วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2550

กระบวนทัศน์องค์รวมพหุภาพ (2)

กระบวนทัศน์แบบองค์รวมพหุภาพ
ในกรอบอ้างอิง9มิติ ตอนมิติที่5...เงา..(ต่อ)

.............................

สนามแรงเสมือน

ดังได้กล่าวมาแล้วปัจจุบันการตรวจวัดในเชิงประจักษ์นิยม....หรือสิ่งที่เราเรียกว่าวิทยาศาสตร์...ประกอบไปด้วยการตรวจวัดตำแหน่งแห่งที่หรือ สเปก และเวลา หรือภายใต้กรอบอ้างอิงที่เป็นแบบ4 มิติในความต่อเนื่องของเหตุการณ์...และภายใต้4 สนามแรงคือ..สนามแรงแม่เหล็กไฟฟ้า สนามแรงโน้มถ่วง สนามแรงนิวเคลียร์พลังสูงและสนามแรงนิวเคลียร์พลังต่ำ....

และจะถือเอาว่า...สิ่งที่ไม่สามารถตรวจวัดได้ภายใต้กรอบดังกล่าว...เป็นสิ่งที่นอกเหนือฟิสิกส์ หรือเมตาฟิสิกส์ หรืออภิปรัชญาเป็นต้น....ทั้งๆที่ความจริงแล้วมีการดำรงอยู่จริงของสิ่งที่เรียกว่าความต่อเนื่องแห่งการขาดหายไปของเหตุการณ์....อันเกิดจากข้อจำกัดในการรับรู้ของมนุษย์...ที่มีข้อจำกัดในเครื่องมือการตรวจวัดและการคลี่คลายขยายตัวของสิ่งที่สังเกตุจากภายนอก...

ในทฤษฎีวัตถุนิยมวิภาษ และทฤษฎีฟิสิกส์ปัจจุบัน จะอธิบายถึงเอกภาพของด้านตรงข้ามที่ดำรงอยู่....

เอกภาพของด้านตรงข้าม....ที่จริงแล้วก็คือการดำรงอยู่ของความต่อเนื่องแห่งเหตุการณ์และความต่อเนื่องของการขาดหายไปของเหตุการณ์ภายใต้ขอบเขตุอ้างอิงและผู้สังเกตุ....

ในสิ่งที่เราเรียกว่าวัตถุใดๆ...ก็คือการประกอบกันขึ้นของสนามแรงต่างๆดังกล่าว...ขึ้นอยู่กับว่ามีความเข้มข้นแห่งสนามแรงแตกต่างกันอย่างไรเท่านั้น....และแสดงออกอันเป็นคุณภาพขององค์รวมนั้นๆที่แตกต่างจากสิ่งอื่น.....

สิ่งที่เราตรวจวัดหาค่าประมาณการไม่ได้แต่มีการดำรงอยู่มากมายเช่น....ความรัก ความงาม สุนทรียภาพต่างๆ....ความนึกคิด อารมฌ์ เป็นต้น....สิ่งต่างๆเหล่านี้ก่อรูปขึ้นด้วยสนามแรงอะไร...และมีการเคลื่อนที่หรือตำแหน่งแห่งที่อย่างไร....เมื่อเราเจาะกระโหลกศีรษะ...ก็พบแต่ก้อนเนื้อเยื่อเซลล์ของสมอง.....

ในสิ่งที่เรียกว่าความต่อเนื่องแห่งการขาดหายไปของเหตุการณ์ยังมีการดำรงอยู่ของการประกอบกันขึ้นของวัตถุภายใต้สนามแรงอื่นอีกหรือไม่นอกเหนือจากเพียงแค่ 4 สนามแรงที่ใช้อ้างอิงในปัจจุบัน....

ก่อนที่จะต่อจากตอนที่แล้ว....ที่กล่าวถึง...สนามแรงเสมือน.....ผู้เขียนขอทำความเข้าใจในกรอบการคิดเบื้องต้นตามความเข้าใจของผู้เขียนเพิ่มเติมก่อน....เพื่อที่จะได้ทราบว่าที่ผู้เขียนสื่อความหมาย...หมายถึงอะไรบ้าง....

ปรัชญา...เป็นหัวใจแห่งกระบวนแห่งความรู้ทั้งมวลของมนุษย์....เป็นหลักในการคิดการมองปัญหาใดๆ.....

ในปี...ค.ศ.1982หรือปีพ.ศ.2525 ฟริตจอฟ คราปร้า นักฟิสิกส์ชาวออสเตรียได้เขียนหนังสือ...ที่ชื่อว่า The turning point และได้กล่าวว่า กระบวนการคิดของมนุษย์หรือกระบวนทัศน์ในการคิดของมนุษย์บนโลกได้มีการเคลื่อนย้ายกระบวนทัศน์(paradigm shift)จากกระบวนทัศน์แบบกลไก....มาสู่กระบวนทัศน์ของฟิสิกส์แผนใหม่...ที่เป็นแบบองค์รวม..หรือที่เรียกว่า Holistic Paradigm หรือที่เรียกว่ากระบวนทัศน์แบบองค์รวม....มีการแปลเป็นภาษาไทยใช้ชื่อว่า จุดเปลี่ยนแห่งศตวรรษ...ในปีพ.ศ 2529 โดยทีมงาน 4 ท่านคือ พระไพศาล วิสาโล , พระประชา ปสนฺนธมฺโม , สันติสุข โสภณสิริ และ รสนา โตสิตระกูล......


นอกจากนั้นฟริตจอฟ คราปร้า ยังได้เขียนหนังสืออีกเล่มคือ ฟิสิกส์แห่งเต๋า......

คำว่า...กระบวนทัศน์แบบองค์รวม...เป็นการให้ความหมายโดยทีมงานดังกล่าวได้แปลไว้เมื่อ20ปีที่แล้ว.....(ดังได้กล่าวมาจากตอนที่แล้ว)....หลังจากนั้นมา....คำว่ากระบวนทัศน์จึงเป็นที่แพร่หลายกันทั่วไป.....

ทำไมจะต้องมีการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ใหม่....นั่นก็คือ....จะต้องปรับเปลี่ยนปรัชญาในการคิดใหม่.....

ในโอกาสที่ครบรอบ....100 ปี เต็มของการนำเสนอทฤษฎีสัมพัทธภาพของท่านอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ และครบรอบ 120 ปีเต็มของนักฟิสิกส์ผู้ยิ่งใหญ่ชาวเดนมาร์ก อีกท่านคือ นิลส์ บอร์ห ( 1885-1962)

2 ท่านผู้เปิดพรมแดนการรับรู้ด้านฟิสิกส์ให้กับมนุษยชาติ....และปรัชญาแห่งการคิด...แบบเอกลักษณะ และทวิลักษณะ....ตราบจนถึงฟิสิกส์ ควอนตัม....อนันตลักษณะ ( holographic)....และกระบวนทัศน์แห่งองค์รวมปัจจุบัน....

ในการอธิบายถึง.....เหตุภาพ ( causality ) หรือเหตุและผลแห่งการเกิดขึ้นของปรากฎการณ์ต่างๆ.....จำแนกออกเป็น 2 แนวคิดใหญ่....คือ....

แนวคิดแรก...เห็นว่าสามารถวัดค่าหาความแน่นอนได้....เช่นจากสถิติ...ข้อมูล...ด้วยหลักแห่งความแน่นอน

อีกแนวคิด.....เห็นว่าไม่สามารถวัดค่าที่แน่นอนได้....อันเนื่องจากข้อจำกัดต่างๆในการทำความเข้าใจ....วัตถุที่มีลักษณะของการประกอบกันเป็นความสมบูรณ์โดยสิ่งตรงข้าม(complementarity)หรือเอกภาพของด้านตรงข้ามที่ประกอบกันขึ้นเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด.....การตรวจวัดใดๆจะไม่เป็นรูปเดียวกัน....หากแต่เสริมความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น.....หรือหลักแห่งความไม่แน่นอน....

จากอดีต....ปรัชญาจีน..และของทางตะวันออกได้อธิบายถึงเอกภาพของด้านตรงข้ามที่ดำรงอยู่ในวัตถุ....เช่นหยินและหยาง....ปรัชญาของพุทธ จะอธิบายถึง...อนัตตา...ความไม่มีตัวตนหรือลักษณะของ....อนันตลักษณ์....

ในการดัดแปลงทางธรรมชาติของมนุษย์เพื่อการดำรงชีวิตอยู่ของมนุษย์....และ เพื่อที่จะตรวจวัดค่าประมาณการให้ได้ใกล้เคียงความเป็นจริงอย่างสัมพัทธ์....จึงเกิดการสังเกตุทดลองค้นคว้าในกระบวนการผลิตต่างๆ.....และมีกรอบแห่งการคิด...เพื่อหาค่าประมาณการภายใต้กรอบแห่ง 4มิติ ดังกล่าว....

การขยายกรอบอ้างอิง....ที่ผู้เขียนได้นำเสนอมาเพื่อเพิ่มเติมหรือขยายกรอบมิติ....ในการประมาณการ....ไม่ได้หมายความว่า....ผู้เขียนมีปรัชญาที่เชื่อว่าสามารถตรวจวัดความแน่นอนของสรรพสิ่งได้.....หากแต่ว่าผู้เขียนเชื่อว่ามีกรอบแห่งมิติ...ที่มนุษย์ยังไม่ได้รับรู้ ณ.เวลาปัจจุบัน... นั้นมีมากมายจนนับไม่ได้เป็นอนันต์.....มิติที่นำเสนอเพิ่มเติม....เพื่อขยายกรอบการรับรู้แบบสัมพัทธ์....อันได้แก่.....มิติที่5เงา...มิติที่6วงแหวน....มิติที่7 การทับซ้อน มิติที่8 การเหลื่อมทับของเวลา มิติที่9 องค์รวมพหุภาพ.....เป็นต้น...

เป็นการแยกย่อยเพื่อให้เห็นความแตกต่างเท่านั้น......แต่ที่จริงแล้ว....หลักการคิดก็คือ....มิติแห่งองค์รวมพหุภาพของสรรพสิ่ง....ที่มีลักษณะสัมบูรณ์และสัมพัทธ์....ภายใต้กรอบอ้างอิง...ดังนั้นถึงจะแยกย่อยเป็นล้านล้านมิติ.....กรอบแห่งเหตุภาพ เพื่อหาค่าประมาณการ ก็ต้องถือเอากรอบสุดท้ายคือ องค์รวมพหุภาพ....เป็นการวัดค่าประมาณการ อยู่ดี....


ความหมายของคำว่า....สัมพัทธ์....และสัมบูรณ์...

สัมพัทธ์ และสัมบูรณ์ ผู้เขียนหมายถึง....ความเป็นจริงภายใต้กรอบเงื่อนไข...และกรอบแห่งการสังเกตุ....
ความแตกต่าง....ระหว่างสัมบูรณ์ และสัมพัทธ์ ต่างกันตรงที่กรอบอ้างอิงที่มีขอบเขตขนาด...ที่แตกต่างกัน...เช่น....
1+1 = 2 เป็น ความเป็นจริงที่ สัมบูรณ์ ภายใต้กรอบและขอบเขตุที่ผู้สังเกตุต้องการหาค่า ที่เต็มหน่วยของการแทนค่าทางคณิตศาสตร์ ของเลขฐาน 10 ......ความเป็นจริงที่ได้คำตอบว่าเลข 2 หาใช่ความสัมบูรณ์ใดๆ....ที่จะอธิบายได้ในทุกกรอบอ้างอิง...

ในคำตอบของ 1+1 เราจะได้คำตอบหลายล้านคำตอบ....จนถึงอนันต์......ค่า 2 หรือตัวเลข เต็มหน่วยของ ฐาน 10 จึงเป็นความจริงอย่างสัมพัทธ์....ภายใต้กรอบอ้างอิงหรือขอบเขตุที่แตกต่างกัน.....ดังนั้น ค่าตัวเลข 2 ที่ได้จะไม่เป็นจริงอย่างสัมบูรณ์และเป็นจริงอย่างสัมพัทธ์เมื่อ กรอบและขอบเขตุที่เปลี่ยนแปลงไป.....เช่นกรอบตัวเลขฐานใดๆฐานหนึ่งที่ผู้สังเกตุต้องการคำตอบ....ในกรอบนี้คำตอบที่ว่าผลรับเท่ากับ..2...จึงเป็นความจริงอย่างสัมพัทธ์....
พระอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก....เป็นความเชื่อที่ยืนยันว่าเป็นความจริงอย่างสัมบูรณ์ของมนุษย์โลก....แต่ก็เป็นความจริงอย่างสัมพัทธ์....เมื่อมองจากผู้สังเกตุอื่นที่อยู่นอกโลก....ความจริงที่ว่าพระอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกจึงเป็นความจริงอย่างสัมพัทธ์ในขอบเขตุแห่งการสังเกตุที่ต่างออกไป.... แต่เป็นความจริงอย่างสัมบูรณ์ในความเชื่อทั่วไปของมนุษย์โลก....

สัจจธรรมสัมบูรณ์ และสัจจธรรมสัมพัทธ์ ใดๆ......จึงเป็นเพียงค่าประมาณการภายใต้กรอบขอบเขตุ...และอันตรกิริยาระหว่างการแปรเปลี่ยนไปของสิ่งภายนอกกับผู้สังเกตุ.....ต่อสิ่งนั้นๆ.....

กล่าวถึงที่สุดแล้วสิ่งที่มนุษย์ยึดมั่นถือมั่นล้วนแล้วก็คือ...อนัตตา...แห่งสัจจธรรม..



การหมุนของวัตถุและสนามแรงเสมือน


สนามแรงเสมือน....ก็คือสนามแรงใดๆ...อันเกิดจากอันตรกิริยาระหว่างวัตถุกับสิ่งที่อยู่ภายนอก....ตัวอย่างเช่น...ถ้าเปรียบโมเลกุลของน้ำหรือผืนน้ำเสมือนสนามแรงต่างๆที่เกาะเกี่ยวกัน....

ในขณะที่วัตถุเคลื่อนที่ไปด้วยความเร็วคงที่บนผืนน้ำนั้น จะทำให้เกิดการก่อรูปขึ้นมาใหม่ในการเคลื่อนที่ของสนามแรงเช่นกัน.....

ตัวอย่างเช่นบนแผ่นน้ำที่สงบ เมื่อเรานำเอาเรือหรือวัตถุเล็กๆลากไปด้วยความเร็วที่สม่ำเสมอเราก็จะเห็นคลื่นของผิวน้ำม้วนตัวเป็นวงกลม2 วงที่ข้างหลังวัตถุเคลื่อนที่โดยแยกออกจากวัตถุที่ผ่าน มีทิศทางการหมุนเข้าสู่ศูนย์กลางยังแกนสมมติที่ตรงข้ามกัน คือทวนเข็มนาฬิกา และตามเข็มนาฬิกา พลังงานที่เกิดจากแรงต้านของผิวน้ำที่มีต่อการเคลื่อนที่ของวัตถุ แผ่กระจายเป็นพลังงานที่ดึงผิวน้ำเข้าสู่ศูนย์กลางไว้ที่เบื้องหลังของวัตถุที่ผ่าน.....

เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจน....เราก็เอาผงฝุ่นไม้ใบไม้ที่มีน้ำหนักเบา...โรยไว้...อันเปรียบเสมือนสนามแรงแม่เหล็กไฟฟ้า.....โดยมีผืนน้ำที่เสมือนแรงนิวเคลียร์พลังสูงและนิวเคลียร์พลังต่ำ...

ขณะเดียวกัน ในบริเวณตอนกลางด้านหลังของวัตถุก็เป็นเสมือนสนามแรงโน้มถ่วง
ผิวน้ำและใบไม้.ที่อยู่ใกล้ๆกับวัตถุที่เคลื่อนที่จะเคลื่อนที่ตามไปด้วยแรงดึงดูด......
พร้อมๆกับการเกิดขึ้นของวงแหวนพลังงาน 2วงดังกล่าวทิ้งไว้เบื้องหลัง.....

วงแหวนที่ขดตัวของสนามแรงที่อยู่เบื้องหลังทั้งสองวง....จึงเป็นการก่อรูปของสนามแรงใหม่ที่เกิดขึ้น..จากอันตรกิริยา....โดยมีทิศทางการหมุนเป็น2วงในทิศทางที่ตรงกันข้าม....อันม้วนตัวเข้าสู่ศูนย์กลาง.....

การกำหนดขอบเขตในการวิเคราะห์...ก็จะทำให้เราเห็นถึง....ทวิลักษณะที่เกิดขึ้น....

เมื่อวัตถุได้ถ่ายเทพลังงานออกเพื่อใช้ในการเคลื่อนที่...
ด้วยพลังงานที่ใช้ออกไปอย่างสม่ำเสมอ....และมีมากกว่าแรงที่ต้าน...จึงทำให้เกิดการเคลื่อนที่ไป.....
เมื่อแรงต้านจากภายนอกที่มีเหนือกว่า.....ก็จะทำให้เกิดการปรับดุลยภาพของแรง....ด้วยการหมุน...หรืออาจหยุดนิ่งอย่างสัมพัทธ์ตามขนาดของแรงที่มากระทำ.....

ในเทหะวัตถุเช่นโลก ที่มีการเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่(เมื่อเทียบเวลาชีวิตมนุษย์ ถือว่าคงที่ เช่นอาจเปลี่ยนแปลงใน พันปี,หมื่นปี เป็นต้น) โดยมีแกนสมมติที่แกนกลางของดวงอาทิตย์ การเพิ่มขึ้นหรือลดลงของมวลพลังงานของดาวทั้งสองต้องใช้เวลานาน เมื่อเทียบเวลาชีวิตมนุษย์ ผู้สังเกตุ เลยถือว่าไม่มีความเร่งใดๆ และมีมวลพลังงานคงที่

จากข้อสมมติฐานที่ว่านี้ เราจะเห็นได้ว่า การส่งผ่านมวลพลังงานของดวงอาทิตย์ผ่านสนามแรงต่างๆมายังขอบเขตุเส้นแรงของสนามแรงโน้มถ่วงเสมือนที่คงที่ตรึงให้โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์ ในขณะที่โลกเอง ก็มีการหมุนรอบตัวเองตลอดเวลาเพื่อปรับดุลยภาพของแรงที่กระทำ ซึ่งจะทำให้แรงที่ดึงโลกเข้าสู่จุดศูนย์กลางของดวงอาทิตย์มีค่าเท่ากับแรงที่หนีจากจุดศูนย์กลางของโลก กลุ่มแก๊สของมวลพลังงาน หรือดวงอาทิตย์ ที่เกิดจากการระเบิดของปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ จะมีการขยายตัวพองตัวออกตลอดเวลา ตามมวลพลังงานที่ลดลง ก่อนที่จะยุบตัวกลายเป็นหลุมดำในที่สุดจะมีแรงดึงดูดสูงเพื่อดึงดูดมวลพลังงานในจักรวาลอันเป็นการปรับดุลยภาพของระบบและในเมื่อมีการสะสมพลังงานไปเรื่อยๆในที่สุดก็อาจมีการระเบิดขึ้นมาอีกครั้ง อันเป็นการเริ่มต้นชีวิตของระบบสุริยะในขอบเขตุใหม่ ที่กล่าวมานี้คงต้องใช้เวลาหลายล้านๆปี

มวลพลังงานจำนวนมหาศาลที่เกิดจากการระเบิดของดวงอาทิตย์ก่อให้เกิดคลื่นอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าเหล่านี้กระจายออกไปในระบบสุริยะ ในขณะที่โลกมีการดูดกลืนพลังงานเหล่านี้ พร้อมๆกับ มีการแผ่กระจายมวลพลังงานที่เกิดการระเบิดภายในแกนกลางโลกที่ยังไม่เย็นตัว ผ่านพื้นผิวไปยังภายนอก อันเป็น การปรับดุลยภาพของโลกในสนามแรงแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีการดึงดูดและการผลักกันและมีผลต่อการหมุนของโลกเพื่อรักษาสถานภาพเสถียร หรือให้เกิดดุลยภาพ

กล่าวในขอบเขตุของโลกที่อยู่ในระบบสุริยะ ถือว่าอยู่ในระบบปิดของระบบสุริยะ มวลพลังงานที่มีอันตรกิริยา กันของโลก กับดวงอาทิตย์ และดาวเคราะห์อื่นๆที่เป็นดาวบริวารของระบบสุริยะ ประกอบกันขึ้นเป็นสนามแรงต่างๆที่ผสมผสานเชื่อมโยงและยึดเหนี่ยวกันอย่างเป็นเอกภาพ

มวลพลังงานอันมหาศาลที่เกิดจาก ปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ ที่ระเบิดขึ้นบนดวงอาทิตย์ และถ่ายเทมายังสนามแรงในระบบสุริยะทำให้เกิดการหมุนรอบตัวเองของดาวเคราะห์ และการหมุนรอบดวงอาทิตย์ที่ระบบสุริยะยังถูกตรึงไว้ด้วยสนามแรงของกาแลกซี่ทางช้างเผือก
ตัวอย่างเช่นเราเอาถังน้ำมาและเปิดน้ำ เข้าไปในถังด้วยปริมาณที่คงที่ แรงที่น้ำเข้าไปในถัง ก็เช่นเดียวกับแรงระเบิดของดวงอาทิตย์ ที่มีอยู่ทุกวัน ในขณะที่ ส่วนที่ประกอบขึ้นเป็นถัง ก็เปรียบเหมือนขอบเขตุสนามแรงของกาแลกซี่ ภายในถังก็คือระบบปิดของระบบสุริยะ เมื่อเราเอาขัน ใส่ลงไปในถัง ขันก็เปรียบเหมือนกับโลก หรือ ดาวพระเคราะห์ น้ำที่อยู่ในถังก็เปรียบเหมือนสนามแรงที่ประกอบกันขึ้น เราจะเห็นว่า น้ำจะหมุนวน และขันที่ลอยอยู่ก็จะหมุนรอบตัวเอง

การหมุนทำให้เกิดดุลยภาพของสนามแรง
มีข้อสันนิษฐานดังนี้

1. อิเล็กตรอนในอะตอม มีการหมุนรอบตัวเองด้วยความเร็วสูงและมีการ เปลี่ยนชั้นวงโคจรของตนเองขณะได้รับพลังงานเพิ่มขึ้นหรือลดลง ในขณะเดียวกันก็มีการปรับเปลี่ยนชั้นของวงโคจรรอบนิวเคลียสด้วย
2. อิเล็กตรอน ที่อยู่วงในที่ใกล้นิวเคลียส จากแนวคิดการจัดระดับพลังงาน(Energy levels)ตามทฤษฎีควอนตัมที่สรุปว่า อิเล็กตรอน วงในมีพลังงานต่ำสุดนั้น ย่อมหมายความว่า อิเล็กตรอน วงในมีการดูดกลืนพลังงานจากนิวเคลียสได้มากที่สุด และรักษาดุลยภาพของพลังงานด้วยการหมุน ที่มีการหมุนรอบตัวเองด้วยความเร็วสูง และหมุนรอบนิวเคลียส ด้วยความเร็วสูงกว่าวงถัดมา เพื่อรักษาดุลยภาพของแรง
ดังนั้น พลังงานในการหมุนรอบตัวเองของ อิเล็กตรอน + พลังงานในการหมุนรอบนิวเคลียสของอิเล็กตรอน มีค่าเท่ากับ พลังงานการหมุนรอบตัวเองของนิวเคลียส
3. นิวเคลียส ย่อมมีการหมุนรอบตัวเองด้วยความเร็วสูง ทั้งนี้เนื่องจากในขณะที่อิเล็กตรอนหมุนรอบตัวเองด้วยความเร็วสูง มีผลทำให้มวลเล็กลง นิวเคลียสซึ่งมีประจุบวกของโปรตรอน และ สภาวะที่เป็นกลางของนิวตรอน ก็ย่อมหมุนไปด้วยเช่นกันทั้งนี้เนื่องจากถ้าไม่มีการหมุนรอบตัวเองของนิวเคลียสย่อมไม่เกิดแรงดึงดูดเข้าสู่จุดศูนย์กลาง และความต่างศักดาไฟฟ้าที่สูงขึ้นหรือลดลง แม้ว่านิวเคลียสจะมีมวลมากกว่าอิเล็กตรอนเกือบ 4 พันเท่า ( คำอธิบายเช่นนี้อาจแตกต่างจากกฎอนุรักษ์พลังงานจลน์ของอนุภาค หรือการอธิบายถึงแรงนิวเคลียร์พิสัยสั้นในปัจจุบัน )
4.จากแบบจำลองของ Niels Bohr ได้อธิบายถึง อิเล็กตรอนใน
สภาวะ Ground State เมื่อมีการเพิ่มพลังงาน อิเล็กตรอนจะเกิดภาวะ Excited State
และจะวิ่งไกลออกจากนิวเคลียส และกลับเข้าสู่วงโคจรเดิมเมื่อคลายพลังงาน กับแนวคิด energy levels ของทฤษฎีควอนตัม ที่ได้ข้อสรุปว่าอิเล็กตรอนวงในมีพลังงานต่ำสุด(จากการทดลองเพิ่มพลังงานเข้าไปในอะตอมของไฮโดรเจน ที่มีอิเล็กตรอนตัวเดียว ) มีข้อสันนิษฐานดังนี้ เมื่อมีการเพิ่มพลังงานเข้าไปในอะตอมของไฮโดรเจน แกนกลางของอะตอม หรือนิวเคลียส ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าอิเล็กตรอนร่วม4พันเท่าย่อมจะดูดกลืนพลังงานเข้าไป ศักยภาพที่ได้รับเพิ่มสูงขึ้นย่อมมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงต่อโครงสร้างของแรงยึดเหนี่ยวต่างๆของนิวเคลียส และมีผลให้นิวเคลียสเกิดการหมุนด้วยความเร็วสูงเพื่อถ่ายเทพลังงานออกมา และมีผลต่อการกระตุ้น หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงต่อการหมุนของอิเล็กตรอน
ในการหมุนของนิวเคลียสด้วยความเร็วสูงขึ้นก็ทำให้การรักษาขนาดของมวลให้มีขนาดที่คงที่ โดยพลังงานส่วนที่เกินได้เปลี่ยนไปในรูปของการหมุน โดยกระบวนการปรับดุลยภาพดังกล่าวนี้ ในการหมุนด้วยความเร็วสูงย่อมมีผลต่อมวลพลังงานของนิวเคลียส กล่าวคือ มีการเพิ่มขึ้นและลดลงของประจุบวกในโปรตอน และการเพิ่มขึ้นและลดลงของประจุลบของแอนตี้โปรตอน ขณะเดียวกัน นิวตรอน ซึ่งอยู่ในสภาวะของความเป็นกลางก็ได้รับการกระตุ้นเช่นกัน การกระตุ้นที่ว่านี้ จะทำให้เกิด สภาวะแอนตี้นิวตรอน หรือการสูญเสียความเป็นกลางของนิวตรอนในบางส่วนตามลักษณะพลังงานที่ได้รับจากภายนอก การเกิดแอนตี้โปรตอน ซึ่งเป็นประจุลบมีผลทำให้เกิดการผลักกันกับประจุลบของอิเล็กตรอน อันมีผลต่อการปรับเปลี่ยนวงโคจรของอิเล็กตรอน และมีการปรับดุลยภาพที่อิเล็กตรอนคาย พลังงานออกมาในรูป โฟตอน เพื่อกลับคืนสู่สถานะภาพเดิม
5. แรงนิวเคลียร์พลังสูงที่ยึดเหนียวนิวเคลียส ของอะตอม หรือแรงนิวเคลียร์พลังสูงที่มีพิสัยสั้น น่าจะเกิดจากการหมุนของนิวเคลียสที่มีความเร็วสูงมากหลายล้านรอบต่อวินาทีหรือเท่ากับความเร็วสูงสุดคือความเร็วแสง รวมทั้งการหมุนที่มีความเร็วสูงมากของอิเล็กตรอน จนทำให้อะตอมของนิวเคลียสอัดแน่น โดยมีการรักษาดุลยภาพ โดยวิธีการดูดกลืน การแผ่รังสี รวมทั้งมีการถ่ายเทมวลพลังงานออกมาในรูปของการเกิดขึ้นของอนุภาคใหม่ภายใต้พลังงานที่เหมาะสม เพื่อรักษาเสถียรภาพของโครงสร้างโดยรวมของระบบ เช่นในอะตอมของไนโตรเจน ซึ่งมีโปรตอน7 ตัว และมีประจุบวกซึ่งจะต้องผลักกัน และมีนิวตรอนอีก7ตัว ถ้ามีการหมุนด้วยความเร็วสูงของนิวเคลียส ก็ย่อมสามารถที่จะทำให้เกิดการยึดกันของอนุภาคอย่างมีดุลยภาพได้ ขณะที่มีการหมุนที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง มีผลต่อการเพิ่มหรือลดของมวลพลังงาน การเกิดขึ้นของอนุภาคที่มีลักษณะตรงข้ามเช่น แอนตี้โปรตอน และ ภาวะแอนตี้ นิวตรอนในอิเล็กตรอนเช่นกัน การเกิดอนุภาคโฟสิตรอนที่มีประจุบวกของอิเล็กตรอน ในปรากฏการณ์โฟโต้เอฟเฟค เป็นต้น
6. การหมุนทำให้เกิด ความเหลื่อม หรือวงแหวนออกมา เช่น โคโรน่าของดวงอาทิตย์ ที่มีระยะห่างจากดวงอาทิตย์หลายล้านไมล์ เป็นบริเวณที่มีการแผ่รังสีและสนามแม่เหล็กไฟฟ้าสูงมากกว่าบริเวณพื้นผิว วงแหวนดาวเสาร์ ,ดาวพฤหัส ,ชั้นบรรยากาศโลก เป็นต้น
การถ่ายเทพลังงานศักย์ที่เกินดุลยภาพของระบบจะแสดงออกด้วยการหมุน เพื่อรักษาสภาวะเสถียรของระบบ การยิงประจุนิวตรอนที่มีความเป็นกลางเข้าไปยังแกนกลางของไอโซโทปยูเรเนียม ให้เกิดการแตกตัวของอะตอมและเกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ ของปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ ที่ให้พลังงานออกมามหาศาล จะเห็นได้ว่า การกระเด็นหลุดออกไปของ อนุภาคเพียงไม่กี่ตัวนั้น ก่อให้เกิดพลังงานมหาศาลที่ออกมาในรูปแบบต่างๆทั้งแสง สี เสียง และความร้อน ดังสมการของไอน์สไตน์ พลังงานศักย์ที่ดำรงอยู่ของอะตอมย่อมประกอบไปด้วยพลังงานแห่งการหมุนด้วยความเร็วสูงของอะตอมในการรักษาดุลยภาพและในการหมุนของแกนกลางด้วยความเร็วสูงหรือมีระยะทางการเคลื่อนที่ที่มีระยะทางสูงสุด เท่ากับระยะทางที่แสงเดินทางใน1วินาที

7.ในกรอบเฉื่อยเราย่อมหาค่าประมาณการทางคณิตศาสตร์ของการหมุนที่คงที่ ในแกนกลางของอะตอมที่เป็นค่าตัวเลขของมวลพลังงานที่แตกต่างกันอันแสดงออกของอนุภาคแต่ละชนิดที่มีศักยภาพทางพลังงานแตกต่างกัน


การหมุนในหน่วยชีวภาพและทางสังคม

วัฎจักร และวงจรชีวิต หนึ่งๆของ มวลชีวภาพ และสังคมก็คือการแสดงออกของการหมุน ที่มีแกน สมมุติ หรือแกนของพัฒนาการ ในรูปเกลียวที่มีขนาดกว้างขึ้นและมีความสูงขึ้น หรือในทางตรงข้ามก็เช่นกัน เป็นรูปกรวย ที่มีส่วนแหลมชนกัน ดังภาพ

การหมุนของหน่วยชีวภาพและทางสังคมก็คือการรักษาสภาวะเสถียร ของหน่วยนั้นๆให้คงอยู่ภายใต้การเปลี่ยนแปลงของภายนอกที่มีการเคลื่อนที่ไป การปรับตัวก็เพื่อรักษาดุลยภาพของระบบให้คงอยู่ แม้แต่การผ่าเหล่า(mutation) ก็เช่นกันก็เพื่อรักษาสถานภาพเดิมที่มีอยู่ รอบในการหมุน หรือวัฎจักรวงจรชีวิต ของหน่วยชีวภาพ และทางสังคม เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของภายนอกหรือมีแรงกระทำจากภายนอกที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง ย่อมมีผลต่อการหมุนที่เร็วขึ้นหรือช้าลง ของมวลชีวภาพและสังคม

ในทางสังคมเช่นการล่มสลายของสังคมแบบต่างๆ หลังมีการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมต่างๆที่เกิดขึ้นทั้งจากทางธรรมชาติและจากมนุษย์ในสังคมที่มีอันตรกิริยาต่อกัน รูปแบบการปรับดุลยภาพของการหมุนให้เพิ่มขึ้นหรือลดลงในทางสังคม เช่น แนวทาง นโยบาย รัฐ ที่มีการปรับเปลี่ยน การปรับปรุงกระบวนการคิดเป็นต้น อันเป็นการปรับปรุงให้มีรอบของการหมุนที่ได้ดุลยภาพกับภายนอกที่เปลี่ยนแปลงไป หรือมีการถ่ายเท ของ พลังงานศักย์ที่สะสมอยู่ ให้เกิดดุลยภาพ

ไม่มีความคิดเห็น: