วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2550

กระบวนทัศน์องค์รวมพหุภาพในกรอบอ้างอิง9มิติ..(1)

กระบวนทัศน์องค์รวมพหุภาพในกรอบอ้างอิง9มิติ


…...เป็นแนวความคิดเห็นส่วนตัวที่ผู้เขียนคิดขึ้นเมื่อ10 กว่าปีที่แล้วและนำมาปรับปรุงเขียนบันทึกใหม่ในบล็อกแห่งหนึ่ง....โปรดใช้วิจารณญาณ...ในการทำความเข้าใจ...
.......การนำเผยแพร่จุดมุ่งหมายก็เพื่อจุดประกายแนวคิดใหม่ๆ.....กระตุ้นให้กล้าคิดออกไปนอกกรอบเดิมที่มี....ให้มีการพัฒนาต่อไปบนพื้นฐานแห่งการแสวงหาสัจจะจากความเป็นจริง...เพื่อหาแบบวิธีตรวจวัดปรากฏการณ์ต่างๆให้ใกล้เคียงความเป็นจริงยิ่งขึ้น....
.......ขอนำเสนอ เรื่องกระบวนทัศน์ก่อนเพราะเป็นพื้นฐานในการวิเคราะห์ปรากฎการณ์ใดๆทั้งทางวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ...และวิทยาศาสตร์สังคม...

.......ในหัวข้อที่จะกล่าวต่อไปนี้เป็นเพียงการทำความเข้าใจในกรอบแนวคิดเบื้องต้น.....และจะกล่าวเพิ่มเติมรายละเอียดในหัวข้อ...ฟิสิกส์หัวแม่เท้า...หรือฟิสิกส์ระบำปลายเท้า (TOE หรือ Theory Of Everything )

....................................................................................................

ฟิสิกส์ปรัชญา:

กระบวนทัศน์แบบองค์รวมพหุภาพ
ในกรอบอ้างอิง9มิติ


กระบวนทัศน์(paradigm)หมายถึงความคิดหรือทัศนะพื้นฐานในการมองโลก อันเป็นแบบจำลองหรือ แบบกระสวนในทางความคิด เป็นองค์รวมของรูปแบบ กระบวนการ กรรมวิธีในการคิด โลกทัศน์ในการคิด อันเชื่อมโยงไปถึง ญาณทัศน์ ปัญญาทัศน์ หรือวิสัยทัศน์ ของคนเราในการมองโลก

การจำแนกกระบวนทัศน์ เป็นประเภทใหญ่ๆได้แก่

กระบวนทัศน์แบบแยกส่วนย่อย(reduction)
กระบวนทัศน์แบบการสรุปรวบยอด ( deduction)
กระบวนทัศน์แบบองค์รวม(holistic)

องค์รวม(holistic) มาจากคำว่าholos(whole) ในภาษากรีก....หมายถึงทัศนะที่ถือว่าความเป็นจริงทั้งหมดของสิ่งใดย่อมมีคุณสมบัติสำคัญเฉพาะตนซึ่งไม่สามารถจะเข้าใจได้ด้วยวิธีการแยกสิ่งนั้นออกเป็นส่วนย่อยๆแล้วศึกษาจากคุณสมบัติของส่วนย่อยๆนั้น...แม้จะเอาคุณสมบัติส่วนย่อยนั้นๆมารวมกันก็ไม่สามารถเทียบความหมายหรือความสำคัญกับคุณสมบัติองค์รวมเดิมได้.....( ดูคำอธิบายเพิ่มเติมจาก หนังสือ จุดเปลี่ยนแห่งศตวรรษ แปลโดย พระไพศาล วิสาโล และทีมงาน แปลจาก The Turning Point เขียนโดย Fritjof Capra นักฟิสิกส์ชาวออสเตรีย พิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี2529 หรือเมื่อ 20 ปีที่แล้วโดยสำนักพิมพ์มูลนิธิโกมล คีมทอง )


ในการทำความเข้าใจต่อธรรมชาติและสิ่งต่างๆของมนุษย์หากจำแนกเป็นประเภทใหญ่ๆในกระบวนการรับรู้หรือปรัชญาในการคิดและความเชื่อ....จำแนกได้เป็น

จักรวาลวิทยา.....อันได้แก่ กรอบแนวคิดที่อธิบายว่า โลก จักรวาล เป็นอย่างไร มีกำเนิดมาอย่างไร...เป็นต้นในกรอบนี้จำแนกแนวคิดใหญ่ๆ คือ โลกแห่งวัตถุ และโลกแห่งจิต...เป็นต้น

ปัญญาวิทยา หรือญาณวิทยา (episternology) จะอธิบายถึง กระบวนการรับรู้ของมนุษย์ว่าเกิดจากอะไร....ซึ่งจะจำแนกออกไปหลายประเภทหลายแนวคิด...เช่นแบบประจักษ์นิยม แบบปฏิบัตินิยม แบบญาณทัศน์(intuition)หรือแบบรหัสนัย เป็นต้น หรือแยกเป็นประเภทใหญ่ๆคือแบบจิตนิยมและวัตถุนิยม

มรรควิทยา(methodology) จะเป็นกรอบของแนวคิด และทฤษฎี หรือเครื่องมือการวิเคราะห์ รวมทั้งตรรกวิทยา อันเป็นการให้เหตุและผล

ปรัชญาหลักๆในการคิด เมื่อจำแนกประเภทจะเห็นได้ว่า มี การแยกส่วนเป็น2 ประเภทใหญ่ๆคือ...วัตถุ และจิต

กรอบแนวคิดแบบองค์รวม (holistic) ถือความเป็นเอกภาพของวัตถุและจิต อันประกอบเป็นองค์เอกภาพที่มีคุณสมบัติเฉพาะสิ่ง....และแสดงออกเป็นคุณสมบัติขององค์รวมนั้นๆ...โดยไม่อาจจะแยกส่วนออกมาโดดๆได้.....


มิติแห่งองค์รวมพหุภาพ

การรับรู้ใดๆของมนุษย์ล้วนแล้วมีกรอบแห่งการอ้างอิงทั้งสิ้น.....กรอบอ้างอิง(reference frame) แกนอ้างอิง หรือผู้สังเกตุ
โดยปกติแล้วมนุษย์ทุกคนที่เป็นผู้สังเกตุ มักจะเอาตนเองเป็นศูนย์กลางของสรรพสิ่ง....ใช้การรับรู้ทางอายตนะ และทางปัญญาที่ตนเองมีเป็นเครื่องวัด และตัดสิน

ข้อจำกัดการรับรู้ใดๆล้วนแล้วอยู่ภายใต้กรอบ(frame) และขอบเขตุ(scope) ของสิ่งที่สังเกตุและข้อจำกัดของผู้สังเกตุ....

ดังนั้น สิ่งที่เรียกว่า สัจจธรรมสัมพัทธ์ และสัจจธรรมสัมบูรณ์ จึงเป็นเพียงค่าประมาณการที่มีขอบเขตุอันแตกต่างกัน เท่านั้น

การวิเคราะห์โดยการขยายขอบเขตุ มิติ (dimension)ในการวิเคราะห์เป็นการเพิ่มมุมมองในการวิเคราะห์ปัญหาหากแต่ว่าจะต้อง พิจารณาในแง่ขององค์รวม นั่นคือมิติแห่งองค์รวมพหุภาพ...

การวิเคราะห์ในแบบกรอบอ้างอิง 9 มิติ

การค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์จากอดีตถึงปัจจุบัน ในทางวิทยาศาสตร์ได้อธิบายให้เห็นว่าโลกวัตถุปัจจุบัน ก็คือการเกาะเกี่ยวกันของสนามแรงที่ประสานกันเป็นตาข่าย ความแตกต่างก็เพียงแค่ความเข้มข้นของการประกอบกันขึ้นของสนามแรง สนามแรงเท่าที่มนุษย์ค้นพบประกอบไปด้วย 4 สนามแรงได้แก่ สนามแรงแม่เหล็กไฟฟ้า สนามแรงโน้มถ่วง สนามแรงนิวเคลียร์พลังสูง สนามแรงนิวเคลียร์พลังต่ำ.....ภายใต้การประกอบกันเป็นคอนตรินิวอัม(continuum) หรือความต่อเนื่องของเหตุการณ์ ภายใต้กาลาวกาศ(space-time) แบบ 4 มิติ....คือ มิติกว้าง มิติยาว มิติหนาหรือสูง และมิติเวลา...

หากเราดูตัวอย่างง่ายๆในความต่อเนื่องจะเห็นได้จากการฉายภาพยนต์ ภาพที่เราเห็นประมาณ24ภาพต่อวินาที ที่เดินมาอย่างต่อเนื่องถึงสายตาของเราภายใต้กรอบเฟรมภาพ หรือขนาดของสเปกของภาพที่เข้าไปแทนที่ในที่ว่างแห่งเหตุการณ์(ที่ว่างตามจินตภาพภายใต้กรอบอ้างอิง) การเกิดและดับตลอดเวลาที่แบบชุดข้อมูลเดินทางมาอย่างต่อเนื่อง.....

จักรวาลนี้มีแค่ 4 สนามแรง จริงหรือ?.....และกรอบแห่งการคิดใดๆของมนุษย์ มีแค่ 4มิติ จริงหรือ?......

คำตอบคงไม่ใช่...จักรวาลอันกว้างใหญ่และคงไม่มีเพียงแค่กรอบอ้างอิงแค่นี้เท่านั้นจึงจะยืนยันได้ว่าเป็นสัจจธรรม....เป็นวิทยาศาสตร์...

และมนุษย์ก็คงไม่จำกัดตนเองกับเครื่องมือค้นคว้า....เพียงแค่นี้เท่านั้น....

ในกรอบการวิเคราะห์แบบ 9 มิติจะเป็นการอธิบายถึง...มิติที่5เงา...มิติที่6 วงแหวน...มิติที่7การทับซ้อนทางกายภาพหรือพหุภาพทางกายภาพ...มิติที่8การทับซ้อนของเวลาหรือพหุภาพเวลา...มิติที่9องค์รวมพหุภาพ...หรือมิติแห่งองค์รวมทั้งหมดที่กล่าวถึง...

มิติที่5 มิติเงา...

เงา...ดังได้กล่าวมาแล้วคือมิติหนึ่งที่ดำรงอยู่ของวัตถุ...อันเกิดจากอันตรกิริยาของวัตถุนั้นๆกับภายนอกซึ่งรวมไปถึงผู้สังเกตุ....มิติเงา...หากจำแนกให้เห็นถึงการดำรงอยู่หรือในสถานะมิติหนึ่ง....จำแนกเป็นประเภทใหญ่ๆคือ....

เงาในเชิงรูปธรรม เป็นการตรวจวัด อันตรกริยาต่างๆ ณ. เวลานั้นๆ...เช่นเงาแห่งอดีต...เงา ณ.เวลาอ้างอิง และเงาแห่งอนาคต...ซึ่งเป็นผลจากอันตรกิริยาของวัตถุกับภายนอก..ณ.เวลาอ้างอิงของผู้สังเกตุ...

เงาในเชิงนามธรรม เช่นโลกเสมือน....ความสัมพันธ์ระยะไกลที่มีความเร็วสูง...จินตนาการ...ความคิด...เครดิต...ผลกระทบจากการกระทำต่างๆ เป็นต้น

การตรวจวัดขอบเขตเชิงปริมาณของเงาหรือผลที่เกิดขึ้นจากการดำรงอยู่ของวัตถุนั้นๆที่มีอันตรกิริยากับภายนอก......การวัดจำนวนปริมาณหรือตำแหน่งแห่งที่ที่แน่นอนตรวจวัดได้จากการกำหนดกรอบแห่งอันตรกิริยา....ตัวอย่างเช่น....การเกิดคลื่นสึนามิ...แม้ว่ามีการเกิดขึ้นมาจากการตรวจวัดปรากฏการณ์ได้ และสิ้นสุดลงในรูปพลังงานคลื่นที่ซัดชายฝั่งในวันที่ 26 ธันวาคม 47....แต่ว่า....มิติเงาแห่งสึนามิ...ยังดำรงอยู่...และกระทำอันตรกิริยากับสิ่งต่างๆอย่างต่อเนื่องและกระบวนการของปฏิกิริยาลูกโซ่ต่างๆ......

เช่น...ผลกระทบในขอบเขตุต่างๆหรือกรอบอ้างอิงภายใต้การสังเกตุ....ผลกระทบด้านด้านจิตใจหรือจิตวิญญาณ.....รูปธรรมเช่นถ้าเราวิเคราะห์ในกรอบขอบเขตุการวิเคราะห์ในประเด็นเรื่อง ธุรกิจท่องเที่ยวชายทะเล...จะเห็นได้ว่าสุนทรียภาพเกี่ยวกับความงามของทะเลของคนหลายล้านคนบนโลกนี้ได้เปลี่ยนไป...

นอกเหนือจากคนหลายล้านคนที่สูญเสียญาติพี่น้อง.....คนอีกหลายล้านบนโลกที่รับรู้ข้อมูลข่าวสารทั้งจากภาพทางสื่อสารมวลชน...และไปสัมผัสเอง...

ความงามของทะเล....ที่เคยมองอย่างด้านเดียว...ปัจจุบันก็มองเห็นมหันตภัยที่ควบคู่ความงามเหล่านั้นด้วย....และลึกลงไปถึงความเชื่อของคนจำนวนมากที่...มีความกลัวผี.....

และเงาแห่ง สึนามิก็จะดำรงอยู่เป็นเงาแห่งความทรงจำของผู้คนไปอีกนาน....

สุนทรียภาพที่เปลี่ยนไปเหล่านี้....ไม่ได้หมายความว่าจะลดทอนการท่องเที่ยวของคนน้อยลงในอนาคต...หากแต่ว่าจะปรับเปลี่ยนสุนทรียภาพใหม่...เช่น...การเกิดเครือข่าย...ผู้สูญเสียของสึนามิ....เป็นเครือข่ายที่แสดงออกในลักษณะภราดรภาพ...หรือความเป็นพี่น้อง...ของมนุษยชาติที่ประสบชะตากรรมเดียวกัน.....

ดังนั้น...การมาเที่ยวอีกครั้ง...ไม่ใช่เพียงดูความงามแห่งทะเล...หากยังมีความรู้สึกที่จะต้องมารำลึกถึงดินแดนแห่งประวัติศาสตร์แห่งมหันตภัย.....ที่เขาต้องสูญเสียคนที่เขารัก....และมวลมนุษยชาติ...

ทั้งหมดนี้ล้วนแล้วคืออันตรกิริยา...อันเกิดจากมิติแห่งเงา...ของสึนามิ...

เพื่อที่จะทำความเข้าใจในสิ่งที่ผู้เขียนจะสื่อความหมาย...จึงขอทำความเข้าในในนิยามต่างๆที่ผู้เขียนใช้อธิบายดังนี้....

ความต่อเนื่องของเหตุการณ์
และความต่อเนื่องแห่งการขาดหายไปของเหตุการณ์

การตรวจวัดใดๆล้วนแล้วมีข้อจำกัดภายใต้กรอบและขอบเขตุอ้างอิงและผู้สังเกตุ...ดังตัวอย่างที่ได้กล่าวมาในตอนที่แล้ว....เช่นการมองเห็นภาพที่เคลื่อนไหวของภาพยนตร์ที่วิ่งมาถึงสายตาคนเราอย่างต่อเนื่อง...ตามค่าคงที่ความเร็วแสง...ในอัตรา24ภาพต่อวินาที....

จะเห็นได้ว่าเหตุการณ์...ที่ผู้สังเกตุผุ้นั้นจะรับรู้ได้เพียงภาพที่มีความเร็วที่ต่อเนื่องในขอบเขตุจำกัดระยะหนึ่ง...นั่นคือการรับรู้ของมนุษย์ด้วยอายตนะมีขีดจำกัดและรับรู้ได้เพียงน้อยนิดแค่เศษเสี้ยวธุลีแห่งการดำรงอยู่ของความต่อเนื่องของเหตุการณ์ที่มีความต่อเนื่องด้วยความเร็วที่สูงขึ้นที่มีการดำรงอยู่ในธรรมชาติ....หากจำแนกระดับความเร็วในความต่อเนื่องของภาพหลายล้านๆ...จนถึงอนันต์...แห่งความถี่ต่างๆ...

สิ่งที่มนุษย์รับรู้ไม่ได้ด้วยอายตนะไม่ได้หมายความว่าไม่มีการดำรงอยู่ของเหตุการณ์....

สิ่งเหล่านี้จะขอเรียกว่า....ความต่อเนื่องแห่งการขาดหายไปของเหตุการณ์...

มนุษย์จึงไม่ควรเย่อหยิ่ง....หลงลำพองในอวิชชา....เพราะเป็นแค่เศษเสี้ยวธุลีแห่งองค์ความรู้ในจักรวาล.....

ในการอธิบายสิ่งที่เป็นนามธรรม.....และมีการดำรงอยู่อย่างเปรียบเทียบภายใต้กรอบอ้างอิงหรืออย่างมีเงื่อนไขหรืออย่างสัมพัทธ์....โดยทั่วไปจะใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์....อธิบาย..

ปรัชญาคณิตศาสตร์แห่งการต่อเนื่องของความขาดหายของเหตุการณ์

ปรัชญา หรือ หลักการให้เหตุผลในทางคณิตศาสตร์ ที่มีการพัฒนามาในอดีตและจนถึงปัจจุบัน เพื่อที่จะอธิบายถึงความเป็นจริงในการตรวจวัดจำนวน ปริมาณ ที่ดำรงอยู่ในทางธรรมชาติ โดยวิธีการเปรียบเทียบหรือการให้เหตุผลในกระบวนการความสัมพันธ์ต่างๆของธรรมชาติ กับ การตรวจวัดต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใด โดยมีกรอบอ้างอิงกับกฎหรือสูตรของธรรมชาติ มาเปรียบเทียบกับสิ่งที่ตรวจวัด

ซึ่งการพัฒนาทางคณิตศาสตร์ปัจจุบันได้แตกสาขาออกไปมากมาย และ เป็นการเปรียบเทียบในเชิงวิเคราะห์กับการสังเคราะห์ หรือ การอธิบายในเชิงรูปนัย มากกว่าที่จะหาความจริงในรูปของ อรูปนัย เช่นถ้า คน กิน ข้าวเป็นจริง หมากิน ข้าวเป็นจริง คนและหมาต่างก็อยู่ในเซต เดียวกันคือเป็นสัตว์ แล้วก็สรุปง่ายๆว่า คน เท่ากับ หรืออาจเท่ากับ หมา เป็นต้น

ปรัชญาในทางคณิตศาสตร์ จริงๆแล้วก็คือ การจัดความสัมพันธ์ ของ สิ่งที่เรียกว่า ความรู้แบบ อะไพรออริ ( a priori knowledge ) หรือความรู้ที่ไม่ต้องมีการอ้างเหตุผลสนับสนุนโดยอาศัยประสบการณ์ กับความรู้ แบบ อะโพสเทอริออริ( a posteriori knowledge ) หรือความรู้ เชิงประสบการณ์

ทั้งนี้ เนื่องจากการคาดหมาย,การพยากรณ์ ถึงสิ่ง ที่ไม่มีรูปธรรมหรือยังไม่เกิดขึ้น ก็มีความเป็นไปได้ในความเป็นจริงของธรรมชาติที่มีการดำรงอยู่ และขณะเดียวกัน ข้อจำกัดในกรอบอ้างอิงทางคณิตศาสตร์ ยังมีอีกมากมาย เช่น ค่าอนันต์ ที่ไม่สามารถรู้แน่นอนได้

หรือค่าประมาณการ ของค่าคงที่ใดๆในทางคณิตศาสตร์มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทั้งขอบเขตุปริมาณและคุณภาพ หรือเชิงคุณภาพของค่าใกล้เคียงความเป็นจริง ดังนั้น จึงไม่สามารถที่จะถือว่า กฎเกณฑ์ ทางคณิตศาสตร์ เป็นกฎแห่งความบริบูรณ์ ( completeness) ที่จะอธิบายสรรพสิ่งได้โดยปราศจากการตีความหรือการพิสูจน์ปรากฏการณ์ที่เป็นจริงในทางธรรมชาติ

การจัดความสัมพันธ์ในการรับรู้ทั้ง 2 แบบก็คือ การจัดความสัมพันธ์ของความรับรู้ในเชิงจินตนาการ กับ การเกิดขึ้นจริง เพื่อจะหาค่าประมาณการณ์ที่ใกล้เคียงกับสิ่งที่เรียกว่าปัจจุบัน ให้ใกล้เคียงที่สุด
ปรัชญาคณิตศาสตร์แห่งการขาดหายของเหตุการณ์ ถือว่าสิ่งที่เราเรียกว่าปัจจุบัน ในทางคณิตศาสตร์ ก็ คือ ฟังชั่น หรือหน่วยที่เราจะตรวจวัด ที่มี ความสมมาตรกันกับค่าธรรมชาติ หรือเรียกว่าฟังชั่นของค่าธรรมชาติ ซึ่งจะเป็นไปในรูปของการทับซ้อน ของ กาลาวกาศ คือ เป็น ค่าของ รูปธรรมองค์รวมอันเกิดจาก อดีต และค่าของรูปธรรมองค์รวมอนาคต ที่ทับซ้อนกันเป็นค่าขององค์รวมปัจจุบันสมมุติ

ซึ่งอาจจะเหมือนดังรูปทรง ของ ไฮเพอร์โบลา ที่ตั้งบนแกนสมมาตรเดียวกัน ซึ่งเป็นแกนหลัก และมี แกนรองในแนวตั้ง วงโค้งทั้งสองด้านซ้ายและขวา ต่างล้ำจากจุดกลางของแกนรองล้ำเลยแกนกลางเข้ามาในแต่ละข้างเหลื่อมทับกัน จุดโฟกัสที่เกิดขึ้นมาใหม่ อันเป็นจุดแห่งดุลยภาพหรือจุดที่สมมาตร ย่อมไม่ใช่จุดที่แกน x และ แกน y ที่ตัดกันในจินตภาพหรือกรอบแนวคิดแบบเดิม หากเป็น การตัดกันที่แกนกลางสมมุติในเชิงจินตภาพที่เป็นนามธรรมของจุดใหม่ที่เกิดขึ้น ของเหตุการณปัจจุบันของอดีตและเหตุการณ์ปัจจุบันของอนาคต และจุดๆนี้ก็คือจุดปัจจุบันสมมุติของปัจจุบันดังภาพ...

การตรวจวัดในทางคณิตศาสตร์ล้วนอยู่บนกรอบและขอบเขตุที่อ้างอิง….เช่นอ้างอิงกับค่าคงที่....และความจริงที่ได้ก็คือการตรวจวัดสิ่งที่หยุดนิ่งอย่างสัมพัทธ์....

เมื่อทุกสิ่งทุกอย่างในจักรวาลมีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา...ไม่มีสิ่งใดหยุดนิ่ง..การตรวจวัดในสิ่งที่เรียกว่าปัจจุบันก็คือการตรวจวัดประมาณการภายใต้ขอบเขตุและกรอบอ้างอิง...ในเวลาที่หยุดนิ่งอย่างสัมพัทธ์...จากผู้สังเกตุหรือวัตถุที่สังเกตุ...

สิ่งต่างๆที่ดำรงอยู่ภายใต้กรอบมิติที่ดำรงอยู่ในที่ว่างและดำเนินไปเป็นความต่อเนื่องของเหตุการณ์....ไม่เพียงแต่มีความต่อเนื่องของเหตุการณ์...หากแต่ว่ายังมีสิ่งที่เรียกว่าความต่อเนื่องของการขาดหายไปแห่งเหตุการณ์ยังดำเนินไปควบคู่กัน.....ภายใต้ข้อจำกัดในการตรวจวัดของมนุษย์....

ค่าจินตภาพปัจจุบันแห่งเหตุการณ์ที่ได้จึงไม่ใช่ค่าจำนวนจินตภาพในแบบเดิมคือ ค่าของการจำลองแบบจากจำนวนจริงของเหตุการณ์ในค่าบวก หรือ การจำลองแบบจำนวนจริงของเหตุการณ์ที่มีทิศทางตรงกันข้ามซึ่งคือค่าลบ การวิเคราะห์ในเชิงเรขาคณิต หรือการหาค่าความน่าจะเป็นไปได้ ก็จะได้เพียงค่าประมาณการของทิศทาง ที่เป็นไปได้ในอนาคตของอดีต หรือทิศทางที่ตำแหน่งแห่งที่ที่มีความเป็นไปได้ของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นของสิ่งที่เรียกว่าปัจจุบันตามความหมายที่เราเข้าใจอันเป็นจุดสมมติแห่งการหยุดนิ่งอย่างสัมพัทธ์....

ตัวอย่างเช่นในวิชาแคลคูลัส ซึ่งถือ ว่า 0 คือจุดวิกฤตหรือจุดที่หาค่าไม่ได้ หรือมีค่าอนันต์ ดังนั้น ฟังชั่น หรือ จินตภาพของการวัดค่าโดยการเปรียบเทียบ ยังมีข้อจำกัดในการแทนค่าใดๆของ 0 ทั้งๆที่ในทางธรรมชาติ มีการดำรงอยู่จริงของสิ่งที่ไม่มี หรือสิ่งที่เราเรียกว่าความว่างเปล่า การดำรงอยู่ของสิ่งที่ไม่มีหรือสิ่งที่เราไม่ทราบค่า แสดงออกคือไม่สามารถหาตำแหน่งแห่งที่ที่แน่นอนได้ เพราะการวัดโดยแทนค่าตัวเลขที่จะแสดงถึงลักษณะของปัจจุบันกาลมันไม่มี หรือถ้าจะมี ก็คือค่าตัวเลขที่ไม่มีการเปรียบเทียบต่อสิ่งใดๆซึ่งมันเป็นไปไม่ได้ในความเป็นจริง

เพราะเราจะรู้ว่ากว้าง หรือยาว ก็โดยการเปรียบเทียบกับสิ่งอื่นหรือเราจะรู้ในทางธรรมชาติอย่างสัมพัทธ์

ดังนั้นเราอาจใช้คณิตศาสตร์ เชิงวิเคราะห์เพื่อตรวจวัดได้ว่า 0 ก็คือที่ว่างที่มีขนาดความกว้าง ยาว ไม่เท่ากัน ตามขอบเขตุของการวิเคราะห์ ปัญหาทางคณิตศาสตร์ปัจจุบัน ก็คือ เราไม่สามารถหาค่า 0 สัมบูรณ์ของธรรมชาติได้ ดังนั้น การวิเคราะห์ หรือตรวจวัด ของเหตุการณ์ สิ่งที่ทำได้ก็คือการตรวจวัดเงื่อนไขของเหตุการณ์ ที่ผ่านไปในอดีตกับเงื่อนไขเชิงจินตภาพของเหตุการณ์แห่งอนาคต โดยมีค่าจุดสมบูรณ์สมมติ ณ. ที่จุดหนึ่งจุดใด ซึ่งจะอยู่ในขอบเขตุของอดีตหรือขอบเขตุของอนาคตก็ได้ เป็นจุดดุลยภาพที่สมมติของเหตุการณ์


คอนตินิวอัม หรือความต่อเนื่องของเหตุการณ์ ยังมีความต่อเนื่องของการขาดหาย ของเหตุการณ์ ที่เราไม่สามารถวัดค่าสัมบูรณ์ได้ จะทราบได้เพียงประมาณการกว้างๆของเงื่อนไขแห่งเหตุการณ์ในการขาดหาย ไปและการบังเกิดที่ต่อเนื่องกันของเหตุการณ์นั้นๆ

เช่นเดียวกันกับ เมื่อเรามองไปบนท้องฟ้าในวันที่อากาศแจ่มใสเราจะเห็นแผ่นฟ้าที่กว้างใหญ่ที่เป็นสีครามอันเหมือนกับที่ว่างของกาลาวกาศ เมื่อเรามองไปยังก้อนเมฆจากจุดที่เราสังเกตุ ที่มีระยะไกล หรือการตรวจวัดแบบกว้างๆก็จะเห็นเป็นกลุ่มก้อนของเมฆ เราหันไปมองด้านอื่นและกลับมามองก้อนเมฆอีกครั้งมันก็เปลี่ยนรูปไปแล้ว

ในขณะที่แต่ละคนเมื่อมองดูก้อนเมฆที่มีอันตรกิริยาต่อความคิดและจินตนาการของแต่ละคนก็ไม่เหมือนกันทั้งรูปแบบและเนื้อหา

ณ. เวลาเดียวกันผู้สังเกตุที่นั่งบนเครื่องบินเปรียบเหมือนกับผู้สังเกตุที่มีเครื่องมือในการวิเคราะห์ที่ลงลึกไปในรายละเอียดในการวิเคราะห์ ผู้สังเกตุที่อยู่บนเครื่องบินจะเห็นเพียงกลุ่มหมอกที่ไม่คงรูปร่างเปลี่ยนแปลงรูปตลอดเวลาล่องลอยอยู่ห่างๆกันไม่เกาะกันเป็นก้อนใหญ่เหมือนผู้สังเกตุที่อยู่ระยะไกลหรือผู้สังเกตุที่มีการตรวจวัดอย่างหยาบๆแม้แต่การตรวจวัดระยะไกลก็เช่นกันเพียงไม่กี่นาทีก้อนเมฆก็มีการเปลี่ยนรูปแล้ว

แน่นอนที่สุดเราไม่สามารถหาค่าอะไรคือปัจจุบันสัมบูรณ์ที่สามารถอ้างอิงได้ทุกกรอบอ้างอิง ไม่ต้องพูดถึงเรื่องความคิดของผู้สังเกตุทั้งสองคนที่อยู่คนละจุด เพราะกระบวนการที่เกิดอันตรกิริยาทางจิตยิ่งมีความแตกต่างกันอย่างมากมายไม่ว่าเรื่องของอารมฌ์ ความรู้สึกต่างๆ และจินตนาการอื่นๆอีกมากมาย

การเกิดขึ้นและการหายไปของเหตุการณ์ใดๆจึงเป็นการเกิดขึ้นและการหายไปของเงื่อนไขต่างๆ สิ่งที่เรียกว่าวัตถุใดวัตถุหนึ่ง ก็คือองค์รวมของเงื่อนไขแห่งเหตุการณ์ หรือองค์รวมแห่งการประกอบกันของเงื่อนไขที่มีดุลยภาพอย่างสัมพัทธ์ในความต่อเนื่องของการดำรงอยู่และการขาดหายไป แห่งการประกอบกันของเงื่อนไขนั้นๆภายใต้กรอบแห่งการสังเกตุที่แตกต่างกันอันประกอบกันเป็นส่วนหนึ่งแห่งเงื่อนไข

ไม่มีความคิดเห็น: