้องเป็นเป้าหมายแห่งการทำลายล้าง...รวมไปถึงความเชื่อที่เชื่อว่า...วิวัฒนาการของสังคมในโลก ระบอบแห่งทุนนิยมก็คือระบอบที่ล้าหลังจะต้องล่มสลาย โดยมีสังคมใหม่เข้าแทนที่....

ความโน้มเอียงแห่งการคัดค้านต่อการพัฒนา ทุน จึงเกิดขึ้นในรูปแนวทางนโยบายและระบบความคิดของคนทั่วไป...ที่เชื่อว่า ทุน คือสิ่งที่ชั่วร้าย จึงเป็นผลทำให้เกิดการคัดค้านต่อการขยายศักยภาพทุน ขาดการการส่งเสริม การพัฒนา แห่งศักยภาพทุนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการนำมารับใช้มนุษย์ที่อยู่บนโลกมนุษย์....หากมิใช่มารับใช้บนจินตนาการแห่งความฝันอันเลื่อนลอยของโลกอุดมคติที่ห่างเหินแบบวิธีปฏิบัติที่สามารถกระทำได้อันสอดคล้องกับความเป็นจริง.....หรือไม่ก็บนพื้นฐานการทำลายล้างอย่างสุดขั้วอย่างเสรีที่กระทำต่อมนุษย์ด้วยกันบนโลก......ด้วยการทำลายล้างมนุษย์ผู้ซึ่งดำรงไว้ซึ่งศักยภาพทุน....นั่นก็คือการทำลายล้างทุนทั้งทางกายภาพและทางปัญญา-จิตวิญญาณ

..................................


วิวัฒนาการของ “ทุน”ในสังคมไทย



กระบวนการพัฒนาของ ระบอบทุนในสังคมไทยเป็นไปในรูปแบบของการวิวัฒนาการในการปรับเปลี่ยนทางดุลยภาพของทุน โดยรูปแบบการเปลี่ยนแปลงที่มีการปรับเปลี่ยนภายใต้การควบคุมการแปรเปลี่ยนกลไกกลางการแลกเปลี่ยน


ในสังคมบรรพกาล ของชุมชนบรรพกาลที่ตั้งอยู่บริเวณพื้นที่ที่เป็นอาณาเขตุของประเทศไทยปัจจุบัน มีการเกิดขึ้นของชุมชนในหลายๆแห่ง เช่นในภาคกลางบริเวณจังหวัดกาญจนบุรี,บริเวณภาคอีสานตอนกลาง และที่ติดแม่น้ำโขง หรือในบริเวณของภาคเหนือ ร่องรอยอารยธรรมเหล่านี้มีปรากฏให้เห็น เช่น ศักยภาพของทุนทางปัญญาในการทำเครื่องใช้สอย อันได้แก่เครื่องปั้นดินเผา เครื่องไม้เครื่องมือในการทำการผลิตต่างๆ

ข้อสันนิษฐานแบบวิถีชีวิตของชาวชุมชนบรรพกาล สามารถเทียบเคียงได้จากแบบวิถีชีวิตของชนชาติส่วนน้อยที่ดำรงชีวิตโดยสัมพันธ์กับโลกภายนอกที่น้อยมาก จะเห็นได้ถึงแบบวิถีแห่งการใช้ทุน หรือระบอบของทุนในบรรพกาล ที่มีกลไกการแลกเปลี่ยน ทางศักยภาพของทุน ที่เกิดจากศักยภาพทางร่างกายหรือทางกายภาพ และศักยภาพทางปัญญา-จิตวิญญาณ ว่ามีความสัมพันธ์ และมีพัฒนาการเป็นไปอย่างไร จากได้กล่าวในรายละเอียดมาแล้วใน เรื่อง นิยามและความหมาย ของทุน

การก้าวเข้าสู่สังคมที่มีรูปแบบของรัฐ ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ในยุคกว่า 1 พันปี ที่ผ่านมาหรือประมาณ พุทธศตวรรษที่ 11- 18 ได้เกิดมีเมือง หรือชุมชนเมืองขึ้น โดยมีเมืองเอกและเครือข่ายการขึ้นต่อหรือการยอมรับต่ออำนาจ โดยไม่มีอาณาเขตุหรือการครอบครองพื้นที่ที่แน่นอน ของรัฐนั้นๆ อันได้แก่ ทวารวดี , มอญ,ลพบุรี, ศรีวิชัย , ขอม, เจนละ,เชียงแสน,ศรีเทพ,โคราปุระ, สีโครตะบอง, ฯลฯ จนมาถึง ล้านช้าง,ล้านนา , พะเยา,สุโขทัย,ลพบุรี,สุพรรณบุรี , อยุธยาเป็นต้น โดยรัฐต่างๆต่างก็เป็นอิสระในการครอบครองทรัพยากรบริเวณนั้นชุมชนเมืองนั้นๆในการทำการผลิตและมีการแลกเปลี่ยนกับชุมชนอื่นๆ ที่อยู่ห่างไกลออกไป เช่น จีน,อินเดีย


ในยุคสุโขทัย ประมาณ ปลายพุทธศตวรรษที่ 17 จากหลักฐานทางศิลาจารึก ของพ่อขุนรามคำแหง ( ซึ่ง ปัจจุบันมีการโต้แย้งของนักวิชาการทางด้านโบราณคดี กันอยู่ว่าเป็นการจารึกขึ้นมาใหม่หรือไม่... ผู้เขียน อ้างอิงตามที่บันทึกแม้ว่าจะเป็นการโต้แย้งกันอยู่แต่มิใช่ประเด็นสำคัญ...แต่สิ่งที่นำเสนอคือการสะท้อนภาพแบบวิถีชีวิตของผู้คนในยุคนั้น...อันมีศิลาจารึกอีกหลายแห่งที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกัน...) จะเห็นได้ว่ามีการใช้นโยบายรูปแบบทางเศรษฐกิจ แบบเสรี ที่รัฐไม่ได้เก็บภาษี คือใครใคร่ค้าขายแลกเปลี่ยนก็ทำได้ โดย เจ้าเมืองไม่เอาจังกอบ


ระบบกลไกกลางแห่งรัฐสุโขทัยที่เกิดขึ้นสามารถทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนศักยภาพทุนที่เกิดดุลยภาพ ได้ดี เช่นประชาชนที่มีเรื่องเดือดร้อนก็สามารถร้องเรียนต่อ กลไกกลางการแลกเปลี่ยนศักยภาพทุนหรือกลไกอำนาจรัฐได้ หรือมีเรื่องเดือดร้อนใดๆก็ตาม กลไกกลางสามารถแก้ไขปัญหา หรือแสดงบทบาทที่ทำให้การแลกเปลี่ยนศักยภาพทุนเป็นไปอย่างมีดุลยภาพของชุมชนเมืองนั้นๆ

การยอมรับต่อตัวแทนที่ควบคุมกลไกกลางการแลกเปลี่ยนของประชาชน จึงเกิดขึ้นจากพื้นฐานของความเชื่อมั่นและความศรัทธาต่อการนำและการยอมรับต่อความมีอภิสิทธิ์ของผู้นำที่จะต้องเป็นไปของเงื่อนไขสถานการณ์ต่างๆในยุคนั้น ไพร่ฟ้าหน้าใส เป็นการสะท้อนถึงมาตรฐานชีวิตของประชาชน และความอุดมสมบูรณ์ ความมั่งคั่งของรายได้ประชาชาติยุคนั้นของรัฐสุโขทัย ที่ประชาชนมีดุลยภาพของการแลกเปลี่ยนศักยภาพทุนทางกาย และทางปัญญา

ตราบจนปลาย พุทธศตวรรษ ที่ 19 ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ รัฐอยุธยาได้มี การสร้าง กลไกกลางการแลกเปลี่ยนศักยภาพทุน ที่มีการรวมศูนย์สู่ส่วนกลางอย่างเป็นแบบแผน ในแนวทางนโยบายที่เสริมศักยภาพของกลไกกลางแห่งรัฐ หรือกลไกกลางการแลกเปลี่ยนศักยภาพทุนแห่งรัฐให้เข้มแข็งและเป็นปึกแผ่นของประชาชนที่สังกัดภายในรัฐ

ภายใต้สถานการณ์ที่มีความตึงเครียด กับการรุกรานเพื่อแย่งชิงทรัพยากรของรัฐจากรัฐที่ใกล้เคียงภายนอก และการแผ่อิทธิพลเข้ามาของรัฐอื่นๆในโลกเช่นจากทางตะวันตก ที่มีการแลกเปลี่ยน ทองคำ กับเทคโนโลยีการป้องกัน เช่น อาวุธ รัฐต่างๆมีการพัฒนากองกำลังอาวุธในการบุกยึดแย่งชิงทรัพยากร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความมั่งคั่งของรัฐ อยุธยา ที่อุดมสมบูรณ์ ไปด้วยผ้าไหมชั้นดี , ข้าว,ดินประสิว,ดีบุก ฯลฯ ที่สำคัญที่สุด คือทองคำ อันเกิดจากการขุดค้นและการสะสมจากการแลกเปลี่ยน อยุธยาจึงเป็นอาณาจักรที่มี จีดีพี และจีเอ็นพี สูงสุดในภูมิภาคนี้ในยุคนั้น ดินประสิว อันเป็นส่วนสำคัญ ในการสะสมไว้ของรัฐต่างๆในการสร้างเสริมศักยภาพทางอาวุธที่ใช้บรรจุปืนใหญ่ และ ปืนคาบศิลา เป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญสินค้าหนึ่งที่นำความมั่งคั่งมาสู่รัฐอยุธยา


ความเจริญรุ่งเรืองสูงสุดของรัฐชาติสมัยอยุธยาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีการสร้างความเป็นปึกแผ่นให้กับรัฐชาติ ที่มี ราชธานี หัวเมืองเอก หัวเมืองรองและเครือข่ายประเทศราช มีการสร้างความสัมพันธ์กับนานาประเทศ ที่ขยายขอบเขตุที่กว้างไกลออกไปถึงดินแดนโพ้นทะเลเช่นมหาอำนาจฝรั่งเศส

ในขณะที่เทคโนโลยีการคมนาคมทางเรือมีความก้าวหน้าขึ้นที่มีขีดความสามารถในการหาตำแหน่งทิศทางของแผ่นดินได้ถูกต้องในการเดินเรืออันเป็นผลจากวิทยาการด้านดาราศาสตร์ และการรู้จักใช้เข็มทิศในการเดินเรือ

ภายใต้การค้าแลกเปลี่ยนที่เป็นไปอย่างกว้างขวางจึงก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมและความก้าวหน้าด้านวิทยาการต่างๆเช่นด้านดาราศาสตร์,เทคโนโลยีด้านอาวุธ, การเดินเรือและกระบวนการผลิตต่างๆเช่นเครื่องปั้นดินเผา เป็นต้น
ความก้าวหน้าในเทคโนโลยีอาวุธของรัฐอยุธยา ถึงขั้นมีการส่งปืนใหญ่ซึ่งถือว่าเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุดในยุคนั้นไปขายถึงญี่ปุ่น

ในยุคนี้ มีการแต่งตั้ง ชาวต่างชาติ หลายประเทศเป็นที่ปรึกษา และดำรงตำแหน่งสำคัญในกิจการของรัฐ เช่น เจ้าพระยาวิชาเยนท์ จากโปรตุเกส ออกญาเสนาภิมุข จากญี่ปุ่น คณะที่ปรึกษาจากฝรั่งเศส คณะสอนศาสนาจากทางตะวันตก เป็นต้น จากอันตรกิริยาดังกล่าวจึงก่อให้ทุนแห่งรัฐอยุธยามีความแข็งแกร่งและเป็นรัฐที่มั่งคั่งที่มีการโยงใยไปในเอเชียแปซิฟิค ในเอเชียกลาง และในยุโรป

กรอบจริยธรรมทางพุทธศาสนาในสังคม ที่เผยแผ่เข้ามาในยุคนั้นโดยมีวัดเป็นสถาบันการถ่ายทอดทางปัญญา เป็นศูนย์กลางการถ่ายทอดศิลปวิทยาการทุกแขนง หรือการเสริมสร้างและการแลกเปลี่ยนศักยภาพทุนทางปัญญาของสังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับพื้นฐาน แม้แต่เหล่าขุนนางก็มีการสร้างวัดเพื่อคนในสังกัดของตน

จากการก่อรูปพื้นฐานทางวัฒนธรรมอันมีหลักแห่งพุทธศาสนาเป็นเครื่องชี้นำทั้งในระดับผู้กุมกลไกรัฐที่ต้องอาศัยเป็นที่ปรึกษาในราชการต่างๆ และรวมลงไปถึงระดับพื้นฐานที่ต้องอาศัยวัดเป็นที่เสริมสร้างภูมิปัญญา
จึงทำให้ไม่มีการเกิดขึ้นของทิศทางการพัฒนาระบบการซื้อขายมนุษย์เหมือนในทางสังคมตะวันตกหรือรัฐอื่นๆในโลกที่มีการผ่านของลักษณะสังคมทาสที่มีการเปิดตลาดซื้อขายมนุษย์เป็นสินค้า ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาของสังคมไทยลักษณะของสังคมไม่มีทิศทางการพัฒนาไปเช่นนั้นถ้าเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของสังคมทาสในทางภูมิภาคอื่นที่มีพัฒนาการไปเช่นนั้น เช่นการเกิดประเทศอเมริกาที่เกิดขึ้นหลังการเกิดรัฐสุโขทัยที่เกิดก่อนร่วม 5-6 ร้อยปี แต่ไม่มีระบบซื้อขายทาสเสรีเหมือนอเมริกาในรัฐสุโขทัย และยุคต่อๆมา เป็นต้น

ที่ตกเป็นทาสส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะเป็นเชลยศึก หรือไม่ก็เป็นการกวาดต้อนแรงงานเชลยศึกเพื่อมาสร้างเป็นรัฐกันชน หรือทำการผลิตในบริเวณรอบนอกเมือง หรือหัวเมืองชั้นรองลงไปโดยที่เชลยศึกเหล่านั้นยังมีอิสระในการดำรงชีพโดยมีสังกัดหรือตกเป็นไพร่

อีกทั้งลักษณะของเชลยศึกส่วนใหญ่จะเป็นวงศาคณาญาติของชนชั้นนำในรัฐที่พ่ายสงครามหรือไม่ก็เป็นปัญญาชนในยุคนั้นเช่นช่างฝีมือด้านต่างๆ การผ่อนคลายความเข้มงวด หรือการยอมรับในศักยภาพจึงมีสูงกว่าลักษณะที่ดูถูกเหยียดหยามว่าต่ำต้อยกว่าเชื้อชาติแห่งตน ผลที่เกิดขึ้นจึงเกิดเป็นการกว้านทุนทางปัญญาเพื่อมาสร้างความมั่งคั่งให้รัฐ จึงไม่เกิดลักษณะที่ว่ารัฐๆหนึ่งขายทาสให้อีกรัฐ หรือ มีการเปิดตลาดเสรีค้าทาสระหว่างรัฐ หรือการกระทำที่ยอมรับต่อการใช้อำนาจหรือการที่มีกองกำลังที่เหนือกว่ากวาดต้อนผู้คนไปขายอย่างเสรีเพื่อสร้างความมั่งคั่งแห่งรัฐ

แม้แต่การเข้ามาตั้งถิ่นฐานของชนชาติอื่นในรัฐกลับได้รับการคุ้มครองหรือมีอิสระมากกว่าไพร่ในสังกัดของคนในรัฐเสียอีกเช่นกลุ่มคนชนเชื้อสายจีนที่ต้องค่าธรรมเนียมเท่านั้นหรือค่าผูกปี้... โดยไม่ต้องสังกัดไพร่ กลุ่มนี้จึงมี การสะสมทุนได้สูง กว่าคนท้องถิ่น...

ในขณะที่ไพร่ต้องถูกเกณฑ์แรงงาน 6 เดือนเพื่อใช้แรงงานให้กับรัฐที่มีการกุมกลไกรัฐของชนชั้นนำ แรงงานที่ถูกเกณฑ์นอกจากทำการผลิตให้กับหน่วยที่ตนสังกัด ยังมีการสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน เพื่อประชาชนในรัฐได้ใช้ หรือไม่ก็เพื่อการป้องกันการรุกรานจากรัฐอื่น ไพร่จึงเหลือเวลาเพียงน้อยนิดในการสร้างผลผลิตและเพื่อการสะสมทุน...

ในยุครัตนโกสินทร์ สมัยที่มีการปฏิรูปครั้งใหญ่ใน รัชกาลที่5 ได้ทรงให้มีการเลิกระบบการเป็นทาส ทาสในลักษณะที่แตกต่างจากสังคมทางยุโรปและอเมริกาที่ใช้กำลังไปกวาดต้อนเพื่อทำการค้าและเปิดตลาดค้าขายกันอย่างเสรี จะเป็นลักษณะทาสในเรือนเบี้ย หรือที่มาเป็นทาสในลักษณะการชดใช้มูลหนี้ต่างๆเป็นหลัก...ตามกลไกกลางการแลกเปลี่ยนศักยภาพทุนในยุคนั้น

ในสมัยนี้ได้มีการปรับปรุงกลไกกลางการแลกเปลี่ยนศักยภาพทุนในทุกๆด้าน อันเป็นรากฐานต่อการแปรเปลี่ยนอย่างสันติหรือรักษาความมีดุลยภาพ เช่นการจัดตั้งสถานศึกษาต่างๆเพื่อเสริมสร้างศักยภาพทุนทางปัญญา การปรับปรุงสาธารณูปโภคขั้นมูลฐาน
ขณะที่มีการแผ่อิทธิพลเข้ามาของรัฐชาติตะวันตก เทคโนโลยีภายหลังจากที่มีการการปฏิวัติอุตสาหกรรมในตะวันตกหลั่งไหลเข้ามา พร้อมๆกับอารยธรรมยุคใหม่จากทางตะวันตกของระบอบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม ที่มีอุดมการณ์การปกครองแบบประชาธิปไตย

การเปลี่ยนแปลงการปกครองของไทย ที่เกิดขึ้น แบบสันติจึงเป็นกระบวนการของวิวัฒนาการ ไม่ใช่ลักษณะของการพัฒนาในแบบที่เรียกว่าเป็นการปฏิวัติ ทั้งนี้เนื่องจากเป็นการเกิดขึ้นของความต้องการที่จะปรับเปลี่ยนของกลุ่มชนชั้นนำที่ร่วมกับกลุ่มเท็คโนแครตซึ่งเป็นชนชั้นปกครองในสังคมเอง ที่จริงแล้วถึงไม่ใช้กำลังทหารยึดอำนาจ ก็จะต้องเกิดการปรับเปลี่ยนอยู่แล้วทั้งนี้เนื่องจาก ชนชั้นนำยุคนั้นล้วนมีรากฐานการศึกษาจากตะวันตกที่มีแนวคิดแบบประชาธิปไตย

การเปลี่ยนแปลงโดยโครงสร้างชั้นบนที่มีการควบคุมการแปรเปลี่ยนให้อยู่ในสภาวะที่มีดุลยภาพ โดยไม่ได้เป็นผลอันเกิดจากขบวนการลุกฮือเคลื่อนไหวของประชาชนทั้งประเทศหรือในสิ่งที่เรียกว่าการปฏิวัติ
ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นก็ไม่อาจคาดหมายได้ว่าจะมีการสูญเสียชีวิตเท่าไหร่ของการต่อสู้ทางความคิดและจากสภาวะปฏิกิริยาลูกโซ่ที่เกิดขึ้นอันจะต้องเป็นไปในทิศทางที่ไร้ระเบียบ ถ้าหากขาดองค์กรนำ หรือมีการนำที่ไร้ทิศทางที่ถูกต้อง

การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 จึงเป็นกระบวนการของวิวัฒนาการ ที่ เกิดจากกระบวนการสร้างตนเองขึ้นใหม่อันเป็นวิวัฒนาการของกลุ่มชนชั้นนำในสังคมจึงไม่ใช่เป็นกระบวนการปฏิวัติในทางการเมือง ที่มีลักษณะขบวนการล้มล้างแบบถอนรากถอนโคนของระบบองค์รวมทั้งระบบในประเทศอันรวมไปถึงรูปการจิตสำนึกต่างๆ...

กระบวนการวิวัฒนาการของทุน ในไทยจึงมีการปรับเปลี่ยนภายใต้การเปลี่ยนถ่ายอำนาจอย่างสันติ กลุ่มที่มีการสะสมทุนมากก็คือกลุ่มชนชั้นนำในสังคม กลุ่มพ่อค้าจีนและต่างชาติอื่นๆที่มีการสะสมทุน จากการที่ไม่ต้องตกเป็นไพร่ คือจ่ายเฉพาะค่าธรรมเนียม นอกจากนั้นกลุ่มเหล่านี้ มี แนวคิด ของระบบอุปถัมภ์ ที่ไม่เหนียวแน่นเท่ากลุ่มที่เคยสังกัดไพร่ และมีแนวคิดที่ทันสมัยกว่ากลุ่มอื่น เช่นระบบการประมูลเป็นนายอากรบ่อนเบี้ย เมื่อมีการเรียกเก็บภาษีอากรที่สูงชนชั้นนำที่รับผิดชอบสามารถโยนความผิดมาให้นายอากรได้ เมื่อนายอากรเหล่านี้มีการสะสมทุนที่สูงมากต่อมาก็มีอำนาจทางการเมืองอันสามารถมีศักดินาในที่ดินและมีไพร่ในสังกัด รวมทั้งมีการดำเนินธุรกิจการเมืองแบบผูกขาด เช่นสัมปทานในด้านต่างๆที่มีสัมพันธ์กับทุนต่างชาติ และ เมื่อสังคมโลกเปลี่ยนไปทุนเหล่านี้จึงกลายมาเป็น ทุนของเอกชนที่มีขนาดใหญ่ในชาติ

ในขณะที่กลุ่มที่ มีการครอบครองที่ดินไว้จำนวนมากและมีไพร่ในสังกัดเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของระบอบการผลิต และทางการเมือง ศักดินาที่มีจึงเป็นเพียงตำแหน่งแต่มีระบบของเบี้ยหวัดหรือเงินเดือนแทนตามกลไกที่รับผิดชอบ จึงมีเพียงที่ดินในบางแห่งอันเป็นทำเลดี หรือมีทรัพยากรทางธรรมชาติที่ดียังมีการถือครองไว้ ทั้งนี้เนื่องจากภาระในการเลี้ยงดูคนจำนวนมากที่เป็นไพร่อันเป็นภาระหนัก ไพร่จึงได้รับการปลดปล่อย
ในขณะที่บางกลุ่มที่ต้องเลี้ยงดูคนในสังกัดที่ยังสมัครใจขออยู่ในสังกัด ตามความสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์ของไทย ย่อม สูญเสียศักยภาพแห่งการสะสมทุนหรือศักยภาพในการออม กลุ่มเหล่านี้จึงเป็นเติบโตมาเป็นกลุ่มทุนขนาดกลางในภูมิภาคและส่วนกลาง วัฒนธรรมระบอบอุปถัมภ์ประกอบกับวัฒนธรรม การมีภรรยาหลายคนของชนชั้นนำในยุคนั้น เช่นบางคนมีหลายสิบคน ย่อมก่อเกิดบุตรหลานมากมาย ซึ่งบางคนในยุคนั้นมีบุตรถึง 30 – 40 คน ที่จะต้องดูแลอยู่ในสังกัด ยังไม่รวมที่เกิดจากไพร่ในสังกัดอีก อันก่อเป็นระบบสายสัมพันธ์ของเครือญาติที่ขยายวงกว้างขวางออกไปอีก การกระจายของทุนจึงแตกตัวกว้างขวางออกไป เชื่อมโยงใยกับกลุ่มทุนที่มีเชื้อสายมาจากต่างชาติของยุคนั้น

ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 การอพยพของชาวจีนกระจายไปทั่วโลก ในการมาตั้งถิ่นฐานในไทยมีจำนวนสูงมาก ภายใต้สายสัมพันธ์ทุนทางสังคมหรือการใช้ศักยภาพทางสังคมอันก่อให้เกิดทุนเช่น เชื้อชาติ ,แซ่ เดียวกัน วัฒนธรรมความเชื่อที่เป็นแบบเดียวกัน

ในขณะที่ในจีนเองก็ถูกครอบครองจากจักรวรรดินิยมและมีกฎหมายที่รุนแรงกับคนจีนในการกลับคืนประเทศ เป็นสิ่งที่ผลักดันให้ชาวจีนโพ้นทะเล ร่วมมือและสนับสนุนซึ่งกันและกันในการทำการค้า อันมีพื้นฐานที่มีความเชี่ยวชาญกว่าคนท้องถิ่น จึงมีการสะสมทุนที่รวดเร็ว และเป็นกลุ่มทุนที่มีขนาดใหญ่ในประเทศและในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์

และทุนส่วนนี้จึงกลายมาเป็นทุนขนาดใหญ่ในประเทศเมื่อมีสายสัมพันธ์ กับกลุ่มกลไกอำนาจรัฐ เพื่อให้ได้สิทธิในการผูกขาดด้านต่างๆยิ่งเพิ่มความแข็งแกร่งของทุน อันเป็นรากฐานของระบบธุรกิจการเมืองไทยปัจจุบัน

การเกิดขึ้นของระบบเจ้าพ่อมาเฟียในส่วนกลางและภูมิภาค ก็เช่นกันเป็นผลพวงจากการหาช่องว่างของกฎหมาย หรือการร่วมมือของผู้กุมกลไกรัฐที่ไม่มีการควบคุมโดยให้อภิสิทธิ์ หรือมีการปรับเปลี่ยนกลไกกลางการแลกเปลี่ยนศักยภาพทุน อันมีผลให้กลุ่มเหล่านี้ได้เปรียบในทางสังคม และปรับบทบาทแห่งทุนเหล่านั้นสู่การแสวงหาผลประโยชน์ด้วยอำนาจอิทธิพลทางการเมือง กลุ่มเหล่านี้เป็นสิ่งที่ขัดขวางต่อการสร้างดุลยภาพของทุนต่างๆในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเติบโตของทุนขนาดเล็ก และ ขนาดกลางในชนบท
กลุ่มเหล่านี้จึงเป็นเป้าหมายในการที่จะต้องจำกัดบทบาทและลดศักยภาพของทุนเหล่านี้ลง ทั้งนี้ศักยภาพเหล่านี้ล้วนเป็นศักยภาพที่สร้างผลลบที่สร้างปัญหาในด้านต่างๆให้กับสังคม เช่น ยาเสพติด โจรผู้ร้าย การคอร์รัปชั่น ฯลฯ และขัดขวางต่อการสร้างดุลยภาพของทุนในองค์รวมของระบบ

จากการพัฒนาของทุนที่ขาดดุลยภาพดังกล่าว ทุน ในสังคมไทยจึงมีการกระจุกตัวอยู่ที่คนจำนวนน้อยในสังคมที่มีบทบาทกุมกลไกกลางของการแลกเปลี่ยน ในขณะที่คนส่วนใหญ่ขาดโอกาสในการสะสมทุน หรือมีการสะสมได้น้อย จึงเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆมากมายในสังคมไทยปัจจุบัน อันเป็นผลพวงจากการขาดดุลยภาพของทุน โดยจะต้องมีนโยบายในการสร้างเสริมขึ้นในส่วนที่ขาดดุลยภาพ มีการจำกัดบทบาทศักยภาพทุนลักษณะที่เป็นพันธนาการขัดขวางหรือทุนที่ไร้ศีลธรรม และส่งเสริมต่อทุนขนาดใหญ่ในเวทีสากลเพื่อเปิดโอกาสให้ทุนระดับล่างได้งอกเงย

ไม่มีความคิดเห็น: