วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2550

กระบวนทัศน์องค์รวมพหุภาพในกรอบอ้างอิง9มิติ(12)

ความหมายของคำว่าทุน


ทุน ได้มีการให้ความหมายของคำว่า ทุนในปัจจุบัน เป็น 2 แนวคิดใหญ่ๆ

คือ แนวคิด แนวคิดของนักเศรษฐศาสตร์ แบบเสรีนิยม จะให้ความหมายที่ครอบคลุมไปทั้งหมด คือหมายถึงทรัพยากร ต่างๆรวมทั้งทรัพยากรมนุษย์ที่มีการนำใช้ในกระบวนการผลิต,การแลกเปลี่ยนสินค้า

ในขณะที่แนวคิดของนักเศรษฐศาสตร์แบบมาร์กซิสต์ จะให้ความหมายของคำว่าทุน ก็คือ ผลอันเกิดจากแรงงานของมนุษย์ในการดำเนินการผลิต และผลจากแรงงานส่วนเกิน ที่ก่อให้เกิดมูลค่าส่วนเกินได้กลายมาเป็นทุนหรือเครื่องมือในการดำเนินการผลิตและก่อเกิดยุคทุนนิยม

สำหรับความหมายของคำว่าทุน ในที่นี้ หมายถึงคุณสมบัติที่ดำรงอยู่ในตัวมนุษย์ ที่แสดงออกถึงการสั่งสมไว้ทางศักยภาพอันประกอบเป็นองค์รวมพหุภาพของมนุษย์ ที่ทำให้เกิดความแตกต่างของมนุษย์แต่ละคนที่ไม่เหมือนกัน

การแสดงออกของทุน ก็คือกระบวนการที่มนุษย์ มีอันตรกิริยา กับ สิ่งอื่นที่อยู่นอกตัวมนุษย์ เช่นระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ ,มนุษย์ กับธรรมชาติ ภายใต้การดูดกลืน และการแผ่กระจายออกในการปรับดุลยภาพในความแตกต่างทางศักยภาพก็คือการแลกเปลี่ยนทุน

การกำเนิดของทุน มาจากความแตกต่างทางศักยภาพ ของมนุษย์ กล่าวคือในยุคบรรพกาล เมื่อมนุษย์มีการอยู่กันเป็นสังคมชุมชนแบบบรรพกาล ความแตกต่างทางกายภาพเช่นความแข็งแรง หรือความเชี่ยวชาญในการสังเกตุ , ทักษะ ประสบการณ์, ได้ก่อรูปให้เกิดการ แลกเปลี่ยนทางศักยภาพ
ผู้มีทุนทางศักยภาพสูงสุดและศักยภาพนั้นๆเป็นที่ยอมรับของสังคมนั้นหรืออยู่บนพื้นฐานของความต้องการของชุมชนนั้นๆก็ได้รับการยอมรับเป็นผู้นำ หรือเป็น กลไกกลาง ที่จะไกล่เกลี่ย และให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางศักยภาพที่เกิดดุลยภาพในชุมชนนั้นๆ และเป็นระบบแรกเริ่มของระบบกลางของการประเมินคุณค่าแลกเปลี่ยน รวมทั้งเป็นจุดเริ่มต้นของ กระบวนการแห่งอำนาจรัฐของชุมชน หรือระบบกลางในการแลกเปลี่ยนศักยภาพในทางการเมือง,วัฒนธรรม และสังคม

รัฐแห่งชุมชนบรรพกาลได้ก่อรูปการจิตสำนึกขึ้นมาบนพื้นฐานการประเมินคุณค่าของศักยภาพ ในทางจิตวิญญาณ และศักยภาพในทางวัตถุ จากที่มีรูปการจิตสำนึกทางสังคมแบบแบ่งปันกันที่มีดุลยภาพ ก็เริ่ม มี อภิสิทธิ์ ต่างๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนไปจากการขาดดุลยภาพของระบบกลางในการประเมินคุณค่าต่อศักยภาพของสิ่งต่างๆ

เมื่อสังคมได้ขยายใหญ่ขึ้นระบบกลไกกลางแห่งการแลกเปลี่ยนศักยภาพทุนไม่ได้รับการปรับตัวให้เกิดดุลยภาพ เช่นการแลกเปลี่ยนที่ไม่เป็นธรรม,ความไม่เท่าเทียมกันด้านต่างๆ ประกอบกับ มีการรุกรานซึ่งกันและกันของชุมชน รวมทั้งการรับรู้ ระหว่างชุมชน กับชุมชน ทำให้เกิดการเปรียบเทียบ อันก่อให้เกิดการรวมตัวและการแยกตัวของชุมชน

ทุน ได้มีการนำใช้ นับแต่มนุษย์ เริ่มอยู่กันเป็นสังคม หรือแม้แต่ดำรงชีพอยู่อย่างโดดเดี่ยว ก็ยังต้องใช้ทุนทางปัญญาหรือทุนที่เกิดจากการสั่งสมทางประสบการณ์ ที่รวมไปถึงความคิดจินตนาการ ในการใช้ทุนเหล่านี้เพื่อต่อสู้ในการดำรงชีวิตอยู่กับสภาพแวดล้อมธรรมชาติ

ชุมชนบรรพกาลหรือตามแนวคิดของสำนักมาร์กซิสต์ ที่อธิบายว่าเป็นสังคมคอมมิวนิสต์บรรพกาล ที่มีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน นั้น ที่จริงแล้ว ไม่ได้เป็นเช่นนั้น ความแตกต่างทางศักยภาพของมนุษย์ยังดำรงอยู่ ระบบกลางของการไกล่เกลี่ยหรือแลกเปลี่ยนศักยภาพที่จะต้องไม่เท่าเทียมกัน เช่นความรัก ความผูกพัน ของครอบครัวหนึ่งๆย่อมไม่เท่ากัน ,กิเลส,ความเห็นแก่ตัวของมนุษย์ที่มีความแตกต่างกันก็ยังมีอยู่ ซึ่งก็คือมีการดำรงอยู่ของรูปการอันก่อให้เกิดอภิสิทธิ์ที่ไม่เท่าเทียมกัน

การวิเคราะห์ว่าเป็นสังคมที่ไม่มีชนชั้น คือเป็นสังคมที่มีความเสมอภาคเท่าเทียมกันคงไม่เป็นความจริง ทั้งนี้เนื่องจากความเป็นจริงในทางธรรมชาติที่ไม่มีสิ่งใดๆเท่าเทียมกันอยู่แล้วอย่างสัมบูรณ์

สิ่งที่เรียกว่าความเสมอภาคก็คือกระบวนการภายใต้กรอบแห่งการแลกเปลี่ยนหรือกระบวนการของอันตรกิริยาที่มีดุลยภาพภายใต้การเคลื่อนที่ ดังนั้นย่อมไม่มีสิ่งที่สัมบูรณ์ของความเสมอภาคหรือความเท่าเทียมของชนชั้นสิ่งที่เท่าเทียมอย่างสัมพัทธ์ของมนุษย์ก็คือ การเกิดการแลกเปลี่ยนที่มีดุลยภาพภายใต้การเคลื่อนที่ของศักยภาพที่แตกต่างกันของมนุษย์

เมื่อสังคมพัฒนาไป ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นกลไกของระบบเริ่มมีความซับซ้อนสูงขึ้น มีการสร้างระบบกลางการแลกเปลี่ยนดุลยภาพที่เข้มแข็งขึ้น การใช้สิ่งของหาได้ยากมาแลกเปลี่ยนไปสู่ระบบการใช้เงินตราแลกเปลี่ยน และ ภายใต้การพัฒนาไปของรูปการจิตสำนึกในทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป จากชุมชนเดี่ยวๆ กลายเป็นหลายๆชุมชน และเป็นรัฐ

การขยายตัวทางศักยภาพ จากบุคคล มาเป็นกลุ่มบุคคล กลุ่มสังคม และกลุ่มระบอบรัฐ โดยมีการรวมตัวของกลุ่มคนหรือตัวแทนของกลุ่มที่มีศักยภาพสูงกว่า กลุ่มบุคคลอื่น ทำหน้าที่ควบคุมกลไกกลางการแลกเปลี่ยนทางศักยภาพของคนในสังคม อันได้แก่กลไกทางการผลิต,กลไกการป้องกันและการรักษาตนเอง, กลไกทางจิตวิญญาณต่างๆ อันก่อเป็นรูปการจิตสำนึกในสังคมนั้นๆ

การพัฒนาทางเทคโนโลยีในการผลิตที่ล้าหลังที่ต้องพึ่งพาอาศัยแรงงานจากมนุษย์ เป็นหลัก ภายใต้การแย่งชิงทรัพยากรและผลผลิตต่างๆระหว่างรัฐกับรัฐเพื่อสร้างความมั่งคั่ง หรือการเสริมสร้างศักยภาพให้กับรัฐของตนเอง

แรงงานมนุษย์หรือทุนทางศักยภาพของมนุษย์ทั้งทางกายภาพและทางปัญญาจิตวิญญาณ ได้ถูก กลุ่มที่มีอำนาจในการควบคุมกลไกกลางของรัฐ นำมาแลกเปลี่ยนเป็นสินค้า และมีการเกิดขึ้นของตลาดซื้อขายมนุษย์ที่เป็นไปอย่างกว้างขวาง และเข้าสู่ยุคสังคมทาส
การขาดดุลยภาพ ทางกลไกกลางของสังคมเป็นไปอย่างรุนแรงจนในที่สุดเกิดการลุกฮือของทาส และก่อให้เกิดการปรับดุลยภาพทางสังคมใหม่ของกลไกกลาง พร้อมๆกับ ความก้าวหน้าขึ้นของเทคโนโลยีการผลิต กลุ่มชนชั้นนำในสังคมต้องมีการปรับเปลี่ยนกลไกกลางใหม่ เป็นในรูปของ การแลกเปลี่ยนผลผลิตจากแรงงาน กับการคุ้มครองทางสวัสดิภาพของบุคคลหรือกลุ่มคนที่อยู่ภายใต้สังกัดเดียวกันซึ่งกลายเป็นไพร่ ในยุคนี้ที่ต้องเสี่ยงกับการรุกรานกวาดต้อนทุนหรือผู้คน และก่อเกิดสังคมศักดินา ที่มีการครอบครอง และแบ่งปันการถือครองปัจจัยการผลิตหลักคือที่ดินหรืออาณาเขตุที่เป็นแหล่งทรัพยากรทางธรรมชาติด้วยการใช้กำลัง หรือเทคโนโลยีการรบและป้องกันตนเองที่เหนือกว่าครอบครองเขตุแดนนั้นๆจนเกิดเป็นรัฐชาติต่างๆ

การค้นคว้าทางการผลิต ทำให้เกิดการพัฒนาทางเทคโนโลยี ไปสู่การคิดค้นการใช้เครื่องจักรไอน้ำ มาทดแทนแรงงานในการผลิต อันเป็นกระบวนการผลิตที่ก้าวหน้ากว่า และเกิดกระบวนการผลิตในรูปแบบของโรงงาน ที่มี การเกิดขึ้นของกลุ่มที่เรียกว่านายทุน ที่มีสีสัน แตกต่างจากชนชั้นนำเดิม และมีระบบการขายแรงงานแบบรับจ้างเกิดขึ้น นั่นก็คือการเกิดขึ้นของผู้ขายแรงงาน และก้าวสู่ สังคมที่มีรูปแบบความสัมพันธ์แบบใหม่ที่เราเรียกกันว่า สังคมทุนนิยม ที่มีการพัฒนาและมี กลไกกลาง ที่ซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆมาจนทุกวันนี้

การคาดหมายแบบกลไกในแนวคิดแบบมาร์กซิสต์ที่ คาดหมายว่าระบอบทุนนิยมจะล่มสลายและจะเป็นการเกิดขึ้นของสังคมคอมมิวนิสต์นั้น เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ยากในความเป็นจริงของมนุษย์ ถ้าหากว่าสังคมที่เกิดจากการดำเนินแนวทางนโยบายตามกรอบการจำแนกชนชั้นการสร้างเงื่อนไขในการทำลายชนชั้น ในรูปแบบที่นักลัทธิมาร์กซ์ดำเนินงาน หรือภายใต้กรอบหรือแนวคิดที่คิดว่าต้องอาศัยความพยายามทางอัตวิสัย เพื่อสร้างเงื่อนไขให้เกิดการเปลี่ยนแปลง โดยมีรูปธรรมคือการคัดค้าน ,การต่อต้าน,การทำลาย ต่อระบอบทุนนิยม เพื่อเป็นเงื่อนไขต่อการเกิดขึ้นของสังคมคอมมิวนิสต์ที่ไม่มีชนชั้นตามแนวคิดแบบมาร์กซิสต์ คงเป็นไปไม่ได้เลย เพราะรูปแบบ,วิธีการ,แนวทาง,นโยบาย ดังได้กล่าวมาข้างต้น ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงของสังคมมนุษย์

เป้าหมายในการทำลาย ระบอบทุนนิยม จึงเป็นเป้าหมายที่ผิดอย่างสิ้นเชิง เพราะไม่สอดคล้องความเป็นธรรมชาติของทุน ซึ่งทุน ยุคปัจจุบันก็คือการสั่งสมทางศักยภาพของมนุษย์

ทุน มีการดำรงอยู่มาแต่บรรพกาล จนถึงปัจจุบันหากมิใช่ว่าเมื่อเกิดกระบวนการผลิตที่มีการจ้างแรงงานและมีชนชั้นกรรมกรที่ยังชีพด้วยการขายแรงงาน จึงจะมีการเกิดขึ้นของทุน

การจำแนกความแตกต่างของสังคม ก็คือความแตกต่างขององศาแห่งความเข้มข้นของการใช้ทุนในรูปแบบที่แตกต่างกัน การที่จะบรรลุสังคมตามอุดมคติของนักลัทธิมาร์กซ์ ได้นั้นจะต้องมีกระบวนแห่งวิธีการที่ถูกต้องและสอดคล้องความเป็นจริงทางธรรมชาติของสังคมมนุษย์

ไม่ว่าจะเรียกว่าสังคมอะไรโลกปัจจุบันก็คือโลกของการแลกเปลี่ยนเพื่อให้เกิดดุลยภาพของทุนหรือ โลกทุนนิยมทั้งสิ้น ซึ่ง ก็มีการดำรงอยู่ของรูปแบบ การแลกเปลี่ยนศักยภาพแห่งทุนในหลายๆรูปการ เหมือนแบบบรรพกาลเช่น ศักยภาพทางกายที่ได้เปรียบ รูปแบบสังคมทาส เช่นการค้ามนุษย์ในรูปแบบที่มีการแลกเปลี่ยนที่มีความซับซ้อนขึ้น รูปแบบสังคมศักดินา เช่น การผูกขาดการครอบครองในปัจจัยการผลิตเช่นที่ดินหรือแหล่งทรัพยากร รวมทั้งระบบเจ้าพ่ออิทธิพล หรือรูปแบบ ของ ตลาดเสรีของการขายแรงงานกายและแรงงานสมอง หรือที่เรียกว่าทุนนิยม

ทั้งนี้ การจำแนกรูปแบบสังคมก็คือการจำแนกประมาณการความเข้มข้นของรูปแบบการใช้ทุน และระบอบแห่งกลไกกลางการแลกเปลี่ยนศักยภาพทุน

การพัฒนาทุนในสังคมมนุษย์ มีการพัฒนากล่าวคือ ทุนคือศักยภาพ ที่แสดงออกภายใต้การเปรียบเทียบและอันตรกิริยาของมนุษย์ในสังคมผ่านทางกลไกกลางที่เป็นรูปการต่างๆในสังคม ทิศทางหลักของการพัฒนาไปของทุนก็คือทิศทางแห่งการรักษาไว้ซึ่งดุลยภาพขององค์รวมร่วมกันของระบบย่อยภายใต้ความเป็นเอกภาพร่วมกันขององค์กรใหญ่ ที่เป็นองค์รวมพหุภาพของระบบ

การทำลายทุนก็คือการทำลายศักยภาพของมนุษย์ที่ดำรงความแตกต่างในสังคม เพราะศักยภาพที่แสดงออกของมนุษย์อันประกอบไปด้วยแรงงานกายและแรงงานสมองก็คือทุน ที่มนุษย์มีอยู่ไม่เท่าเทียมกัน ทั้งทางกายภาพและทางกระบวนการทางสังคมที่มีพัฒนาการไปไม่เท่าเทียมกัน

เพราะกล่าวถึงที่สุดแล้ว ทุนก็คือคน และคนก็คือทุน

การดำเนินการเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายในการพัฒนาของทุนหรือเกิดดุลยภาพในระหว่างการเคลื่อนที่ไปของทุนในสังคม ที่เข้าสู่ยุค โลกาภิวัตน์ของทุน ในปัจจุบัน จะต้องดำเนินการใน รูปแบบ ของ ระบอบทุนนิยมแห่งสังคม ดังที่จะกล่าวในรายละเอียดต่อไป

ระบอบทุนนิยมแห่งสังคม ในการอธิบายในที่นี้จะแตกต่างจาก คำว่า ทุนทางสังคม ซึ่งคำว่าทุนทางสังคมหมายถึงการ นำใช้ทุนแห่งปัจเจกชนอันเกิดจากการก่อรูปการการแลกเปลี่ยนศักยภาพทุนจากรูปการทางสังคมต่างๆเช่น ความสัมพันธ์ครอบครัว ญาติพี่น้อง เพื่อนร่วมสถาบัน ศาสนา เชื้อชาติ ความเชื่อมั่น ความศรัทธา เป็นต้น ซึ่งการนำใช้ทุนทางสังคม ในความหมายแบบนี้ โดยไม่จำแนกย่อมเกิดผลกระทบต่อการสร้างดุลยภาพ เช่น ลัทธิคลั่งชาติ ,ลัทธิชาตินิยม เป็นต้น

องค์รวมพหุภาพทุน และระบอบทุนนิยมแห่งสังคม


......................................................


ขอบเขตุเนื้อหาองค์รวมพหุภาพทุนและระบอบทุนนิยมแห่งสังคม



เพื่อให้เห็นภาพรวมกว้างๆถึงขอบเขตุเนื้อหาที่จะนำเสนอในแนวคิดซึ่งจะเน้นในลักษณะมหภาคมากกว่าในแบบจุลภาค.... จะประกอบไปด้วยหัวข้อใหญ่ๆดังนี้


-กลไกกลางการแลกเปลี่ยนศักยภาพทุน

-ระบอบเศรษฐกิจสังคมและการเมืองภายใต้การพัฒนาไปของกลไกกลางการแลกเปลี่ยนศักยภาพทุน

-ลักษณะขององค์รวมพหุภาพทุน
-รูปการศักยภาพแห่งทุนในทางกายภาพ
-รูปการศักยภาพแห่งทุนทางปัญญาและจิตวิญญาณ
-องค์รวมพหุภาพทุน ที่ประกอบไปด้วยศักยภาพทางกายภาพและทางปัญญาในทางสังคม อันได้แก่รูปการของทุนทางวัฒนธรรม สังคม และจิตวิญญาณ

-โลกาภิวัตน์ขององค์รวมพหุภาพทุน

-ระบบมูลค่ารูปการศักยภาพทุนทางปัญญา-จิตวิญญาณ
-เครดิต ความเชื่อถือ หรือศักย์ ที่ดำรงอยู่กลายเป็นมูลค่า
-ดุลยภาพที่มีการเคลื่อนที่ขององค์รวมพหุภาพทุน
-ทิศทางแนวทางนโยบายด้านเศรษฐกิจแห่งรัฐ
-นโยบายด้านการเงินการคลังแห่งรัฐ และภาคประชาชน

-พลังงาน การจัดการด้านทรัพยากร หรือศักยภาพทุนในเชิงกายภาพในทางสังคม

-มูลค่าของรูปการทางจิตวิญญาณ

- สุนทรียภาพ ความงาม ความรัก ความสุขที่สมดุล

-เศรษฐศาสตร์ แห่งความสุข


-ระบอบทุนนิยมแห่งสังคม

- วิวัฒนาการขององค์รวมพหุภาพทุน และระบอบแห่งรัฐ
-องค์กรคู่ขนาน และการขยายการมีส่วนร่วมขององค์กรประชาชน
-ทิศทาง อุดมการณ์แห่งรัฐระบอบทุนนิยมแห่งสังคม
-นวัตกรรมทางการเมือง-สังคม
-องค์กรและรูปการองค์กรทางสังคม
-ระบอบรัฐ ระบอบแห่งอำนาจรัฐธรรมาธิปไตย
-ทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมไทย

กระบวนทัศน์ประชาธิปไตยแบบกลไก


การเสนอแนวทางนโยบายในการพัฒนาประเทศนอกจากจะต้องพิจารณาความเป็นจริงทางเศรษฐกิจในสังคมไทย....

สิ่งที่สำคัญอีกประการ...คือความเป็นจริงทางวัฒนธรรม-สังคม....ของผู้คนบนผืนดินแห่งนี้ที่มีมายาวนาน...อันเป็นรากฐานแห่งความคิดจิตวิญญาณ.....

กระบวนทัศน์ประชาธิปไตยแบบกลไก.....อันเกิดจากความคิดแบบสุดขั้วสองด้าน....
ระหว่างรากฐานกระบวนคิดแบบวัฒนธรรมแบบไพร่โบราณ....กับวัฒนธรรมแบบไพร่แห่งยุคโลกาภิวัตน์...

ระหว่างความคิดของคนที่ไม่มีอิสระภาพและทรัพย์สินที่อุทิศแรงงานทุกอย่างให้ผู้เป็นเจ้าของชีวิต....และเมื่อมีอิสระภาพก็ยังคงอยู่ภายใต้ระบบแห่งผู้มีพระคุณ....

อีกขั้วของความคิดที่บูชานายทาสทางปัญญาแห่งยุคโลกาภิวัตน์อย่างหลับหูหลับตาจนหาความคิดที่เป็นของตนเองที่มองสิ่งต่างรอบตัวจากความเป็นจริงไม่มี.....และความจงรักภักดีแห่งผู้มีพระคุณทางเงินตราอำนาจวาสนาที่พร้อมแปรเปลี่ยนความคิดได้ตามมูลค่าเศษเงินที่โยนให้....และยึดมั่นถือมั่นศรัทธาต่อความคิดต่างๆของนายทาสทางปัญญาว่าคือคัมภีร์แห่งทางปัญญาที่ต้องจงรักภักดีด้วยจิตวิญญาณ...โดยหามองความเป็นจริงหรือกฎเกณฑ์แห่งความเป็นจริงรอบตัวเองไม่....ไม่ต่างจากทาสทางปัญญาที่นายทาสล่ามโซ่ตรวนไว้.....


กระบวนทัศน์เหล่านี้วิวัฒนาการเรื่อยมาถึงปัจจุบันในสังคมไทย....

กระบวนทัศน์เหล่านี้....ย่อมมองไม่เห็นถึงองค์รวมแห่งองคาพยพที่ประกอบเป็นรัฐแห่งประชาชาติ.....มองไม่เห็นถึงจุดมุ่งหมายของรัฐที่เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายแห่งความเป็นเอกภาพ....ความสมานฉันท์....ความร่วมมือ....ความเสมอภาค...ภราดรภาพ....ภายใต้ความแตกต่าง...ความหลากหลายทางวัฒนธรรม.....อันก่อเกิดจากกระบวนการ...กฎกติกาตามระบอบแห่งประชาธิปไตย.....

รากเหง้าทางความคิดแบบแยกส่วนและกลไก....

ก่อเกิดกระบวนการทำลายล้างตนเองขึ้น.....
การทำลายองค์รวมแห่งองคาพยพของรัฐแห่งประชาชาติไทย.....

ในทางการเมือง....กระบวนทัศน์เหล่านี้ไม่ยอมรับต่อกติกาใดๆ.....

ด้านหนึ่ง...ความคิดแบบวิญญาณกบฏเข้าสิง....ที่เป็นกบฎต่อกฎเกณท์ใดๆทุกเรื่องหากกฎเกณฑ์นั้นไม่สอดคล้องหรือกลุ่มตนเองสูญเสียผลประโยชน์อันจำเป็นต้องเสียเพื่อคงรักษาไว้ซึ่งเอกภาพของส่วนรวม......หรือความคิดแบบอนาธิปไตยบนรากฐานที่มีเสรีภาพอย่างเห็นแก่ตัว...มีเสรีภาพเฉพาะกลุ่มตน....เรียกร้องเฉพาะกลุ่มตน...โดยกลุ่มตนเพื่อกลุ่มตน.....และทำลายล้างกลุ่มที่มีความคิดเห็นไม่เหมือนกับตนทุกวิถีทาง....โดยไม่คำนึงว่าไม่ว่าจะถูกหรือจะผิดจริยธรรมและมนุษยธรรมอย่างไรก็ตาม.....ขอเพียงให้กลุ่มตนได้รับชัยชนะ......และ มีเพียงความคิดของตนและกลุ่มตนเท่านั้นที่ถูกต้องและฉลาดเฉลียวที่สุด.....นอกนั้นคือศัตรูที่ต้องทำลายล้าง....ก่อเกิดระบบมาเฟียต่างๆนานาแม้กระทั่งกระบวนการผูกขาดทางความคิดและการโน้มน้าวจูงใจ.....

อีกขั้วของความคิด....ที่ยอมทุกอย่าง...ความคิดแบบไพร่ที่ติดที่ดินอันไม่เคยมีที่ทำกินของตน....อุทิศแรงงานแรงกายให้ทุกอย่าง....พยักหน้าได้ทุกเรื่อง....นายว่าขี้ข้าพลอยพยัก....
วัฒนธรรมสอพลอประชาธิปไตยแห่งโลกาภิวัตน์ที่วิวัฒนาการมาก่อรูปการระบอบอุปถัมภ์แบบไทยๆ....ที่มีไพร่ทาสยุคใหม่...และบรรดาศักดิ์แห่งท่านขุนพลอยพยัก....

รากเหง้าวัฒนธรรม....ความคิด...จิตวิญญาณเหล่านี้ยังคงมีหนาแน่นในสังคมไทย....
เป็นรากฐานกระบวนการคิดของผู้คน....ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยแบบไทยๆ....

วัฒนธรรมการทำลายล้างการนำองค์กร...ทำลายล้างการบริหาร...คัดค้านรัฐบาลของตนเองที่ตนเป็นผู้เลือกมากับมือ.....ไม่ยอมรับกติกา....หากไม่ใช่ไพร่พล....

ภายใต้การผสมผสานกลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของวัฒนธรรมความคิดสุดขั้วทั้งสองแบบ...
การทำลายตนเองจึงเกิดขึ้น....มาจากตนเอง...โดยเงื้อมมือของตนเอง...และเพื่อจุดจบของตนเอง...

และหาได้บรรลุเอกภาพ....ความสามัคคี...ความสมานฉันท์...ขององค์รวมองคาพยพต่างๆที่ต้องการความสมานฉันท์อย่างยิ่งยวดในการรักษาเอกภาพแห่งองค์รวมอันพึ่งพาอาศัยกันของทุกๆส่วน อันเป็นเจตนารมณ์แห่งการปกครองในประชาธิปไตยแต่อย่างใดไม่......

และทำให้กระบวนการพัฒนาใดๆในทางเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม สังคม....ต้องสะดุดและเกิดสภาวะชะงักงันตลอดมา......

และที่สำคัญ....เมื่อได้รับการคัดเลือกเป็นตัวแทนที่ทำหน้าที่บริหาร.....หรือเป็นผู้กุมกลไกอำนาจรัฐในองค์กรต่างๆ....

การขัดขวางต่อความมีเสรีภาพ...การขยายเสรีภาพ...ของประชาชนและประชาชาติ....จึงเกิดขึ้น....
และเฉื่อยชา...ต่อการกระจายอำนาจรัฐ....หรือการลดทอนอำนาจรัฐที่รวมศูนย์สู่ส่วนกลางที่ใหญ่โตเทอะทะและประสิทธิภาพต่ำต่อการบริการให้กับประชาชาติไทย......


การกระจายอำนาจรัฐจากการรวมศูนย์ส่วนกลางไปสู่ท้องถิ่น....มีความจำเป็นอย่างยิ่งภายใต้การเปลี่ยนแปลงไปของสภาวการณ์ต่างๆที่เปลี่ยนแปลงไปในสังคม...

การสร้างนวัตกรรมใหม่ทางเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม สังคม....ล้วนต้องอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริงทางสังคมไทย....


รัฐบาล...ในฐานะผู้กุมกลไกอำนาจรัฐ...และทำหน้าที่บริหารจัดการงบประมาณแผ่นดินบริหารการเงินการคลังแห่งรัฐ......
ข้อเท็จจริงของงบประมาณที่รวมศูนย์ส่วนกลาง....คือ...


รายได้จากงบประมาณทั้งหมด....ที่มาจากภาษีอากร...โดยมีรายจ่ายหลักๆดังนี้....

กว่า45%.....เป็นรายจ่ายเงินเดือนข้าราชการ...ที่มีอยู่3ล้านคน...จากเฉลี่ยอายุ20ปีไปถึงรับบำนาญเฉลี่ยจนถึง80ปี......

30 %จ่ายดอกเบี้ยเงินกู้....และคืนเงินกู้ต่างประเทศ....

เหลือเพียง....25%.....เท่านั้น...ที่จัดสรรให้กระทรวงทบวงกรมไปพัฒนาประเทศ.....

และใน 25 % นี้....ยังมีการคอรัปชั่น...ทุกรูปแบบ...จากกระทรวงไปถึงหย่อมหญ้า....คิดว่าสูญหายไปอย่างไร้ร่องรอย....ประมาณอย่างน้อย10 %.....จึงคงเหลืองบพัฒนาประเทศชาติ....อย่างมากก็แค่15%......

เมื่อรายจ่ายที่จ่ายให้กับกลไกที่ไร้ประสิทธิภาพเทอะทะเชื่องช้า....ขนาดมหึมา.......
และรายได้ก็มาจากภาษีเป็นหลัก......
แล้วจะแก้ปัญหาประเทศชาติอย่างไรให้มีการพัฒนาไปอย่างมีประสิทธิภาพ.....

ย่อมแยกไม่ออกจาก.....การสร้างนวัตกรรมใหม่ในการบริหารงาน....การจัดการด้านองค์กร...ฯลฯโดยเฉพาะอย่างยิ่ง.....การกระจายอำนาจรัฐ.....
แม้กระทั่งการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ.....ที่จะต้องระดมทุนในการขยายบริการประชาชน..

เมื่อคนส่วนใหญ่ยากจน.....รายได้ของรัฐก็ต้องน้อยลง....
รายได้ของรัฐจะมากขึ้นก็ต่อเมื่อรายได้ของคนสูงขึ้น.....ซึ่งก็มีทั้งจากการประหยัด....และการสร้างรายได้เพิ่มขึ้น.....

นโยบายรัฐในการกระตุ้นเศรษฐกิจรากหญ้าอันแก้ปัญหาที่เป็นรูปธรรมเฉพาะหน้าในสังคม...มักจะถูกมองจากนักวิชาการว่าเป็นนโยบายประชานิยม......

สมมติว่าประเทศไทย....มีอยู่ 65 ครอบครัว....มีเพียง5 ครอบครัวที่ร่ำรวย...และอีก15 ครอบครัวอยู่ในระดับปานกลาง....อีก 50 ครอบครัวระดับกลางค่อนข้างยากจน....และอีก30ครอบครัวยากจน...

เงินกองกลางของหมู่บ้านแห่งนี้....ได้มาจากครอบครัวทั้งหมด....เมื่อแต่ละครอบครัวย่ำแย่รายได้กองกลางก็ลดลง.....ตลอดเวลาเพราะต้องมาชดเชยกับความยากจนลงเหล่านี้.....

การขาดดุลยภาพของทุน....ภายในหมู่บ้านแห่งนี้....จึงจำเป็นจะต้องสร้างรายได้ให้มีเพิ่มขึ้นกับทุกกลุ่ม....

ดังนั้นนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจเฉพาะหน้าที่ผ่านมาจึงดำเนินไปในแบบคู่ขนาน....ทั้งรากหญ้าและระดับบนหรือภาคอุตสาหกรรมต่างๆ....

ตราบใดที่ครอบครัวต่างๆจนลง...รายได้กองกลางก็ลดลง....ปัญหาต่างๆทางสังคมก็จะเพิ่มขึ้นทวีคูณ.....จึงเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้กับการปรับเศรษฐกิจระดับกลางและล่าง...ให้มีการยกระดับรายได้สูงขึ้น....

และในกระบวนการทำงาน....การแก้ปัญหา...ก็ย่อมมีทั้งการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าและปัญหาระยะยาว.....

การอัดฉีดระดับล่างตามปัญหาเฉพาะหน้าจึงถูกมองว่า.....ประชานิยม...และถูกโจมตีหนักจากบรรดาผู้เชี่ยวชาญทั้งหลาย.....ที่มีเพียงงานสร้างสรรค์ถ้อยคำว่า..ประชานิยม...

และก็หามีผู้หนึ่งผู้ใดที่มีการเสนองานสร้างสรรค์ที่เป็นรูปธรรมใดๆในการนำเสนอแนวนโยบายในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นเหล่านั้นแต่อย่างใดไม่....ดังนั้นจึงมีเพียงงานสร้างสรรค์ถ้อยคำอันงดงามว่าประชานิยม....

หากมิมีการแก้ปัญหาอันเกิดวิกฤติการณ์ในเฉพาะหน้า...ปัญหายาวไกลก็ต้องเลิกพูด...เพราะมันเกิดกระบวนการใหม่แล้วคือกระบวนการแห่งการถอยหลังลงนรกอันเกิดจากวิกฤติการณ์

การสร้างนวัตกรรมทางเศรษฐกิจเพื่อสร้างดุลยภาพให้กับกลุ่มต่างๆในสังคม....โดยเฉพาะคนกลุ่มใหญ่ในสังคม....

มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องยกระดับกระบวนทัศน์ในทุกๆด้าน.....

การยกระดับผลิตภัณฑ์....ก็ต้องยกระดับเทคโนโลยีการผลิตในทุกด้าน....

การตลาด...การจัดการสมัยใหม่....การบริหารงานแบบใหม่....

การยกระดับวัฒนธรรม...ความคิด....จิตวิญญาณ...ก็ย่อมได้รับการยกระดับไปด้วย....

และในกระบวนการต่างๆนาๆเหล่านี้.....มันไม่ได้เกิดขึ้นมาลอยๆ....ล้วนแล้วต้องใช้ทุน....

ทั้งทุนทางกายภาพและทุนทางปัญญา.......หรือการองค์รวมพหุภาพทุน


การกระจายอำนาจรัฐที่รวมศูนย์ของกระทรวง...ทบวงกรมไปสู่ท้องถิ่น....และการสร้างองค์กรในการจัดการตนเองของประชาชน....ย่อมเป็นทางออกที่ดีที่สุดในการแก้ไขปัญหา.....ที่นับเพิ่มขึ้นทั้งในขอบเขตุปริมาณ...และระดับของคุณภาพ....ในการให้บริการอย่างทั่วถึงด้วยประสิทธิภาพต่อประชาชน

นอกเหนือจากด้านเศรษฐกิจ.....การจัดการด้านการเมืองสังคม.....สวัสดิภาพทางสังคม..

ปัญหาหลักประกันกระบวนการแห่งความยุติธรรมขั้นต้นของประชาชน...ดังได้กล่าวมาในตอนที่แล้ว.....กระบวนการไกล่เกลี่ยปรองดองขั้นต้นของประชาชนในส่วนท้องถิ่นที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการดำรงชีวิตอยู่ของผู้คนในสังคม.....ที่ไม่อาจรอกลไกกลางรวมศูนย์แห่งรัฐที่อืดอาดเทอะทะเมไปด้วยพิธีกรรมขั้นตอนมากมายมหาศาลจัดการแก้ไขให้ได้ทันท่วงที....

เมื่อจุดมุ่งหมายแห่งรัฐ...คือความเสมอภาค...สันติภาพ...ภราดรภาพของประชาชน..

แล้วจะขัดขวางอะไรกัน....กับการมีส่วนร่วมและพึ่งพาตนเองของชุมชน....ภายใต้บทบัญญัติตามแนวทางนโยบายแห่งรัฐที่มีบัญญํติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย......

เพราะมีแต่จะต้องส่งเสริมและขยายให้กว้างขวาง....
จึงจะบรรลุตามเจตนารมณ์ที่มีในรัฐธรรมนูญ.....

หากไม่จำกัดกรอบความคิดของตนเองไว้และมีกระบวนทัศน์แบบกลไก....
การสร้างนวัตกรรมใหม่ในทางเศรษฐกิจ....การเมือง....วัฒนธรรม...สังคม...ย่อมมีมากมาย...

หากทางการเมือง....ยังมีกระบวนทัศน์ประชาธิปไตยแบบกลไก....

เราก็มีเพียงนักคัดค้านแบบกลไก.....anti-thesis .....
และไม่เข้าใจองค์รวมแห่งเจตจำนงค์การคัดค้านถ่วงดุล....คืออะไรในเนื้อหาสาระ....

ถ้าไม่เข้าใจว่าการคัดค้าน....คือการเสนอสิ่งที่เป็นไปได้อย่างเป็นรูปธรรมและดีกว่า....ด้วยวิธีการสร้างสรรค์และบรรลุผลแห่งความสมานฉันท์

เราก็มีเพียงนักถ่วงความเจริญ....หาได้ถ่วงดุล....

การเกิดขึ้นขององค์กรประชาชนในรูปแบบกระจายอำนาจรัฐก็ยากยิ่งที่จะเกิดขึ้นได้....
ปัญหาเฉพาะหน้าที่ต้องการแก้ไข....และการวางรากฐานแนวทางนโยบายในระยะยาว...เช่น...

องค์กรจัดการบริหารด้านพลังงานและทรัพยากร....ของชุมชน...

องค์กรจัดการด้านหลักประกันกระบวนการยุติธรรมขั้นต้น....ของชุมชน..

องค์กรจัดการด้านเศรษฐกิจ....และกลไกแลกเปลี่ยนศักยภาพทุน.....ของชุมชน....

และอีกฯลฯฯลฯฯลฯ.....

ถ้ากระบวนทัศน์ยังคงเป็น....
กระบวนทัศน์ประชาธิปไตยแบบกลไก....อย่างที่เห็นอยู่ดาษดื่นในปัจจุบัน....


ในช่วงฤดูกาลหาเสียงช่วงที่ผ่านมาของบรรดาผู้ทรงเกียรติทั้งหลายต่างก็เสนอแนวนโยบาบแบบ เกทับบลัฟแหลกแจกแถมกันอุตลุต....สร้างความมึนงงและความสับสนให้กับผู้คนได้อย่างน่าเวียนหัว....ในทิศทางของประเทศจากจินตนาการอันบรรเจิดของบรรดานักเลือกตั้งอาชีพ....

บางพรรคปรับเปลี่ยนอุดมการณ์ได้ราวกิ้งก่าเปลี่ยนสี....จากที่ไม่เคยมีสัจจะวาจาก็มีสัจจนิยม....และพร้อมที่รักษาสัจจะต่อไปในการให้ได้มาซึ่งสัมปทานโครงการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของรัฐที่เคยได้รับมานานอย่างต่อเนื่องจนหายอดอยากปากแห้ง.....

บางพรรคนโยบายก็สร้างจินตนาการไว้ริมถนนติดกันไว้เป็นระยะ...ฟรีทุกอย่าง...จนถึง...60 ปี มีเงินเดือนให้...อีกพรรคก็เช่นกันนโยบายยังกะลอกกันมา.....

แต่ที่ประหลาดใจและสับสนในนโยบาย2พรรคนี้ที่มีระบบความคิดสุดขั้วทั้งสองด้านในการนำเสนอประชาชนคือ....นโยบายรัฐเอื้ออาทร..ฟรีทุกอย่างเพื่อประชาชน และอีกขั้วanti-thesis คือการดำรงเป็นฝ่ายค้านหัวชนฝาถ้าพรรคหนึ่งบอกว่าสวรรค์ก็จะต้องเลือกทางตรงข้ามคือนรก...เป็นต้น..คือเลิกทุกอย่างที่พรรคตรงข้ามเขาทำไว้เพราะต้องถือว่าผิดทุกอย่าง....
นโยบายนี้กลับมิได้รับการวิพากษ์วิจารณ์จากปัญญาชนแห่งประเทศไทยว่าเป็นนโยบายประชานิยม....เป็นสิ่งเหลือเชื่อและมหัศจรรย์ยิ่งนักกับกระบวนทัศน์ทางวิชาการ...

นี่เป็นส่วนหนึ่งในความสับสนอลหม่านทางความคิด......หรือว่าเป็นระบบความคิดใหม่แห่งยุคที่เผ่าพันธุ์มนุษย์มีการแปรเปลี่ยนทางพันธุกรรมที่นับวันคล้ายไส้เดือน....ที่มีสองขั้วอยู่ในตัวเดียวกัน...

หากเคนเนดี้กลับชาติมาเกิดก็คงต้องพูดว่า......" จงแบมือเถิดประชาชนแห่งรัฐ.......รัฐจะให้ท่านทุกอย่างแม้แต่ลมหายใจ......ท่านไม่ต้องถามว่าจะให้อะไรแก่รัฐ...เพราะสิ่งที่ท่านจะให้...รัฐจะให้ท่านมากกว่าหลายเท่าพันทวี..."

ในแนวคิดนักวิชาการหลายคน...ก็สับสนอลหม่านไม่ต่างจากทฤษฎีไร้ระเบียบ...บางพรรคที่เสนอนโยบายที่สร้างเสริมความแข็งแกร่งให้กับประชาชนให้หัดเดินได้ด้วยขาตนเอง...ลดทอนอำนาจรัฐไปสู่จุดมุ่งหมายแห่งประชาสังคมแม้ว่าจะนำเสนอในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าของสังคมที่เป็นรูปธรรมที่เกิดขึ้นในสังคม.....เพื่อที่จะวากรากฐานในแนวนโยบายระยะยาวไกล...

นโยบายเหล่านี้กลับตกเป็นเป้าโจมตีในเปอร์เซ็นต์ที่สูงยิ่ง...ทั้งจากนักวิชาการและสื่อมวลชนต่างๆ......อย่างเหลือเชื่อราวโลกพิศวงมิติลี้ลับ.....


ขอวกเข้าเรื่อง...สู่กระบวนทัศน์ใหม่ต่อ....จากที่ได้กล่าวมาแล้วจุดมุ่งหมายการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมก็เพื่อบรรลุ ความสุขที่สมดุลแห่งมวลมนุษยชาติ....

การปรับเปลี่ยนกลไกกลางแห่งการแลกเปลี่ยนศักยภาพทุน....เป็นปัญหาสำคัญ....กลไกกลางการแลกเปลี่ยนศักยภาพทุนในรูปแบบหนึ่งซึ่งพัฒนาเป็นกลไกรัฐกลไกแห่งรัฐ....และที่แน่นอนที่สุดจะต้องใช้เครื่องมือเหล่านี้ในการทำให้บรรลุสู่จุดมุ่งหมายแห่งความสุขที่สมดุลของคนในรัฐชาตินั้นๆ....

กระบวนการคิดใดๆของมนุษย์ล้วนแยกไม่ออกจากกรอบอ้างอิงในการคิด....

การสร้างนวัตกรรมใหม่ๆทางความคิดก็เช่นกัน....
จะต้องคิดบนหลักการใหม่....จึงจะเกิดนวัตกรรมใหม่...ในการแก้ไขปัญหาใหม่ๆที่เกิดจากความไม่คงที่ของขนาดและขอบเขตุที่ขยายตัวไปตามกระบวนการพัฒนาของสรรพสิ่ง...

กรอบอ้างอิงใดๆในระบบความคิดของมนุษย์ยุคปัจจุบันล้วนอยู่บนพื้นฐานแห่งระบบกรอบอ้างอิง4มิติ คือความกว้าง ความหนา ความยาว และกรอบเวลา....หรือที่เรียกว่ากาลาวกาศ (space-time)และดำเนินไปเป็นความต่อเนื่องของกาลาวกาศในรูปแบบ4มิติตามความเข้าใจจากผู้สังเกตุคือมนุษย์ยุคปัจจุบัน....

กรอบอ้างอิงที่ว่ามานี้....เพียงพอแล้วหรือในการที่จะทำความเข้าใจในสัจจธรรมที่ดำรงอยู่บนจักวาล.....คำตอบก็คือน้อยสุดแสนน้อยเกินไป...

ทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมไทย....หากไม่มีการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ใหม่ทุกองคาพยพ...ก็ยากยิ่งที่จะพัฒนาไปในรูปแบบดุลยภาพที่มีการเคลื่อนที่...


ระบบเตือนภัยล่วงหน้า....ทางการเมือง


ระบบเตือนภัยล่วงหน้าทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ล้วนแยกไม่ออกจากการกระจายอำนาจรัฐที่รวมศูนย์กระจุกตัวจากส่วนกลาง....

นอกเหนือจากการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าปัจจุบัน....ในปัญหาหลักคือเรื่องพลังงานของชุมชนด้วยการจัดตั้งองค์กรจัดการพลังงานของชุมชน...

การนำใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม(appropriate technology) ไม่ได้หมายความว่า....ชุมชนท้องถิ่นต่างๆจะหันไปใช้เทคโนโลยีที่ล้าหลัง....เทคโนโลยีที่เหมาะสมย่อมหมายถึงเทคโนโลยีที่ใช้พลังงานน้อย...ก่อเกิดมลภาวะน้อย....นั่นย่อมอาจเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยแห่งยุคก็ได้....

เทคโนโลยี...ไม่ได้ก่อให้เกิดมลภาวะหรือเป็นตัวทำลายล้างสภาพแวดล้อมแต่เพียงอย่างเดียวตามมุมมองแนวคิดของนักคิดในอดีตเช่น..แนวคิดของ อีเอฟ ชูมักเกอร์....หรือกลุ่มอนุรักษ์ต่างๆ....แต่เทคโนโลยียังมีบทบาทในการก่อให้เกิดดุลยภาพในกระบวนการผลิตเพื่อยังชีพของสังคมมนุษย์....ที่มีการเพิ่มขึ้นของประชากร....มีการบริโภคทรัพยากรต่างๆเพิ่มขึ้น...ภายใต้ระบบที่มีการแบ่งงานกันทำและการลดลงของทรัพยากรต่างๆ......

“ เปลี่ยนท้องนาเป็นมหาวิทยาลัย ” ก็คือการกระจายอำนาจสู่ชุมชนในการจัดการปัญหาต่างๆให้เกิดสภาวะที่สมดุล....การค้นคิดและนำใช้พลังงานสะอาด....ในชุมชนย่อมมีขนาดเล็ก...และกระจายกันไปทั่วประเทศ....พลังงานแสงอาทิตย์...พลังงานน้ำ...พลังงานลม...ฯลฯ...ย่อมไม่ต้องลงทุนสูงเพราะมีหน่วยขนาดเล็ก...การก่อมลภาวะก็น้อย...อีกทั้งเป็นการลงทุนอย่างยั่งยืนของชุมชน...


การสร้างระบบเตือนภัยล่วงหน้าทางการเมือง


ปัญหาความขัดแย้งต่างๆในสังคม...ที่มีความแตกต่างทางเชื้อชาติ วัฒนธรรม...นอกจากจะมีการสร้างกลไกกลางแห่งการแลกเปลี่ยนศักยภาพทุนที่มีประสิทธิภาพ....

กลไกที่พัฒนามาเป็นกลไกรัฐ.....จะต้องขยายบทบาทรัฐแห่งชุมชนหรืออำนาจในการควบคุมกลไกกลางการแลกเปลี่ยนศักยภาพของชุมชนให้แต่ละชุมชนมีบทบาทในการจัดการด้วยตนเอง...อันเป็นองค์กรกลางแห่งความสมานฉันท์ของชุมชนในการคลี่คลายปัญหา....การแก้ไขปัญหา....

การจัดตั้งองค์กรชุมชนทำหน้าที่ให้หลักประกันแห่งความยุติธรรมเบื้องต้นของชุมชนในการไกล่เกลี่ยและคลี่คลายปัญหาของคนในชุมชน.....จึงเป็นการระงับข้อพิพาท...ระงับชนวน..อันอาจลุกลามไปสู่ระดับที่สูงขึ้นจนเป็นวิกฤติการณ์ทางการเมือง....ภายใต้การฉวยโอกาสของผู้กุมกลไกรัฐฉ้อฉลการใช้อำนาจเหล่านั้นกระทำต่อผู้คน...และก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำจนไม่มีความเสมอภาค...ทั้งกายภาพและจิตใจ....หรือไร้มนุษยธรรมใดๆ...

องค์กรกลางของรัฐซึ่งทำหน้าที่จัดการให้เกิดความเสมอภาคในขอบเขตทั่วประเทศ...ทำหน้าที่หลักในการประสานงาน....การประสานเครือข่ายท้องถิ่นต่างๆให้เป็นเอกภาพ....ภายใต้ความแตกต่างของแต่ละชุมชนที่มีอิสระในการบริหารชุมชนของตนเอง และภายใต้การส่งเสริมหนุนช่วยพัฒนาจากองค์กรกลางแห่งรัฐอย่างเต็มที่......

สงครามและสันติภาพ


สงคราม....ดังนิยามที่นักทฤษฎีสงคราม....เหมาเจ๋อตงกล่าวก็คือความต่อเนื่องทางการเมือง......สงครามก็คือการเมืองที่หลั่งเลือด....

การปรองดอง...ความสมานฉันท์...อันไม่อาจตกลงกันได้....ก็ย่อมต้องมีสาเหตุของปัญหา....

ปัญหาการเกิดสงครามกลางเมืองใดๆ.....ล้วนมีสาเหตุหลักๆมาจาก....

ความไร้ประสิทธิภาพของกลไกกลางการแลกเปลี่ยนศักยภาพทุน....

ทุน...ทางกายภาพและทางปัญญา...ทางจิตวิญญาณ..ของมนุษย์ในสังคมนั้นๆ...

และเป็นต้นตอก่อเกิด...ปัญหาต่างๆทุกด้าน...

เมื่อในทางการเมืองได้พัฒนาถึงขั้นการใช้รูปแบบสูงสุดในการปะทะกัน....หรือสงคราม..

รูปแบบในการต่อสู้กัน...ในการวางแผนการการสู้รบจึงประกอบไปด้วยยุทธศาสตร์...และยุทธวิธี..

ลักษณะการทำการสู้รบ....จะประกอบไปด้วย...การรุก...และการรับ...

การรุก....จะประกอบด้วย...การตามตี หรือความต่อเนื่องของการรุก....
ความต่อเนื่องของการรับ...ก็คือการถอย....

การสู้รบ...การวางแผนการสู้รบ..จะต้องมีการกำหนดที่ถูกต้องจึงจะได้รับชัยชนะ....
ยุทธศาสตร์....ก็คือการกำหนดถึงส่วนทั้งหมดหรือลักษณะสัมบูรณ์...หรือองค์รวมแห่งการยุทธ์นั้นๆ....
ยุทธวิธี....ก็การกำหนดส่วนย่อยในการกระทำที่เพื่อบรรลุผลในทางยุทธศาสตร์....

ผู้ที่จะพิชิตชัยชนะ....ก็คือผู้ที่สามารถกำชัยชนะในทางยุทธศาสตร์ทุกๆด้านหรือ...เป็นผู้ที่รุกในทางยุทธศาสตร์ทั่วด้าน....หรือเป็นฝ่ายกระทำในทางยุทธศาสตร์....
ผู้แพ้...ก็คือผู้ที่ตกเป็นฝ่ายถูกกระทำ...และเป็นฝ่ายถอยในทางยุทธศาสตร์....

แต่หัวใจหลักในการต่อสู้....อะไรคือความเป็นธรรม....
ความเป็นธรรมอันเป็นสากลของมนุษยชาติ....
ความมีมนุษยภาพ....มนุษยธรรม...เสมอภาค....
ความสมานฉันท์....ความรักแห่งมวลมนุษย์......
และ....สันติภาพไม่ใช่หรือ....ที่เป็นจุดมุ่งหมายแต่ละฝ่ายต้องการ....

หาใช่....สันติภาพแบบกลไก...บนซากศพมนุษยชาติเป็นฐานรองให้ไขว่คว้าแต่อย่างใดไม่...
ตราบใดที่มนุษย์ยังมีสมอง....และไม่ใช่เดียรัจฉาน..!!


( หมายเหตุ บันทึกไว้ราวปลายปี47 ในหัวข้อระบบเตือนภัยล่วงหน้า...เอามาลงอีกครั้งเพื่อจุดประกายแนวคิด)


ระบอบทุนนิยมแห่งสังคม
SOCIAL - CAPITALISM
..................................

(ต่อจากตอนที่แล้ว)

ภายหลังจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมในซีกโลกตะวันตกเมื่อหลายร้อยปีก่อนซึ่งก่อให้เกิดการพัฒนาทุนนิยมอย่างเต็มรูปในขณะที่แนวคิดที่ตรงกันข้ามคือแนวคิดแห่งสังคมนิยม-สังคมคอมมิวนิสต์ก็ได้ก่อตัวนำไปสู่การปฏิวัติใหญ่ในรัสเซียและให้กำเนิดรัฐที่มีระบอบการปกครองตามแนวคิดแบบมาร์กซิสเป็นประเทศแรกและขยายตัวไปในหลายๆประเทศ

การแสวงหากำไรสูงสุดในระบอบทุนนิยมของปัจเจกชนในระบอบเสรีนิยม ขยายไปสู่รัฐและอุดมการณ์แห่งรัฐ ก่อให้เกิดทุนผูกขาดข้ามชาติที่มีการใช้อำนาจที่เหนือกว่ารุกรานและครอบครองทรัพยากรในรัฐต่างๆในโลกเพื่อประโยชน์สูงสุดของกลุ่มทุนผูกขาดที่เป็นประเทศมหาอำนาจ รัฐผู้ทรงอำนาจเหล่านี้ได้กลายเป็นประเทศจักรพรรดินิยมที่ครอบครองปัจจัยการผลิตและดินแดนต่างๆในทั่วโลก

ในทางตรงกันข้ามแนวคิดของระบอบสังคมนิยมตามทฤษฎีมาร์กซ์-เลนินซึ่งเน้นหนักในการพัฒนาทุนแห่งรัฐได้พัฒนาแนวคิดไปจนถึงขีดสุดคือสังคมจักรพรรดินิยม ภายใต้กรอบอุดมการณ์แห่งชนชั้นเดียวหรือเผด็จการแห่งชนชั้นกรรมาชีพ และแนวนโยบายการเร่งการสูญสลายทางชนชั้น ด้วยวิถีทางกำจัดเงื่อนไขที่เป็นพันธนาการกีดขวาง ทุกรูปแบบ


จากยุคสงครามเย็น จนถึงการล่มสลายแห่งสหภาพสังคมนิยมโซเวียตมาสู่การจัดระเบียบโลกใหม่ที่อาศัยเงื่อนไขทางด้านสิทธิมนุษยชน,ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม,ปัญหาการก่อการก่อการร้าย มาเป็นเงื่อนไขในการกีดกันทางการค้า และเป็นเครื่องมือในการขยายการครอบงำของกลุ่มทุนผูกขาดข้ามชาติ รวมทั้งการกีดกันในรูปกลุ่มประเทศ

การก่อกำเนิดระบอบทุนแห่งสังคมได้ถือกำเนิดขึ้นมาระหว่าง2ขั้วของระบอบทุนคือทุนที่มีทิศทางการพัฒนาไปสู่จักรพรรดินิยม และทุนที่พัฒนาไปสู่สังคมจักรพรรดินิยม กล่าวคือทุนเอกชนข้ามชาติผูกขาด และทุนแห่งรัฐข้ามชาติที่ผูกขาด ระบอบทุนนิยมแห่งสังคมคือระบอบทุนที่อยู่ตรงกลางระหว่างทุนทั้ง2 เป็นระบอบแห่งทุนที่มีศีลธรรมจรรยา(ethical capital) และมีทิศทางการพัฒนาของทุนเพื่อที่จะบรรลุสู่จุดมุ่งหมายการสร้างสันติภาพของโลก

การพัฒนาของทุนในปัจจุบันทุนผูกขาดข้ามชาติขนาดใหญ่ได้กลายเป็น พันธนาการกีดขวางสันติภาพของโลก ขณะเดียวกันแนวคิดแห่งทุนในระบอบสังคมนิยมที่มีจุดมุ่งหมายในการสร้างสังคมคอมมิวนิสต์หรือสังคมที่ไม่มีชนชั้น หรือสังคมที่จะเหลือเพียงชนชั้นเดียว

การดำเนินกรอบแนวทางนโยบายในการเร่งการสูญสลายทางชนชั้นและด้วยแนวคิดแห่งเผด็จการชนชั้นกรรมาชีพก่อให้เกิดการพัฒนาทุนแห่งรัฐที่มีขนาดใหญ่ที่เป็นอุปสรรคและกีดขวางต่อการสร้างสันติภาพของโลก และไม่สามารถที่จะบรรลุอุดมการณ์แห่งการสร้างสังคมนิยมและสังคมคอมมิวนิสต์ได้
ทั้งนี้เนื่องจากโลกปัจจุบันก็คือโลกแห่งทุนนิยมทั้งหมด เพียงแต่ว่าจะแตกต่างตรงความเข้มข้นของทุนว่าเป็นเอกชนหรือรัฐ ถ้ามีความเข้มข้นทางภาคเอกชนก็เรียกทุนนิยม หรือถ้ามีความเข้มข้นในทุนแห่งรัฐก็เรียกสังคมนิยม การจะบรรลุสู่การสร้างสันติภาพในโลกได้มีแต่จะต้องดำเนินแนวทางนโยบายในการพัฒนาทุนแห่งสังคมหรือทุนที่มีศีลธรรมจรรยาเท่านั้นจึงจะบรรลุจุดมุ่งหมายได้

ลักษณะพิเศษของระบอบทุนนิยมสังคม กล่าวคือ เป็นทุนที่ดำเนินการโดยไม่มีจุดมุ่งหมายในการแสวงหากำไรสูงสุดแบบกลไกหรือการอ้างอิงในเชิงปริมาณ,มูลค่าตัวเลขในการกอบโกยทรัพยากรต่างๆโดยไม่คำนึงถึงรูปแบบและวิธีการเพื่อให้บรรลุตามจุดมุ่งหมาย

หากแต่ว่าการดำเนินงานของระบอบทุนนิยมแห่งสังคมจะคำนึงถึงกรอบแห่งองค์รวม (holistic) กรอบแห่งบูรณาการของทุน ที่ครอบคลุมไปถึงการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ทางจิตใจและคุณค่าแห่งความเป็นมนุษย์ที่อยู่ร่วมชะตากรรมภายใต้ดาวพระเคราะห์สีฟ้าแห่งโลกดวงเดียวกัน

หรือกล่าวได้ว่าการดำเนินงานของทุนในแง่การแสวงหาผลกำไรสูงสุดเพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายสูงสุดที่จะก่อให้เกิดประโยชน์สุขร่วมกันของมวลมนุษยชาติ หรือกล่าวตามการวิเคราะห์ทุนตามแนวคิดแบบมาร์กซิสต์ ก็คือการแปรกำไรส่วนเกินอันก่อเกิดจากแรงงานส่วนเกินให้กลับคืนสู่จุดแห่งดุลยภาพของทุนซึ่งต่างก็ได้รับผลประโยชน์สูงสุดร่วมกัน

สำหรับรูปธรรม ในไทยเช่น การดำเนินนโยบายที่มีการปรับเปลี่ยนแนวนโยบายจากในอดีตที่สนองต่อกลุ่มทุนผูกขาดในชาติ มาสู่การกระจาย,การกระตุ้น เพื่อให้เกิดการพัฒนาของทุนต่างๆในสังคมตั้งแต่ระดับรากหญ้า,ขนาดย่อม,ขนาดกลางให้เกิดการสะสมทุน,และแผ้วถางทางมีพัฒนาการที่มั่นคงและเติบใหญ่ขึ้น จากในอดีตที่ขาดดุลยภาพอย่างหนัก

การแปรทุนส่วนเกินให้กลับคืนสู่สังคมเพื่อให้เกิดดุลยภาพของทุน มีผลต่อการปรับดุลยภาพทางด้านสังคม,การเมือง,วัฒนธรรม และรูปการจิตสำนึกในสังคม หรือโครงสร้างชั้นบนในสังคมที่ก่อเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางรากฐานทางเศรษฐกิจ จากเดิมกลุ่มทุนที่มีไม่กี่ร้อยคนที่กุมทิศทางและชะตากรรมของทุนในประเทศได้สร้างภาระให้ประชาชนทั้งประเทศต้องมารับใช้ภาระหนี้สิน รวมทั้งผลักภาระความเสี่ยงนานาชนิดไปสู่ประชาชนส่วนใหญ่ ก่อให้เกิดการขาดดุลยภาพอย่างหนักต่อทุนในประเทศที่คนส่วนใหญ่ถูกควบคุมโดยคนไม่กี่ร้อยคน

การพัฒนาเสริมสร้างศักยภาพทุน หรือ คน นั่นย่อมหมายถึงการยกระดับจริยธรรม จิตวิญญาณ ภูมิปัญญา ของผู้คน ให้บรรลุสู่จุดมุ่งหมายสูงสุดคือ ความสุข....สันติภาพของมวลมนุษย์ย่อมเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดในการพัฒนาทุนอันมีประสิทธิภาพสูงสุด.....และเป็นหัวใจหลักแห่งรากฐานทางแนวทางนโยบายทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง......


...................................

วิวัฒนาการระบอบทุนในโลก


ทุนนิยมเสรี........ทุนนิยมแห่งสังคม......สังคมนิยม(สังคมทุนนิยม)

ทุนเอกชน...........ทุนที่มีศีลธรรม...........ทุนแห่งรัฐ

ทุนผูกขาด............ทุนแห่งสังคม..............ทุนผูกขาดแห่งรัฐ

จักรพรรดินิยม.....ธรรมาธิปไตย..............สังคมจักรพรรดินิยม

........................................


โครงสร้างระบอบอำนาจรัฐ

.................ทุนนิยมเสรี............ทุนแห่งสังคม.......สังคมนิยม

ระบอบรัฐ...เสรีประชาธิปไตย....ธรรมาธิปไตย....ประชาธิปไตย
..........................................................................รวมศูนย์

ระบอบแห่ง
อำนาจรัฐ....เผด็จการกลุ่มทุน.....ธรรมาภิบาล.......เผด็จการ
...........................................................................ประชาธิปไตย
...........................................................................ประชาชนที่นำ
...........................................................................โดยกรรมาชีพ

.............................

การพึ่งตนเองและเดินทางสายกลางตามทฤษฎีใหม่ตามพระราชดำริขององค์พระประมุข เป็นตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดของการดำเนินทุนอย่างมีศีลธรรมจรรยา

การที่สามารถเลี้ยงตนเองอยู่ได้และเจือจานผู้อื่นได้ ไม่เบียดบังธรรมชาติจนเกินไป เพราะการทำลายล้างธรรมชาติและสภาพแวดล้อมต่างๆเพื่อความอยู่รอดของตนเองหรือเพื่อความร่ำรวยของตนเองนอกจากจะสร้างสภาวะที่ขาดดุลยภาพในทุกๆด้านทั้งทางธรรมชาติและสังคมแล้วในที่สุดก็จะเป็นการทำลายตนเอง และสังคมโดยรวม

ในระบอบสังคมนิยมมีความโน้มเอียงต่อการพัฒนาทุนกล่าวคือ จะเน้นต่อการขยายพลังการผลิต(คนและเครื่องมือการผลิต)และเน้นต่อการกำจัดสิ่งกีดขวางต่อพลังการผลิต โดยขาดการวิเคราะห์ถึงผลกระทบจากการขยายพลังการผลิตและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางความสัมพันธ์ทางการผลิต ที่มีต่อธรรมชาติ,สังคมและสิ่งแวดล้อมโดยรวม

การเพิ่มอัตราเร่งในการสร้างเงื่อนไขในการสูญสลายทางชนชั้นเพื่อสร้างชนชั้นเดียวที่มีทีทรรศน์เดียว เป็นการดำเนิน แนวทางนโยบายแบบกลไกและมีความโน้มเอียงต่อการขยายทุนแบบไร้ศีลธรรมจรรยา
กรอบวิธีวิเคราะห์แบบวิภาษวิธี ที่เน้นต่อการขจัดความขัดแย้งที่เป็นปรปักษ์ที่ต้องใช้รูปแบบที่เป็นปรปักษ์กันในการขจัดความขัดแย้ง ก็เป็นแนวคิดหนึ่งที่ทำให้ชนชั้นและชั้นชนต่างๆในโลกต้องกลายเป็นปรปักษ์กับชนชั้นกรรมาชีพในประเทศสังคมนิยมตามแนวคิดแบบมาร์กซิสต์และในที่สุดก็เป็นการทำลายตนเองของชนชั้นกรรมาชีพ

ในระบอบทุนเสรีที่เน้นการแสวงหากำไรสูงสุดด้วยวิถีทางต่างๆทุกวิถีทางรูปแบบวิธีคิด,แบบจำลองในการคิดที่ขาดการประเมินคุณค่าทางด้านจิตใจ,คุณค่าทางศีลธรรมจรรยาและความเป็นมนุษย์ เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายในการสร้างกำไรสูงสุดของนายทุน ก่อให้เกิดการทำลายล้างทางธรรมชาติและทางสังคมอย่างรุนแรง และก่อให้เกิดทาสยุคใหม่ที่มีวัฒนธรรมแบบใหม่ที่หยาบกระด้างทางจิตใจของความเป็นมนุษย์

การพึ่งพาอาศัยกันในทางธรรมชาติ เช่น symbiosis ในเซลล์ต่างๆที่มีการพึ่งพาอาศัยกัน โดยต่างฝ่ายต่างพึ่งพาอาศัยกัน ประกอบเป็นองค์เอกภาพเดียวกันและสร้างสภาวะที่เกิดดุลยภาพในเซลล์ เป็นตัวอย่างที่เห็นถึงการอยู่ร่วมกันที่เกิดดุลยภาพและมีการพัฒนา

ในทางสังคมมนุษย์เช่นกัน จากความไร้ระเบียบและขาดดุลยภาพแห่งทุน เป็นผลก่อให้เกิดความอัปลักษณ์ของโครงสร้างชั้นบน ที่สนองและรับใช้แก่กลุ่มคนจำนวนหนึ่งซึ่งมีจำนวนน้อยนิดที่เอารัดเอาเปรียบและทำลายล้างมวลมนุษยชาติในโลก อย่างเห็นแก่ตัว ตะกละตะกราม และไร้ศีลธรรมจรรยา

องค์รวมพหุภาพทุน
กับระบอบเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม สังคม


จากการทำความเข้าใจในเบื้องต้นว่า...ทุน..ก็คือ องค์รวมแห่งศักยภาพแห่งทุนทางกายภาพ และศักยภาพทางจิตวิญญาณปัญญา.....ของมนุษย์ และการสั่งสมในทางสังคม....

การอยู่ร่วมกันของมนุษย์ในสังคมก่อเกิดการสร้างกลไกกลางแห่งการแลกเปลี่ยนศักยภาพทุน ที่มีความแตกต่างทั้งในระหว่างมนุษย์กับมนุษย์...มนุษย์กับสังคม...และสังคมกับสังคม ก่อให้เกิดการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปแห่งกลไกกลางการแลกเปลี่ยนศักยภาพแห่งทุนในสังคม...

การแปรเปลี่ยนแห่งกลไกกลางการแลกเปลี่ยนศักยภาพทุนใดๆ ต่างล้วนดำเนินไปบนกฎเกณฑ์ทางธรรมชาติในการรักษาไว้ซึ่งดุลยภาพแห่งองค์รวมพหุภาพศักยภาพทุนในสังคม...

โครงสร้างชั้นบนในทางสังคมที่ประกอบไปด้วย โครงสร้างทางระบอบการเมือง...โครงสร้างทางรูปการจิตวิญญาณต่างๆ....กฎหมาย...กลไกอำนาจรัฐ....รูปการจิตสำนึกใดๆล้วนแล้วก็คือ รูปการของกลไกกลางการแลกเปลี่ยนทางศักยภาพแห่งทุนที่ได้มีวิวัฒนาการไปในทางสังคม

ในการอธิบายของนักทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ คลาสสิก....อดัม สมิท เป็นครั้งแรกเมื่อ 200 กว่าปีที่ผ่านมา....ได้อธิบายถึงปรากฏการณ์ใหม่ในทางสังคมในยุคนั้น ที่ก้าวผ่านจากระบอบศักดินา เข้าสู่กระบวนการผลิตแบบลัทธิพาณิชย์นิยม หรือที่เรียกว่า ลัทธิ เมอร์แคนไตลิสม์...

อดัม สมิท ได้สร้างรากฐานให้กับการวิเคราะห์ แบบแยกส่วนย่อย อันก่อกำเนิดสาขาวิชาที่เรียกว่าเศรษฐศาสตร์ ขึ้นมา....ทฤษฎีของ อดัม สมิท เป็นการอธิบายถึงวิวัฒนาการที่แปรเปลี่ยนไปของกลไกกลางการแลกเปลี่ยนศักยภาพแห่งทุน...

ทุนที่มีวิวัฒนาการไปสู่ขอบเขตุความสัมพันธ์ที่มีความกว้างขึ้นทั้งทางปริมาณและคุณภาพ กล่าวคือ

ศักยภาพทุนทางกายภาพและจิตวิญญาณปัญญา มนุษย์ ก่อเกิดองค์รวมพหุภาพทุนที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ก่อเกิดมูลค่าแห่งการสะสมทุน (ศักย์ ที่ดำรงอยู่)ของกลุ่มต่างๆ เช่นกลุ่มนายทุน ที่ควบคุมปัจจัยการผลิตต่างๆหรือองค์รวมพหุภาพทุนของกลุ่มคนและทรัพยากรต่างๆ ที่อยู่ภายใต้การควบคุมของนายทุน...

มรรควิธี ที่ อดัม สมิท นำเสนอคือ กฎธรรมชาติ ( Natural Law) หรือหลักแห่งการค้าเสรี บนกรอบแห่งความเชื่อมั่นในประสิทธิภาพ ของกลไกราคา และ ตลาดที่มีการแข่งขันสมบูรณ์...

การอธิบายของ อดัม สมิท และ เดวิท ริคาร์โด ในยุคนั้น ก็คือการอธิบายถึง การปรับปรุงประสิทธิภาพแห่งกลไกกลางการแลกเปลี่ยนศักยภาพทุนในทางสังคม...

การสะสมทุน( capital formation ) ที่ อดัม สมิท ได้ให้คำอธิบายถึงปรากฏการณ์ในทางสังคมในยุคนั้น ก็คือการแสดงออกแห่งการสั่งสมในทางศักยภาพขององค์รวมพหุภาพทุน....

เมื่อวิเคราะห์ภายใต้กรอบกระบวนทัศน์องค์รวม9มิติจะเห็นว่า ศักยภาพทุนมีขอบเขตุที่กว้างขึ้น เช่น รูปการทางปัญญาหรือจิตวิญญาณ อันสั่งสมในทางกายภาพในรูปการของเครื่องมือการผลิตที่มีวิวัฒนาการสูงขึ้นล้วนมีศักยภาพทางปัญญาที่เกิดการต่อยอดพอกพูนทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพที่สูงขึ้น...ในทางปริมาณที่มีขนาดการผลิตที่มากขึ้นประสิทธิภาพสูงขึ้นเป็นต้น....

การใช้ทรัพยากรในทางธรรมชาติและสังคมที่สูงขึ้นและแปรเปลี่ยนเป็นศักย์ที่ดำรงอยู่ ทั้งของระบอบทุน ของมนุษย์ทั้งการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปในทางกายภาพในการดำเนินชีวิตและศักยภาพทางปัญญาจิตวิญญาณ.....และระบอบแห่งสังคมต่างๆ...


โลกในยุคนี้ แนวคิดทางวิทยาศาสตร์กลศาสตร์แบบนิวตันกำลังเฟื่องฟู...การนำเอาหลักการในทางคณิตศาสตร์มาใช้ในการหาคำอธิบายทางเศรษฐศาสตร์จึงเกิดขึ้น...

ภายใต้การค้นคว้าหาค่าการตรวจวัดที่ให้ได้ค่าใกล้ความเป็นจริงมากที่สุด...สมการทางคณิตศาสตร์จึงถูกนำมาใช้อ้างอิง...
แบบจำลองทางเศรษฐมิติ...ในทางตัวเลขทางคณิตศาสตร์ล้วนต้องอ้างอิงกับค่าคงที่หนึ่งๆ...หรือการหาดัชนีสำคัญที่ชี้วัด...

ในการนำเสนอทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ของคาร์ล มาร์กซ ในยุคต่อมาโดยใช้หลักการวิเคราะห์สังคมและทุนที่เป็นหน่วยย่อยพื้นฐาน...

คาร์ล มาร์กซ ได้เสนอทฤษฎีมูลค่าส่วนเกิน หรือ  Theory of Surplus Value ...ขึ้นมาโดยให้การอธิบายถึง ถึง ทุน ก่อเกิดจากแรงงาน...และแรงงานเป็นสิ่งที่สร้างมูลค่า...โดยจะแบ่งเป็น มูลค่าทุนคงที่ มูลค่าทุนแปรผัน และมูลค่าทุนส่วนเกิน และได้สร้างสมการเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของมูลค่าเหล่านี้...

ในส่วนของมูลค่าส่วนเกิน...ซึ่งมาร์กซ ได้อธิบายถึงการเอารัดเอาเปรียบของนายทุน และร่ำรวยจากการขูดรีดแรงงานส่วนเกินของคนงาน และมีแนวคิดว่าในกระบวนวิวัฒนาการทางสังคมระบอบทุนนิยมเป็นระบอบที่จะต้องล่มสลาย และจะเกิดสังคมใหม่คือสังคมคอมมิวนิสต์ขึ้นมา ภายใต้การต่อสู้ของชนชั้นกรรมาชีพ...

องค์รวมพหุภาพทุน
และระบอบทุนนิยมแห่งสังคม(ต่อ)

.............................................


ภายใต้การประยุกต์หลักการทฤษฎีของ คาร์ล มาร์กซ นำไปสู่การสร้างรูปแบบแห่งรัฐแบบใหม่ที่ วลาร์ดิมีย์ อิลยิส เลนิน นำไปต่อสู้เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองสถาปนารัฐสังคมนิยมแห่งแรกคือสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต....หลังจากนั้น เหมาเจ๋อตง แห่งประเทศจีนก็นำไปประยุกต์ใช้ในการต่อสู้เพื่อปลดปล่อยประเทศจีน จากการครอบงำของมหาอำนาจและเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง....และอีกในหลายๆประเทศก็เจริญรอยตาม.....

ดังนั้น...จินตภาพของคำว่า ระบอบทุนนิยม ในความเข้าใจในแบบการอธิบายแบบมาร์กซิสต์จึงแพร่หลาย....และ เป็นสิ่งที่ผู้คนเชื่อว่า ทุนนิยม ก็คือความเลวร้ายและต้องเป็นเป้าหมายแห่งการทำลายล้าง...รวมไปถึงความเชื่อที่เชื่อว่า...วิวัฒนาการของสังคมในโลก ระบอบแห่งทุนนิยมก็คือระบอบที่ล้าหลังจะต้องล่มสลาย โดยมีสังคมใหม่เข้าแทนที่....

ความโน้มเอียงแห่งการคัดค้านต่อการพัฒนา ทุน จึงเกิดขึ้นในรูปแนวทางนโยบายและระบบความคิดของคนทั่วไป...ที่เชื่อว่า ทุน คือสิ่งที่ชั่วร้าย จึงเป็นผลทำให้เกิดการคัดค้านต่อการขยายศักยภาพทุน ขาดการการส่งเสริม การพัฒนา แห่งศักยภาพทุนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการนำมารับใช้มนุษย์ที่อยู่บนโลกมนุษย์....หากมิใช่มารับใช้บนจินตนาการแห่งความฝันอันเลื่อนลอยของโลกอุดมคติที่ห่างเหินแบบวิธีปฏิบัติที่สามารถกระทำได้อันสอดคล้องกับความเป็นจริง.....หรือไม่ก็บนพื้นฐานการทำลายล้างอย่างสุดขั้วอย่างเสรีที่กระทำต่อมนุษย์ด้วยกันบนโลก......ด้วยการทำลายล้างมนุษย์ผู้ซึ่งดำรงไว้ซึ่งศักยภาพทุน....นั่นก็คือการทำลายล้างทุนทั้งทางกายภาพและทางปัญญา-จิตวิญญาณ

..................................


วิวัฒนาการของ “ทุน”ในสังคมไทย



กระบวนการพัฒนาของ ระบอบทุนในสังคมไทยเป็นไปในรูปแบบของการวิวัฒนาการในการปรับเปลี่ยนทางดุลยภาพของทุน โดยรูปแบบการเปลี่ยนแปลงที่มีการปรับเปลี่ยนภายใต้การควบคุมการแปรเปลี่ยนกลไกกลางการแลกเปลี่ยน


ในสังคมบรรพกาล ของชุมชนบรรพกาลที่ตั้งอยู่บริเวณพื้นที่ที่เป็นอาณาเขตุของประเทศไทยปัจจุบัน มีการเกิดขึ้นของชุมชนในหลายๆแห่ง เช่นในภาคกลางบริเวณจังหวัดกาญจนบุรี,บริเวณภาคอีสานตอนกลาง และที่ติดแม่น้ำโขง หรือในบริเวณของภาคเหนือ ร่องรอยอารยธรรมเหล่านี้มีปรากฏให้เห็น เช่น ศักยภาพของทุนทางปัญญาในการทำเครื่องใช้สอย อันได้แก่เครื่องปั้นดินเผา เครื่องไม้เครื่องมือในการทำการผลิตต่างๆ

ข้อสันนิษฐานแบบวิถีชีวิตของชาวชุมชนบรรพกาล สามารถเทียบเคียงได้จากแบบวิถีชีวิตของชนชาติส่วนน้อยที่ดำรงชีวิตโดยสัมพันธ์กับโลกภายนอกที่น้อยมาก จะเห็นได้ถึงแบบวิถีแห่งการใช้ทุน หรือระบอบของทุนในบรรพกาล ที่มีกลไกการแลกเปลี่ยน ทางศักยภาพของทุน ที่เกิดจากศักยภาพทางร่างกายหรือทางกายภาพ และศักยภาพทางปัญญา-จิตวิญญาณ ว่ามีความสัมพันธ์ และมีพัฒนาการเป็นไปอย่างไร จากได้กล่าวในรายละเอียดมาแล้วใน เรื่อง นิยามและความหมาย ของทุน

การก้าวเข้าสู่สังคมที่มีรูปแบบของรัฐ ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ในยุคกว่า 1 พันปี ที่ผ่านมาหรือประมาณ พุทธศตวรรษที่ 11- 18 ได้เกิดมีเมือง หรือชุมชนเมืองขึ้น โดยมีเมืองเอกและเครือข่ายการขึ้นต่อหรือการยอมรับต่ออำนาจ โดยไม่มีอาณาเขตุหรือการครอบครองพื้นที่ที่แน่นอน ของรัฐนั้นๆ อันได้แก่ ทวารวดี , มอญ,ลพบุรี, ศรีวิชัย , ขอม, เจนละ,เชียงแสน,ศรีเทพ,โคราปุระ, สีโครตะบอง, ฯลฯ จนมาถึง ล้านช้าง,ล้านนา , พะเยา,สุโขทัย,ลพบุรี,สุพรรณบุรี , อยุธยาเป็นต้น โดยรัฐต่างๆต่างก็เป็นอิสระในการครอบครองทรัพยากรบริเวณนั้นชุมชนเมืองนั้นๆในการทำการผลิตและมีการแลกเปลี่ยนกับชุมชนอื่นๆ ที่อยู่ห่างไกลออกไป เช่น จีน,อินเดีย


ในยุคสุโขทัย ประมาณ ปลายพุทธศตวรรษที่ 17 จากหลักฐานทางศิลาจารึก ของพ่อขุนรามคำแหง ( ซึ่ง ปัจจุบันมีการโต้แย้งของนักวิชาการทางด้านโบราณคดี กันอยู่ว่าเป็นการจารึกขึ้นมาใหม่หรือไม่... ผู้เขียน อ้างอิงตามที่บันทึกแม้ว่าจะเป็นการโต้แย้งกันอยู่แต่มิใช่ประเด็นสำคัญ...แต่สิ่งที่นำเสนอคือการสะท้อนภาพแบบวิถีชีวิตของผู้คนในยุคนั้น...อันมีศิลาจารึกอีกหลายแห่งที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกัน...) จะเห็นได้ว่ามีการใช้นโยบายรูปแบบทางเศรษฐกิจ แบบเสรี ที่รัฐไม่ได้เก็บภาษี คือใครใคร่ค้าขายแลกเปลี่ยนก็ทำได้ โดย เจ้าเมืองไม่เอาจังกอบ


ระบบกลไกกลางแห่งรัฐสุโขทัยที่เกิดขึ้นสามารถทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนศักยภาพทุนที่เกิดดุลยภาพ ได้ดี เช่นประชาชนที่มีเรื่องเดือดร้อนก็สามารถร้องเรียนต่อ กลไกกลางการแลกเปลี่ยนศักยภาพทุนหรือกลไกอำนาจรัฐได้ หรือมีเรื่องเดือดร้อนใดๆก็ตาม กลไกกลางสามารถแก้ไขปัญหา หรือแสดงบทบาทที่ทำให้การแลกเปลี่ยนศักยภาพทุนเป็นไปอย่างมีดุลยภาพของชุมชนเมืองนั้นๆ

การยอมรับต่อตัวแทนที่ควบคุมกลไกกลางการแลกเปลี่ยนของประชาชน จึงเกิดขึ้นจากพื้นฐานของความเชื่อมั่นและความศรัทธาต่อการนำและการยอมรับต่อความมีอภิสิทธิ์ของผู้นำที่จะต้องเป็นไปของเงื่อนไขสถานการณ์ต่างๆในยุคนั้น ไพร่ฟ้าหน้าใส เป็นการสะท้อนถึงมาตรฐานชีวิตของประชาชน และความอุดมสมบูรณ์ ความมั่งคั่งของรายได้ประชาชาติยุคนั้นของรัฐสุโขทัย ที่ประชาชนมีดุลยภาพของการแลกเปลี่ยนศักยภาพทุนทางกาย และทางปัญญา

ตราบจนปลาย พุทธศตวรรษ ที่ 19 ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ รัฐอยุธยาได้มี การสร้าง กลไกกลางการแลกเปลี่ยนศักยภาพทุน ที่มีการรวมศูนย์สู่ส่วนกลางอย่างเป็นแบบแผน ในแนวทางนโยบายที่เสริมศักยภาพของกลไกกลางแห่งรัฐ หรือกลไกกลางการแลกเปลี่ยนศักยภาพทุนแห่งรัฐให้เข้มแข็งและเป็นปึกแผ่นของประชาชนที่สังกัดภายในรัฐ

ภายใต้สถานการณ์ที่มีความตึงเครียด กับการรุกรานเพื่อแย่งชิงทรัพยากรของรัฐจากรัฐที่ใกล้เคียงภายนอก และการแผ่อิทธิพลเข้ามาของรัฐอื่นๆในโลกเช่นจากทางตะวันตก ที่มีการแลกเปลี่ยน ทองคำ กับเทคโนโลยีการป้องกัน เช่น อาวุธ รัฐต่างๆมีการพัฒนากองกำลังอาวุธในการบุกยึดแย่งชิงทรัพยากร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความมั่งคั่งของรัฐ อยุธยา ที่อุดมสมบูรณ์ ไปด้วยผ้าไหมชั้นดี , ข้าว,ดินประสิว,ดีบุก ฯลฯ ที่สำคัญที่สุด คือทองคำ อันเกิดจากการขุดค้นและการสะสมจากการแลกเปลี่ยน อยุธยาจึงเป็นอาณาจักรที่มี จีดีพี และจีเอ็นพี สูงสุดในภูมิภาคนี้ในยุคนั้น ดินประสิว อันเป็นส่วนสำคัญ ในการสะสมไว้ของรัฐต่างๆในการสร้างเสริมศักยภาพทางอาวุธที่ใช้บรรจุปืนใหญ่ และ ปืนคาบศิลา เป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญสินค้าหนึ่งที่นำความมั่งคั่งมาสู่รัฐอยุธยา


ความเจริญรุ่งเรืองสูงสุดของรัฐชาติสมัยอยุธยาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีการสร้างความเป็นปึกแผ่นให้กับรัฐชาติ ที่มี ราชธานี หัวเมืองเอก หัวเมืองรองและเครือข่ายประเทศราช มีการสร้างความสัมพันธ์กับนานาประเทศ ที่ขยายขอบเขตุที่กว้างไกลออกไปถึงดินแดนโพ้นทะเลเช่นมหาอำนาจฝรั่งเศส

ในขณะที่เทคโนโลยีการคมนาคมทางเรือมีความก้าวหน้าขึ้นที่มีขีดความสามารถในการหาตำแหน่งทิศทางของแผ่นดินได้ถูกต้องในการเดินเรืออันเป็นผลจากวิทยาการด้านดาราศาสตร์ และการรู้จักใช้เข็มทิศในการเดินเรือ

ภายใต้การค้าแลกเปลี่ยนที่เป็นไปอย่างกว้างขวางจึงก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมและความก้าวหน้าด้านวิทยาการต่างๆเช่นด้านดาราศาสตร์,เทคโนโลยีด้านอาวุธ, การเดินเรือและกระบวนการผลิตต่างๆเช่นเครื่องปั้นดินเผา เป็นต้น
ความก้าวหน้าในเทคโนโลยีอาวุธของรัฐอยุธยา ถึงขั้นมีการส่งปืนใหญ่ซึ่งถือว่าเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุดในยุคนั้นไปขายถึงญี่ปุ่น

ในยุคนี้ มีการแต่งตั้ง ชาวต่างชาติ หลายประเทศเป็นที่ปรึกษา และดำรงตำแหน่งสำคัญในกิจการของรัฐ เช่น เจ้าพระยาวิชาเยนท์ จากโปรตุเกส ออกญาเสนาภิมุข จากญี่ปุ่น คณะที่ปรึกษาจากฝรั่งเศส คณะสอนศาสนาจากทางตะวันตก เป็นต้น จากอันตรกิริยาดังกล่าวจึงก่อให้ทุนแห่งรัฐอยุธยามีความแข็งแกร่งและเป็นรัฐที่มั่งคั่งที่มีการโยงใยไปในเอเชียแปซิฟิค ในเอเชียกลาง และในยุโรป

กรอบจริยธรรมทางพุทธศาสนาในสังคม ที่เผยแผ่เข้ามาในยุคนั้นโดยมีวัดเป็นสถาบันการถ่ายทอดทางปัญญา เป็นศูนย์กลางการถ่ายทอดศิลปวิทยาการทุกแขนง หรือการเสริมสร้างและการแลกเปลี่ยนศักยภาพทุนทางปัญญาของสังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับพื้นฐาน แม้แต่เหล่าขุนนางก็มีการสร้างวัดเพื่อคนในสังกัดของตน

จากการก่อรูปพื้นฐานทางวัฒนธรรมอันมีหลักแห่งพุทธศาสนาเป็นเครื่องชี้นำทั้งในระดับผู้กุมกลไกรัฐที่ต้องอาศัยเป็นที่ปรึกษาในราชการต่างๆ และรวมลงไปถึงระดับพื้นฐานที่ต้องอาศัยวัดเป็นที่เสริมสร้างภูมิปัญญา
จึงทำให้ไม่มีการเกิดขึ้นของทิศทางการพัฒนาระบบการซื้อขายมนุษย์เหมือนในทางสังคมตะวันตกหรือรัฐอื่นๆในโลกที่มีการผ่านของลักษณะสังคมทาสที่มีการเปิดตลาดซื้อขายมนุษย์เป็นสินค้า ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาของสังคมไทยลักษณะของสังคมไม่มีทิศทางการพัฒนาไปเช่นนั้นถ้าเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของสังคมทาสในทางภูมิภาคอื่นที่มีพัฒนาการไปเช่นนั้น เช่นการเกิดประเทศอเมริกาที่เกิดขึ้นหลังการเกิดรัฐสุโขทัยที่เกิดก่อนร่วม 5-6 ร้อยปี แต่ไม่มีระบบซื้อขายทาสเสรีเหมือนอเมริกาในรัฐสุโขทัย และยุคต่อๆมา เป็นต้น

ที่ตกเป็นทาสส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะเป็นเชลยศึก หรือไม่ก็เป็นการกวาดต้อนแรงงานเชลยศึกเพื่อมาสร้างเป็นรัฐกันชน หรือทำการผลิตในบริเวณรอบนอกเมือง หรือหัวเมืองชั้นรองลงไปโดยที่เชลยศึกเหล่านั้นยังมีอิสระในการดำรงชีพโดยมีสังกัดหรือตกเป็นไพร่

อีกทั้งลักษณะของเชลยศึกส่วนใหญ่จะเป็นวงศาคณาญาติของชนชั้นนำในรัฐที่พ่ายสงครามหรือไม่ก็เป็นปัญญาชนในยุคนั้นเช่นช่างฝีมือด้านต่างๆ การผ่อนคลายความเข้มงวด หรือการยอมรับในศักยภาพจึงมีสูงกว่าลักษณะที่ดูถูกเหยียดหยามว่าต่ำต้อยกว่าเชื้อชาติแห่งตน ผลที่เกิดขึ้นจึงเกิดเป็นการกว้านทุนทางปัญญาเพื่อมาสร้างความมั่งคั่งให้รัฐ จึงไม่เกิดลักษณะที่ว่ารัฐๆหนึ่งขายทาสให้อีกรัฐ หรือ มีการเปิดตลาดเสรีค้าทาสระหว่างรัฐ หรือการกระทำที่ยอมรับต่อการใช้อำนาจหรือการที่มีกองกำลังที่เหนือกว่ากวาดต้อนผู้คนไปขายอย่างเสรีเพื่อสร้างความมั่งคั่งแห่งรัฐ

แม้แต่การเข้ามาตั้งถิ่นฐานของชนชาติอื่นในรัฐกลับได้รับการคุ้มครองหรือมีอิสระมากกว่าไพร่ในสังกัดของคนในรัฐเสียอีกเช่นกลุ่มคนชนเชื้อสายจีนที่ต้องค่าธรรมเนียมเท่านั้นหรือค่าผูกปี้... โดยไม่ต้องสังกัดไพร่ กลุ่มนี้จึงมี การสะสมทุนได้สูง กว่าคนท้องถิ่น...

ในขณะที่ไพร่ต้องถูกเกณฑ์แรงงาน 6 เดือนเพื่อใช้แรงงานให้กับรัฐที่มีการกุมกลไกรัฐของชนชั้นนำ แรงงานที่ถูกเกณฑ์นอกจากทำการผลิตให้กับหน่วยที่ตนสังกัด ยังมีการสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน เพื่อประชาชนในรัฐได้ใช้ หรือไม่ก็เพื่อการป้องกันการรุกรานจากรัฐอื่น ไพร่จึงเหลือเวลาเพียงน้อยนิดในการสร้างผลผลิตและเพื่อการสะสมทุน...

ในยุครัตนโกสินทร์ สมัยที่มีการปฏิรูปครั้งใหญ่ใน รัชกาลที่5 ได้ทรงให้มีการเลิกระบบการเป็นทาส ทาสในลักษณะที่แตกต่างจากสังคมทางยุโรปและอเมริกาที่ใช้กำลังไปกวาดต้อนเพื่อทำการค้าและเปิดตลาดค้าขายกันอย่างเสรี จะเป็นลักษณะทาสในเรือนเบี้ย หรือที่มาเป็นทาสในลักษณะการชดใช้มูลหนี้ต่างๆเป็นหลัก...ตามกลไกกลางการแลกเปลี่ยนศักยภาพทุนในยุคนั้น

ในสมัยนี้ได้มีการปรับปรุงกลไกกลางการแลกเปลี่ยนศักยภาพทุนในทุกๆด้าน อันเป็นรากฐานต่อการแปรเปลี่ยนอย่างสันติหรือรักษาความมีดุลยภาพ เช่นการจัดตั้งสถานศึกษาต่างๆเพื่อเสริมสร้างศักยภาพทุนทางปัญญา การปรับปรุงสาธารณูปโภคขั้นมูลฐาน
ขณะที่มีการแผ่อิทธิพลเข้ามาของรัฐชาติตะวันตก เทคโนโลยีภายหลังจากที่มีการการปฏิวัติอุตสาหกรรมในตะวันตกหลั่งไหลเข้ามา พร้อมๆกับอารยธรรมยุคใหม่จากทางตะวันตกของระบอบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม ที่มีอุดมการณ์การปกครองแบบประชาธิปไตย

การเปลี่ยนแปลงการปกครองของไทย ที่เกิดขึ้น แบบสันติจึงเป็นกระบวนการของวิวัฒนาการ ไม่ใช่ลักษณะของการพัฒนาในแบบที่เรียกว่าเป็นการปฏิวัติ ทั้งนี้เนื่องจากเป็นการเกิดขึ้นของความต้องการที่จะปรับเปลี่ยนของกลุ่มชนชั้นนำที่ร่วมกับกลุ่มเท็คโนแครตซึ่งเป็นชนชั้นปกครองในสังคมเอง ที่จริงแล้วถึงไม่ใช้กำลังทหารยึดอำนาจ ก็จะต้องเกิดการปรับเปลี่ยนอยู่แล้วทั้งนี้เนื่องจาก ชนชั้นนำยุคนั้นล้วนมีรากฐานการศึกษาจากตะวันตกที่มีแนวคิดแบบประชาธิปไตย

การเปลี่ยนแปลงโดยโครงสร้างชั้นบนที่มีการควบคุมการแปรเปลี่ยนให้อยู่ในสภาวะที่มีดุลยภาพ โดยไม่ได้เป็นผลอันเกิดจากขบวนการลุกฮือเคลื่อนไหวของประชาชนทั้งประเทศหรือในสิ่งที่เรียกว่าการปฏิวัติ
ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นก็ไม่อาจคาดหมายได้ว่าจะมีการสูญเสียชีวิตเท่าไหร่ของการต่อสู้ทางความคิดและจากสภาวะปฏิกิริยาลูกโซ่ที่เกิดขึ้นอันจะต้องเป็นไปในทิศทางที่ไร้ระเบียบ ถ้าหากขาดองค์กรนำ หรือมีการนำที่ไร้ทิศทางที่ถูกต้อง

การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 จึงเป็นกระบวนการของวิวัฒนาการ ที่ เกิดจากกระบวนการสร้างตนเองขึ้นใหม่อันเป็นวิวัฒนาการของกลุ่มชนชั้นนำในสังคมจึงไม่ใช่เป็นกระบวนการปฏิวัติในทางการเมือง ที่มีลักษณะขบวนการล้มล้างแบบถอนรากถอนโคนของระบบองค์รวมทั้งระบบในประเทศอันรวมไปถึงรูปการจิตสำนึกต่างๆ...

กระบวนการวิวัฒนาการของทุน ในไทยจึงมีการปรับเปลี่ยนภายใต้การเปลี่ยนถ่ายอำนาจอย่างสันติ กลุ่มที่มีการสะสมทุนมากก็คือกลุ่มชนชั้นนำในสังคม กลุ่มพ่อค้าจีนและต่างชาติอื่นๆที่มีการสะสมทุน จากการที่ไม่ต้องตกเป็นไพร่ คือจ่ายเฉพาะค่าธรรมเนียม นอกจากนั้นกลุ่มเหล่านี้ มี แนวคิด ของระบบอุปถัมภ์ ที่ไม่เหนียวแน่นเท่ากลุ่มที่เคยสังกัดไพร่ และมีแนวคิดที่ทันสมัยกว่ากลุ่มอื่น เช่นระบบการประมูลเป็นนายอากรบ่อนเบี้ย เมื่อมีการเรียกเก็บภาษีอากรที่สูงชนชั้นนำที่รับผิดชอบสามารถโยนความผิดมาให้นายอากรได้ เมื่อนายอากรเหล่านี้มีการสะสมทุนที่สูงมากต่อมาก็มีอำนาจทางการเมืองอันสามารถมีศักดินาในที่ดินและมีไพร่ในสังกัด รวมทั้งมีการดำเนินธุรกิจการเมืองแบบผูกขาด เช่นสัมปทานในด้านต่างๆที่มีสัมพันธ์กับทุนต่างชาติ และ เมื่อสังคมโลกเปลี่ยนไปทุนเหล่านี้จึงกลายมาเป็น ทุนของเอกชนที่มีขนาดใหญ่ในชาติ

ในขณะที่กลุ่มที่ มีการครอบครองที่ดินไว้จำนวนมากและมีไพร่ในสังกัดเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของระบอบการผลิต และทางการเมือง ศักดินาที่มีจึงเป็นเพียงตำแหน่งแต่มีระบบของเบี้ยหวัดหรือเงินเดือนแทนตามกลไกที่รับผิดชอบ จึงมีเพียงที่ดินในบางแห่งอันเป็นทำเลดี หรือมีทรัพยากรทางธรรมชาติที่ดียังมีการถือครองไว้ ทั้งนี้เนื่องจากภาระในการเลี้ยงดูคนจำนวนมากที่เป็นไพร่อันเป็นภาระหนัก ไพร่จึงได้รับการปลดปล่อย
ในขณะที่บางกลุ่มที่ต้องเลี้ยงดูคนในสังกัดที่ยังสมัครใจขออยู่ในสังกัด ตามความสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์ของไทย ย่อม สูญเสียศักยภาพแห่งการสะสมทุนหรือศักยภาพในการออม กลุ่มเหล่านี้จึงเป็นเติบโตมาเป็นกลุ่มทุนขนาดกลางในภูมิภาคและส่วนกลาง วัฒนธรรมระบอบอุปถัมภ์ประกอบกับวัฒนธรรม การมีภรรยาหลายคนของชนชั้นนำในยุคนั้น เช่นบางคนมีหลายสิบคน ย่อมก่อเกิดบุตรหลานมากมาย ซึ่งบางคนในยุคนั้นมีบุตรถึง 30 – 40 คน ที่จะต้องดูแลอยู่ในสังกัด ยังไม่รวมที่เกิดจากไพร่ในสังกัดอีก อันก่อเป็นระบบสายสัมพันธ์ของเครือญาติที่ขยายวงกว้างขวางออกไปอีก การกระจายของทุนจึงแตกตัวกว้างขวางออกไป เชื่อมโยงใยกับกลุ่มทุนที่มีเชื้อสายมาจากต่างชาติของยุคนั้น

ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 การอพยพของชาวจีนกระจายไปทั่วโลก ในการมาตั้งถิ่นฐานในไทยมีจำนวนสูงมาก ภายใต้สายสัมพันธ์ทุนทางสังคมหรือการใช้ศักยภาพทางสังคมอันก่อให้เกิดทุนเช่น เชื้อชาติ ,แซ่ เดียวกัน วัฒนธรรมความเชื่อที่เป็นแบบเดียวกัน

ในขณะที่ในจีนเองก็ถูกครอบครองจากจักรวรรดินิยมและมีกฎหมายที่รุนแรงกับคนจีนในการกลับคืนประเทศ เป็นสิ่งที่ผลักดันให้ชาวจีนโพ้นทะเล ร่วมมือและสนับสนุนซึ่งกันและกันในการทำการค้า อันมีพื้นฐานที่มีความเชี่ยวชาญกว่าคนท้องถิ่น จึงมีการสะสมทุนที่รวดเร็ว และเป็นกลุ่มทุนที่มีขนาดใหญ่ในประเทศและในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์

และทุนส่วนนี้จึงกลายมาเป็นทุนขนาดใหญ่ในประเทศเมื่อมีสายสัมพันธ์ กับกลุ่มกลไกอำนาจรัฐ เพื่อให้ได้สิทธิในการผูกขาดด้านต่างๆยิ่งเพิ่มความแข็งแกร่งของทุน อันเป็นรากฐานของระบบธุรกิจการเมืองไทยปัจจุบัน

การเกิดขึ้นของระบบเจ้าพ่อมาเฟียในส่วนกลางและภูมิภาค ก็เช่นกันเป็นผลพวงจากการหาช่องว่างของกฎหมาย หรือการร่วมมือของผู้กุมกลไกรัฐที่ไม่มีการควบคุมโดยให้อภิสิทธิ์ หรือมีการปรับเปลี่ยนกลไกกลางการแลกเปลี่ยนศักยภาพทุน อันมีผลให้กลุ่มเหล่านี้ได้เปรียบในทางสังคม และปรับบทบาทแห่งทุนเหล่านั้นสู่การแสวงหาผลประโยชน์ด้วยอำนาจอิทธิพลทางการเมือง กลุ่มเหล่านี้เป็นสิ่งที่ขัดขวางต่อการสร้างดุลยภาพของทุนต่างๆในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเติบโตของทุนขนาดเล็ก และ ขนาดกลางในชนบท
กลุ่มเหล่านี้จึงเป็นเป้าหมายในการที่จะต้องจำกัดบทบาทและลดศักยภาพของทุนเหล่านี้ลง ทั้งนี้ศักยภาพเหล่านี้ล้วนเป็นศักยภาพที่สร้างผลลบที่สร้างปัญหาในด้านต่างๆให้กับสังคม เช่น ยาเสพติด โจรผู้ร้าย การคอร์รัปชั่น ฯลฯ และขัดขวางต่อการสร้างดุลยภาพของทุนในองค์รวมของระบบ

จากการพัฒนาของทุนที่ขาดดุลยภาพดังกล่าว ทุน ในสังคมไทยจึงมีการกระจุกตัวอยู่ที่คนจำนวนน้อยในสังคมที่มีบทบาทกุมกลไกกลางของการแลกเปลี่ยน ในขณะที่คนส่วนใหญ่ขาดโอกาสในการสะสมทุน หรือมีการสะสมได้น้อย จึงเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆมากมายในสังคมไทยปัจจุบัน อันเป็นผลพวงจากการขาดดุลยภาพของทุน โดยจะต้องมีนโยบายในการสร้างเสริมขึ้นในส่วนที่ขาดดุลยภาพ มีการจำกัดบทบาทศักยภาพทุนลักษณะที่เป็นพันธนาการขัดขวางหรือทุนที่ไร้ศีลธรรม และส่งเสริมต่อทุนขนาดใหญ่ในเวทีสากลเพื่อเปิดโอกาสให้ทุนระดับล่างได้งอกเงย


กระบวนทัศน์องค์รวมพหุภาพในกรอบอ้างอิง9มิติ


…...เป็นแนวความคิดเห็นส่วนตัวที่ผู้เขียนคิดขึ้นเมื่อ10 กว่าปีที่แล้วและนำมาปรับปรุงเขียนบันทึกใหม่ในบล็อกแห่งหนึ่ง....โปรดใช้วิจารณญาณ...ในการทำความเข้าใจ...
.......การนำเผยแพร่จุดมุ่งหมายก็เพื่อจุดประกายแนวคิดใหม่ๆ.....กระตุ้นให้กล้าคิดออกไปนอกกรอบเดิมที่มี....ให้มีการพัฒนาต่อไปบนพื้นฐานแห่งการแสวงหาสัจจะจากความเป็นจริง...เพื่อหาแบบวิธีตรวจวัดปรากฏการณ์ต่างๆให้ใกล้เคียงความเป็นจริงยิ่งขึ้น....
.......ขอนำเสนอ เรื่องกระบวนทัศน์ก่อนเพราะเป็นพื้นฐานในการวิเคราะห์ปรากฎการณ์ใดๆทั้งทางวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ...และวิทยาศาสตร์สังคม...

.......ในหัวข้อที่จะกล่าวต่อไปนี้เป็นเพียงการทำความเข้าใจในกรอบแนวคิดเบื้องต้น.....และจะกล่าวเพิ่มเติมรายละเอียดในหัวข้อ...ฟิสิกส์หัวแม่เท้า...หรือฟิสิกส์ระบำปลายเท้า (TOE หรือ Theory Of Everything )

....................................................................................................

ฟิสิกส์ปรัชญา:

กระบวนทัศน์แบบองค์รวมพหุภาพ
ในกรอบอ้างอิง9มิติ


กระบวนทัศน์(paradigm)หมายถึงความคิดหรือทัศนะพื้นฐานในการมองโลก อันเป็นแบบจำลองหรือ แบบกระสวนในทางความคิด เป็นองค์รวมของรูปแบบ กระบวนการ กรรมวิธีในการคิด โลกทัศน์ในการคิด อันเชื่อมโยงไปถึง ญาณทัศน์ ปัญญาทัศน์ หรือวิสัยทัศน์ ของคนเราในการมองโลก

การจำแนกกระบวนทัศน์ เป็นประเภทใหญ่ๆได้แก่

กระบวนทัศน์แบบแยกส่วนย่อย(reduction)
กระบวนทัศน์แบบการสรุปรวบยอด ( deduction)
กระบวนทัศน์แบบองค์รวม(holistic)

องค์รวม(holistic) มาจากคำว่าholos(whole) ในภาษากรีก....หมายถึงทัศนะที่ถือว่าความเป็นจริงทั้งหมดของสิ่งใดย่อมมีคุณสมบัติสำคัญเฉพาะตนซึ่งไม่สามารถจะเข้าใจได้ด้วยวิธีการแยกสิ่งนั้นออกเป็นส่วนย่อยๆแล้วศึกษาจากคุณสมบัติของส่วนย่อยๆนั้น...แม้จะเอาคุณสมบัติส่วนย่อยนั้นๆมารวมกันก็ไม่สามารถเทียบความหมายหรือความสำคัญกับคุณสมบัติองค์รวมเดิมได้.....( ดูคำอธิบายเพิ่มเติมจาก หนังสือ จุดเปลี่ยนแห่งศตวรรษ แปลโดย พระไพศาล วิสาโล และทีมงาน แปลจาก The Turning Point เขียนโดย Fritjof Capra นักฟิสิกส์ชาวออสเตรีย พิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี2529 หรือเมื่อ 20 ปีที่แล้วโดยสำนักพิมพ์มูลนิธิโกมล คีมทอง )


ในการทำความเข้าใจต่อธรรมชาติและสิ่งต่างๆของมนุษย์หากจำแนกเป็นประเภทใหญ่ๆในกระบวนการรับรู้หรือปรัชญาในการคิดและความเชื่อ....จำแนกได้เป็น

จักรวาลวิทยา.....อันได้แก่ กรอบแนวคิดที่อธิบายว่า โลก จักรวาล เป็นอย่างไร มีกำเนิดมาอย่างไร...เป็นต้นในกรอบนี้จำแนกแนวคิดใหญ่ๆ คือ โลกแห่งวัตถุ และโลกแห่งจิต...เป็นต้น

ปัญญาวิทยา หรือญาณวิทยา (episternology) จะอธิบายถึง กระบวนการรับรู้ของมนุษย์ว่าเกิดจากอะไร....ซึ่งจะจำแนกออกไปหลายประเภทหลายแนวคิด...เช่นแบบประจักษ์นิยม แบบปฏิบัตินิยม แบบญาณทัศน์(intuition)หรือแบบรหัสนัย เป็นต้น หรือแยกเป็นประเภทใหญ่ๆคือแบบจิตนิยมและวัตถุนิยม

มรรควิทยา(methodology) จะเป็นกรอบของแนวคิด และทฤษฎี หรือเครื่องมือการวิเคราะห์ รวมทั้งตรรกวิทยา อันเป็นการให้เหตุและผล

ปรัชญาหลักๆในการคิด เมื่อจำแนกประเภทจะเห็นได้ว่า มี การแยกส่วนเป็น2 ประเภทใหญ่ๆคือ...วัตถุ และจิต

กรอบแนวคิดแบบองค์รวม (holistic) ถือความเป็นเอกภาพของวัตถุและจิต อันประกอบเป็นองค์เอกภาพที่มีคุณสมบัติเฉพาะสิ่ง....และแสดงออกเป็นคุณสมบัติขององค์รวมนั้นๆ...โดยไม่อาจจะแยกส่วนออกมาโดดๆได้.....


มิติแห่งองค์รวมพหุภาพ

การรับรู้ใดๆของมนุษย์ล้วนแล้วมีกรอบแห่งการอ้างอิงทั้งสิ้น.....กรอบอ้างอิง(reference frame) แกนอ้างอิง หรือผู้สังเกตุ
โดยปกติแล้วมนุษย์ทุกคนที่เป็นผู้สังเกตุ มักจะเอาตนเองเป็นศูนย์กลางของสรรพสิ่ง....ใช้การรับรู้ทางอายตนะ และทางปัญญาที่ตนเองมีเป็นเครื่องวัด และตัดสิน

ข้อจำกัดการรับรู้ใดๆล้วนแล้วอยู่ภายใต้กรอบ(frame) และขอบเขตุ(scope) ของสิ่งที่สังเกตุและข้อจำกัดของผู้สังเกตุ....

ดังนั้น สิ่งที่เรียกว่า สัจจธรรมสัมพัทธ์ และสัจจธรรมสัมบูรณ์ จึงเป็นเพียงค่าประมาณการที่มีขอบเขตุอันแตกต่างกัน เท่านั้น

การวิเคราะห์โดยการขยายขอบเขตุ มิติ (dimension)ในการวิเคราะห์เป็นการเพิ่มมุมมองในการวิเคราะห์ปัญหาหากแต่ว่าจะต้อง พิจารณาในแง่ขององค์รวม นั่นคือมิติแห่งองค์รวมพหุภาพ...

การวิเคราะห์ในแบบกรอบอ้างอิง 9 มิติ

การค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์จากอดีตถึงปัจจุบัน ในทางวิทยาศาสตร์ได้อธิบายให้เห็นว่าโลกวัตถุปัจจุบัน ก็คือการเกาะเกี่ยวกันของสนามแรงที่ประสานกันเป็นตาข่าย ความแตกต่างก็เพียงแค่ความเข้มข้นของการประกอบกันขึ้นของสนามแรง สนามแรงเท่าที่มนุษย์ค้นพบประกอบไปด้วย 4 สนามแรงได้แก่ สนามแรงแม่เหล็กไฟฟ้า สนามแรงโน้มถ่วง สนามแรงนิวเคลียร์พลังสูง สนามแรงนิวเคลียร์พลังต่ำ.....ภายใต้การประกอบกันเป็นคอนตรินิวอัม(continuum) หรือความต่อเนื่องของเหตุการณ์ ภายใต้กาลาวกาศ(space-time) แบบ 4 มิติ....คือ มิติกว้าง มิติยาว มิติหนาหรือสูง และมิติเวลา...

หากเราดูตัวอย่างง่ายๆในความต่อเนื่องจะเห็นได้จากการฉายภาพยนต์ ภาพที่เราเห็นประมาณ24ภาพต่อวินาที ที่เดินมาอย่างต่อเนื่องถึงสายตาของเราภายใต้กรอบเฟรมภาพ หรือขนาดของสเปกของภาพที่เข้าไปแทนที่ในที่ว่างแห่งเหตุการณ์(ที่ว่างตามจินตภาพภายใต้กรอบอ้างอิง) การเกิดและดับตลอดเวลาที่แบบชุดข้อมูลเดินทางมาอย่างต่อเนื่อง.....

จักรวาลนี้มีแค่ 4 สนามแรง จริงหรือ?.....และกรอบแห่งการคิดใดๆของมนุษย์ มีแค่ 4มิติ จริงหรือ?......

คำตอบคงไม่ใช่...จักรวาลอันกว้างใหญ่และคงไม่มีเพียงแค่กรอบอ้างอิงแค่นี้เท่านั้นจึงจะยืนยันได้ว่าเป็นสัจจธรรม....เป็นวิทยาศาสตร์...

และมนุษย์ก็คงไม่จำกัดตนเองกับเครื่องมือค้นคว้า....เพียงแค่นี้เท่านั้น....

ในกรอบการวิเคราะห์แบบ 9 มิติจะเป็นการอธิบายถึง...มิติที่5เงา...มิติที่6 วงแหวน...มิติที่7การทับซ้อนทางกายภาพหรือพหุภาพทางกายภาพ...มิติที่8การทับซ้อนของเวลาหรือพหุภาพเวลา...มิติที่9องค์รวมพหุภาพ...หรือมิติแห่งองค์รวมทั้งหมดที่กล่าวถึง...

มิติที่5 มิติเงา...

เงา...ดังได้กล่าวมาแล้วคือมิติหนึ่งที่ดำรงอยู่ของวัตถุ...อันเกิดจากอันตรกิริยาของวัตถุนั้นๆกับภายนอกซึ่งรวมไปถึงผู้สังเกตุ....มิติเงา...หากจำแนกให้เห็นถึงการดำรงอยู่หรือในสถานะมิติหนึ่ง....จำแนกเป็นประเภทใหญ่ๆคือ....

เงาในเชิงรูปธรรม เป็นการตรวจวัด อันตรกริยาต่างๆ ณ. เวลานั้นๆ...เช่นเงาแห่งอดีต...เงา ณ.เวลาอ้างอิง และเงาแห่งอนาคต...ซึ่งเป็นผลจากอันตรกิริยาของวัตถุกับภายนอก..ณ.เวลาอ้างอิงของผู้สังเกตุ...

เงาในเชิงนามธรรม เช่นโลกเสมือน....ความสัมพันธ์ระยะไกลที่มีความเร็วสูง...จินตนาการ...ความคิด...เครดิต...ผลกระทบจากการกระทำต่างๆ เป็นต้น

การตรวจวัดขอบเขตเชิงปริมาณของเงาหรือผลที่เกิดขึ้นจากการดำรงอยู่ของวัตถุนั้นๆที่มีอันตรกิริยากับภายนอก......การวัดจำนวนปริมาณหรือตำแหน่งแห่งที่ที่แน่นอนตรวจวัดได้จากการกำหนดกรอบแห่งอันตรกิริยา....ตัวอย่างเช่น....การเกิดคลื่นสึนามิ...แม้ว่ามีการเกิดขึ้นมาจากการตรวจวัดปรากฏการณ์ได้ และสิ้นสุดลงในรูปพลังงานคลื่นที่ซัดชายฝั่งในวันที่ 26 ธันวาคม 47....แต่ว่า....มิติเงาแห่งสึนามิ...ยังดำรงอยู่...และกระทำอันตรกิริยากับสิ่งต่างๆอย่างต่อเนื่องและกระบวนการของปฏิกิริยาลูกโซ่ต่างๆ......

เช่น...ผลกระทบในขอบเขตุต่างๆหรือกรอบอ้างอิงภายใต้การสังเกตุ....ผลกระทบด้านด้านจิตใจหรือจิตวิญญาณ.....รูปธรรมเช่นถ้าเราวิเคราะห์ในกรอบขอบเขตุการวิเคราะห์ในประเด็นเรื่อง ธุรกิจท่องเที่ยวชายทะเล...จะเห็นได้ว่าสุนทรียภาพเกี่ยวกับความงามของทะเลของคนหลายล้านคนบนโลกนี้ได้เปลี่ยนไป...

นอกเหนือจากคนหลายล้านคนที่สูญเสียญาติพี่น้อง.....คนอีกหลายล้านบนโลกที่รับรู้ข้อมูลข่าวสารทั้งจากภาพทางสื่อสารมวลชน...และไปสัมผัสเอง...

ความงามของทะเล....ที่เคยมองอย่างด้านเดียว...ปัจจุบันก็มองเห็นมหันตภัยที่ควบคู่ความงามเหล่านั้นด้วย....และลึกลงไปถึงความเชื่อของคนจำนวนมากที่...มีความกลัวผี.....

และเงาแห่ง สึนามิก็จะดำรงอยู่เป็นเงาแห่งความทรงจำของผู้คนไปอีกนาน....

สุนทรียภาพที่เปลี่ยนไปเหล่านี้....ไม่ได้หมายความว่าจะลดทอนการท่องเที่ยวของคนน้อยลงในอนาคต...หากแต่ว่าจะปรับเปลี่ยนสุนทรียภาพใหม่...เช่น...การเกิดเครือข่าย...ผู้สูญเสียของสึนามิ....เป็นเครือข่ายที่แสดงออกในลักษณะภราดรภาพ...หรือความเป็นพี่น้อง...ของมนุษยชาติที่ประสบชะตากรรมเดียวกัน.....

ดังนั้น...การมาเที่ยวอีกครั้ง...ไม่ใช่เพียงดูความงามแห่งทะเล...หากยังมีความรู้สึกที่จะต้องมารำลึกถึงดินแดนแห่งประวัติศาสตร์แห่งมหันตภัย.....ที่เขาต้องสูญเสียคนที่เขารัก....และมวลมนุษยชาติ...

ทั้งหมดนี้ล้วนแล้วคืออันตรกิริยา...อันเกิดจากมิติแห่งเงา...ของสึนามิ...

เพื่อที่จะทำความเข้าใจในสิ่งที่ผู้เขียนจะสื่อความหมาย...จึงขอทำความเข้าในในนิยามต่างๆที่ผู้เขียนใช้อธิบายดังนี้....

ความต่อเนื่องของเหตุการณ์
และความต่อเนื่องแห่งการขาดหายไปของเหตุการณ์

การตรวจวัดใดๆล้วนแล้วมีข้อจำกัดภายใต้กรอบและขอบเขตุอ้างอิงและผู้สังเกตุ...ดังตัวอย่างที่ได้กล่าวมาในตอนที่แล้ว....เช่นการมองเห็นภาพที่เคลื่อนไหวของภาพยนตร์ที่วิ่งมาถึงสายตาคนเราอย่างต่อเนื่อง...ตามค่าคงที่ความเร็วแสง...ในอัตรา24ภาพต่อวินาที....

จะเห็นได้ว่าเหตุการณ์...ที่ผู้สังเกตุผุ้นั้นจะรับรู้ได้เพียงภาพที่มีความเร็วที่ต่อเนื่องในขอบเขตุจำกัดระยะหนึ่ง...นั่นคือการรับรู้ของมนุษย์ด้วยอายตนะมีขีดจำกัดและรับรู้ได้เพียงน้อยนิดแค่เศษเสี้ยวธุลีแห่งการดำรงอยู่ของความต่อเนื่องของเหตุการณ์ที่มีความต่อเนื่องด้วยความเร็วที่สูงขึ้นที่มีการดำรงอยู่ในธรรมชาติ....หากจำแนกระดับความเร็วในความต่อเนื่องของภาพหลายล้านๆ...จนถึงอนันต์...แห่งความถี่ต่างๆ...

สิ่งที่มนุษย์รับรู้ไม่ได้ด้วยอายตนะไม่ได้หมายความว่าไม่มีการดำรงอยู่ของเหตุการณ์....

สิ่งเหล่านี้จะขอเรียกว่า....ความต่อเนื่องแห่งการขาดหายไปของเหตุการณ์...

มนุษย์จึงไม่ควรเย่อหยิ่ง....หลงลำพองในอวิชชา....เพราะเป็นแค่เศษเสี้ยวธุลีแห่งองค์ความรู้ในจักรวาล.....

ในการอธิบายสิ่งที่เป็นนามธรรม.....และมีการดำรงอยู่อย่างเปรียบเทียบภายใต้กรอบอ้างอิงหรืออย่างมีเงื่อนไขหรืออย่างสัมพัทธ์....โดยทั่วไปจะใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์....อธิบาย..

ปรัชญาคณิตศาสตร์แห่งการต่อเนื่องของความขาดหายของเหตุการณ์

ปรัชญา หรือ หลักการให้เหตุผลในทางคณิตศาสตร์ ที่มีการพัฒนามาในอดีตและจนถึงปัจจุบัน เพื่อที่จะอธิบายถึงความเป็นจริงในการตรวจวัดจำนวน ปริมาณ ที่ดำรงอยู่ในทางธรรมชาติ โดยวิธีการเปรียบเทียบหรือการให้เหตุผลในกระบวนการความสัมพันธ์ต่างๆของธรรมชาติ กับ การตรวจวัดต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใด โดยมีกรอบอ้างอิงกับกฎหรือสูตรของธรรมชาติ มาเปรียบเทียบกับสิ่งที่ตรวจวัด

ซึ่งการพัฒนาทางคณิตศาสตร์ปัจจุบันได้แตกสาขาออกไปมากมาย และ เป็นการเปรียบเทียบในเชิงวิเคราะห์กับการสังเคราะห์ หรือ การอธิบายในเชิงรูปนัย มากกว่าที่จะหาความจริงในรูปของ อรูปนัย เช่นถ้า คน กิน ข้าวเป็นจริง หมากิน ข้าวเป็นจริง คนและหมาต่างก็อยู่ในเซต เดียวกันคือเป็นสัตว์ แล้วก็สรุปง่ายๆว่า คน เท่ากับ หรืออาจเท่ากับ หมา เป็นต้น

ปรัชญาในทางคณิตศาสตร์ จริงๆแล้วก็คือ การจัดความสัมพันธ์ ของ สิ่งที่เรียกว่า ความรู้แบบ อะไพรออริ ( a priori knowledge ) หรือความรู้ที่ไม่ต้องมีการอ้างเหตุผลสนับสนุนโดยอาศัยประสบการณ์ กับความรู้ แบบ อะโพสเทอริออริ( a posteriori knowledge ) หรือความรู้ เชิงประสบการณ์

ทั้งนี้ เนื่องจากการคาดหมาย,การพยากรณ์ ถึงสิ่ง ที่ไม่มีรูปธรรมหรือยังไม่เกิดขึ้น ก็มีความเป็นไปได้ในความเป็นจริงของธรรมชาติที่มีการดำรงอยู่ และขณะเดียวกัน ข้อจำกัดในกรอบอ้างอิงทางคณิตศาสตร์ ยังมีอีกมากมาย เช่น ค่าอนันต์ ที่ไม่สามารถรู้แน่นอนได้

หรือค่าประมาณการ ของค่าคงที่ใดๆในทางคณิตศาสตร์มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทั้งขอบเขตุปริมาณและคุณภาพ หรือเชิงคุณภาพของค่าใกล้เคียงความเป็นจริง ดังนั้น จึงไม่สามารถที่จะถือว่า กฎเกณฑ์ ทางคณิตศาสตร์ เป็นกฎแห่งความบริบูรณ์ ( completeness) ที่จะอธิบายสรรพสิ่งได้โดยปราศจากการตีความหรือการพิสูจน์ปรากฏการณ์ที่เป็นจริงในทางธรรมชาติ

การจัดความสัมพันธ์ในการรับรู้ทั้ง 2 แบบก็คือ การจัดความสัมพันธ์ของความรับรู้ในเชิงจินตนาการ กับ การเกิดขึ้นจริง เพื่อจะหาค่าประมาณการณ์ที่ใกล้เคียงกับสิ่งที่เรียกว่าปัจจุบัน ให้ใกล้เคียงที่สุด
ปรัชญาคณิตศาสตร์แห่งการขาดหายของเหตุการณ์ ถือว่าสิ่งที่เราเรียกว่าปัจจุบัน ในทางคณิตศาสตร์ ก็ คือ ฟังชั่น หรือหน่วยที่เราจะตรวจวัด ที่มี ความสมมาตรกันกับค่าธรรมชาติ หรือเรียกว่าฟังชั่นของค่าธรรมชาติ ซึ่งจะเป็นไปในรูปของการทับซ้อน ของ กาลาวกาศ คือ เป็น ค่าของ รูปธรรมองค์รวมอันเกิดจาก อดีต และค่าของรูปธรรมองค์รวมอนาคต ที่ทับซ้อนกันเป็นค่าขององค์รวมปัจจุบันสมมุติ

ซึ่งอาจจะเหมือนดังรูปทรง ของ ไฮเพอร์โบลา ที่ตั้งบนแกนสมมาตรเดียวกัน ซึ่งเป็นแกนหลัก และมี แกนรองในแนวตั้ง วงโค้งทั้งสองด้านซ้ายและขวา ต่างล้ำจากจุดกลางของแกนรองล้ำเลยแกนกลางเข้ามาในแต่ละข้างเหลื่อมทับกัน จุดโฟกัสที่เกิดขึ้นมาใหม่ อันเป็นจุดแห่งดุลยภาพหรือจุดที่สมมาตร ย่อมไม่ใช่จุดที่แกน x และ แกน y ที่ตัดกันในจินตภาพหรือกรอบแนวคิดแบบเดิม หากเป็น การตัดกันที่แกนกลางสมมุติในเชิงจินตภาพที่เป็นนามธรรมของจุดใหม่ที่เกิดขึ้น ของเหตุการณปัจจุบันของอดีตและเหตุการณ์ปัจจุบันของอนาคต และจุดๆนี้ก็คือจุดปัจจุบันสมมุติของปัจจุบันดังภาพ...

การตรวจวัดในทางคณิตศาสตร์ล้วนอยู่บนกรอบและขอบเขตุที่อ้างอิง….เช่นอ้างอิงกับค่าคงที่....และความจริงที่ได้ก็คือการตรวจวัดสิ่งที่หยุดนิ่งอย่างสัมพัทธ์....

เมื่อทุกสิ่งทุกอย่างในจักรวาลมีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา...ไม่มีสิ่งใดหยุดนิ่ง..การตรวจวัดในสิ่งที่เรียกว่าปัจจุบันก็คือการตรวจวัดประมาณการภายใต้ขอบเขตุและกรอบอ้างอิง...ในเวลาที่หยุดนิ่งอย่างสัมพัทธ์...จากผู้สังเกตุหรือวัตถุที่สังเกตุ...

สิ่งต่างๆที่ดำรงอยู่ภายใต้กรอบมิติที่ดำรงอยู่ในที่ว่างและดำเนินไปเป็นความต่อเนื่องของเหตุการณ์....ไม่เพียงแต่มีความต่อเนื่องของเหตุการณ์...หากแต่ว่ายังมีสิ่งที่เรียกว่าความต่อเนื่องของการขาดหายไปแห่งเหตุการณ์ยังดำเนินไปควบคู่กัน.....ภายใต้ข้อจำกัดในการตรวจวัดของมนุษย์....

ค่าจินตภาพปัจจุบันแห่งเหตุการณ์ที่ได้จึงไม่ใช่ค่าจำนวนจินตภาพในแบบเดิมคือ ค่าของการจำลองแบบจากจำนวนจริงของเหตุการณ์ในค่าบวก หรือ การจำลองแบบจำนวนจริงของเหตุการณ์ที่มีทิศทางตรงกันข้ามซึ่งคือค่าลบ การวิเคราะห์ในเชิงเรขาคณิต หรือการหาค่าความน่าจะเป็นไปได้ ก็จะได้เพียงค่าประมาณการของทิศทาง ที่เป็นไปได้ในอนาคตของอดีต หรือทิศทางที่ตำแหน่งแห่งที่ที่มีความเป็นไปได้ของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นของสิ่งที่เรียกว่าปัจจุบันตามความหมายที่เราเข้าใจอันเป็นจุดสมมติแห่งการหยุดนิ่งอย่างสัมพัทธ์....

ตัวอย่างเช่นในวิชาแคลคูลัส ซึ่งถือ ว่า 0 คือจุดวิกฤตหรือจุดที่หาค่าไม่ได้ หรือมีค่าอนันต์ ดังนั้น ฟังชั่น หรือ จินตภาพของการวัดค่าโดยการเปรียบเทียบ ยังมีข้อจำกัดในการแทนค่าใดๆของ 0 ทั้งๆที่ในทางธรรมชาติ มีการดำรงอยู่จริงของสิ่งที่ไม่มี หรือสิ่งที่เราเรียกว่าความว่างเปล่า การดำรงอยู่ของสิ่งที่ไม่มีหรือสิ่งที่เราไม่ทราบค่า แสดงออกคือไม่สามารถหาตำแหน่งแห่งที่ที่แน่นอนได้ เพราะการวัดโดยแทนค่าตัวเลขที่จะแสดงถึงลักษณะของปัจจุบันกาลมันไม่มี หรือถ้าจะมี ก็คือค่าตัวเลขที่ไม่มีการเปรียบเทียบต่อสิ่งใดๆซึ่งมันเป็นไปไม่ได้ในความเป็นจริง

เพราะเราจะรู้ว่ากว้าง หรือยาว ก็โดยการเปรียบเทียบกับสิ่งอื่นหรือเราจะรู้ในทางธรรมชาติอย่างสัมพัทธ์

ดังนั้นเราอาจใช้คณิตศาสตร์ เชิงวิเคราะห์เพื่อตรวจวัดได้ว่า 0 ก็คือที่ว่างที่มีขนาดความกว้าง ยาว ไม่เท่ากัน ตามขอบเขตุของการวิเคราะห์ ปัญหาทางคณิตศาสตร์ปัจจุบัน ก็คือ เราไม่สามารถหาค่า 0 สัมบูรณ์ของธรรมชาติได้ ดังนั้น การวิเคราะห์ หรือตรวจวัด ของเหตุการณ์ สิ่งที่ทำได้ก็คือการตรวจวัดเงื่อนไขของเหตุการณ์ ที่ผ่านไปในอดีตกับเงื่อนไขเชิงจินตภาพของเหตุการณ์แห่งอนาคต โดยมีค่าจุดสมบูรณ์สมมติ ณ. ที่จุดหนึ่งจุดใด ซึ่งจะอยู่ในขอบเขตุของอดีตหรือขอบเขตุของอนาคตก็ได้ เป็นจุดดุลยภาพที่สมมติของเหตุการณ์


คอนตินิวอัม หรือความต่อเนื่องของเหตุการณ์ ยังมีความต่อเนื่องของการขาดหาย ของเหตุการณ์ ที่เราไม่สามารถวัดค่าสัมบูรณ์ได้ จะทราบได้เพียงประมาณการกว้างๆของเงื่อนไขแห่งเหตุการณ์ในการขาดหาย ไปและการบังเกิดที่ต่อเนื่องกันของเหตุการณ์นั้นๆ

เช่นเดียวกันกับ เมื่อเรามองไปบนท้องฟ้าในวันที่อากาศแจ่มใสเราจะเห็นแผ่นฟ้าที่กว้างใหญ่ที่เป็นสีครามอันเหมือนกับที่ว่างของกาลาวกาศ เมื่อเรามองไปยังก้อนเมฆจากจุดที่เราสังเกตุ ที่มีระยะไกล หรือการตรวจวัดแบบกว้างๆก็จะเห็นเป็นกลุ่มก้อนของเมฆ เราหันไปมองด้านอื่นและกลับมามองก้อนเมฆอีกครั้งมันก็เปลี่ยนรูปไปแล้ว

ในขณะที่แต่ละคนเมื่อมองดูก้อนเมฆที่มีอันตรกิริยาต่อความคิดและจินตนาการของแต่ละคนก็ไม่เหมือนกันทั้งรูปแบบและเนื้อหา

ณ. เวลาเดียวกันผู้สังเกตุที่นั่งบนเครื่องบินเปรียบเหมือนกับผู้สังเกตุที่มีเครื่องมือในการวิเคราะห์ที่ลงลึกไปในรายละเอียดในการวิเคราะห์ ผู้สังเกตุที่อยู่บนเครื่องบินจะเห็นเพียงกลุ่มหมอกที่ไม่คงรูปร่างเปลี่ยนแปลงรูปตลอดเวลาล่องลอยอยู่ห่างๆกันไม่เกาะกันเป็นก้อนใหญ่เหมือนผู้สังเกตุที่อยู่ระยะไกลหรือผู้สังเกตุที่มีการตรวจวัดอย่างหยาบๆแม้แต่การตรวจวัดระยะไกลก็เช่นกันเพียงไม่กี่นาทีก้อนเมฆก็มีการเปลี่ยนรูปแล้ว

แน่นอนที่สุดเราไม่สามารถหาค่าอะไรคือปัจจุบันสัมบูรณ์ที่สามารถอ้างอิงได้ทุกกรอบอ้างอิง ไม่ต้องพูดถึงเรื่องความคิดของผู้สังเกตุทั้งสองคนที่อยู่คนละจุด เพราะกระบวนการที่เกิดอันตรกิริยาทางจิตยิ่งมีความแตกต่างกันอย่างมากมายไม่ว่าเรื่องของอารมฌ์ ความรู้สึกต่างๆ และจินตนาการอื่นๆอีกมากมาย

การเกิดขึ้นและการหายไปของเหตุการณ์ใดๆจึงเป็นการเกิดขึ้นและการหายไปของเงื่อนไขต่างๆ สิ่งที่เรียกว่าวัตถุใดวัตถุหนึ่ง ก็คือองค์รวมของเงื่อนไขแห่งเหตุการณ์ หรือองค์รวมแห่งการประกอบกันของเงื่อนไขที่มีดุลยภาพอย่างสัมพัทธ์ในความต่อเนื่องของการดำรงอยู่และการขาดหายไป แห่งการประกอบกันของเงื่อนไขนั้นๆภายใต้กรอบแห่งการสังเกตุที่แตกต่างกันอันประกอบกันเป็นส่วนหนึ่งแห่งเงื่อนไข


กระบวนทัศน์แบบองค์รวมพหุภาพ
ในกรอบอ้างอิง9มิติ ตอนมิติที่5...เงา..(ต่อ)

.............................

สนามแรงเสมือน

ดังได้กล่าวมาแล้วปัจจุบันการตรวจวัดในเชิงประจักษ์นิยม....หรือสิ่งที่เราเรียกว่าวิทยาศาสตร์...ประกอบไปด้วยการตรวจวัดตำแหน่งแห่งที่หรือ สเปก และเวลา หรือภายใต้กรอบอ้างอิงที่เป็นแบบ4 มิติในความต่อเนื่องของเหตุการณ์...และภายใต้4 สนามแรงคือ..สนามแรงแม่เหล็กไฟฟ้า สนามแรงโน้มถ่วง สนามแรงนิวเคลียร์พลังสูงและสนามแรงนิวเคลียร์พลังต่ำ....

และจะถือเอาว่า...สิ่งที่ไม่สามารถตรวจวัดได้ภายใต้กรอบดังกล่าว...เป็นสิ่งที่นอกเหนือฟิสิกส์ หรือเมตาฟิสิกส์ หรืออภิปรัชญาเป็นต้น....ทั้งๆที่ความจริงแล้วมีการดำรงอยู่จริงของสิ่งที่เรียกว่าความต่อเนื่องแห่งการขาดหายไปของเหตุการณ์....อันเกิดจากข้อจำกัดในการรับรู้ของมนุษย์...ที่มีข้อจำกัดในเครื่องมือการตรวจวัดและการคลี่คลายขยายตัวของสิ่งที่สังเกตุจากภายนอก...

ในทฤษฎีวัตถุนิยมวิภาษ และทฤษฎีฟิสิกส์ปัจจุบัน จะอธิบายถึงเอกภาพของด้านตรงข้ามที่ดำรงอยู่....

เอกภาพของด้านตรงข้าม....ที่จริงแล้วก็คือการดำรงอยู่ของความต่อเนื่องแห่งเหตุการณ์และความต่อเนื่องของการขาดหายไปของเหตุการณ์ภายใต้ขอบเขตุอ้างอิงและผู้สังเกตุ....

ในสิ่งที่เราเรียกว่าวัตถุใดๆ...ก็คือการประกอบกันขึ้นของสนามแรงต่างๆดังกล่าว...ขึ้นอยู่กับว่ามีความเข้มข้นแห่งสนามแรงแตกต่างกันอย่างไรเท่านั้น....และแสดงออกอันเป็นคุณภาพขององค์รวมนั้นๆที่แตกต่างจากสิ่งอื่น.....

สิ่งที่เราตรวจวัดหาค่าประมาณการไม่ได้แต่มีการดำรงอยู่มากมายเช่น....ความรัก ความงาม สุนทรียภาพต่างๆ....ความนึกคิด อารมฌ์ เป็นต้น....สิ่งต่างๆเหล่านี้ก่อรูปขึ้นด้วยสนามแรงอะไร...และมีการเคลื่อนที่หรือตำแหน่งแห่งที่อย่างไร....เมื่อเราเจาะกระโหลกศีรษะ...ก็พบแต่ก้อนเนื้อเยื่อเซลล์ของสมอง.....

ในสิ่งที่เรียกว่าความต่อเนื่องแห่งการขาดหายไปของเหตุการณ์ยังมีการดำรงอยู่ของการประกอบกันขึ้นของวัตถุภายใต้สนามแรงอื่นอีกหรือไม่นอกเหนือจากเพียงแค่ 4 สนามแรงที่ใช้อ้างอิงในปัจจุบัน....

ก่อนที่จะต่อจากตอนที่แล้ว....ที่กล่าวถึง...สนามแรงเสมือน.....ผู้เขียนขอทำความเข้าใจในกรอบการคิดเบื้องต้นตามความเข้าใจของผู้เขียนเพิ่มเติมก่อน....เพื่อที่จะได้ทราบว่าที่ผู้เขียนสื่อความหมาย...หมายถึงอะไรบ้าง....

ปรัชญา...เป็นหัวใจแห่งกระบวนแห่งความรู้ทั้งมวลของมนุษย์....เป็นหลักในการคิดการมองปัญหาใดๆ.....

ในปี...ค.ศ.1982หรือปีพ.ศ.2525 ฟริตจอฟ คราปร้า นักฟิสิกส์ชาวออสเตรียได้เขียนหนังสือ...ที่ชื่อว่า The turning point และได้กล่าวว่า กระบวนการคิดของมนุษย์หรือกระบวนทัศน์ในการคิดของมนุษย์บนโลกได้มีการเคลื่อนย้ายกระบวนทัศน์(paradigm shift)จากกระบวนทัศน์แบบกลไก....มาสู่กระบวนทัศน์ของฟิสิกส์แผนใหม่...ที่เป็นแบบองค์รวม..หรือที่เรียกว่า Holistic Paradigm หรือที่เรียกว่ากระบวนทัศน์แบบองค์รวม....มีการแปลเป็นภาษาไทยใช้ชื่อว่า จุดเปลี่ยนแห่งศตวรรษ...ในปีพ.ศ 2529 โดยทีมงาน 4 ท่านคือ พระไพศาล วิสาโล , พระประชา ปสนฺนธมฺโม , สันติสุข โสภณสิริ และ รสนา โตสิตระกูล......


นอกจากนั้นฟริตจอฟ คราปร้า ยังได้เขียนหนังสืออีกเล่มคือ ฟิสิกส์แห่งเต๋า......

คำว่า...กระบวนทัศน์แบบองค์รวม...เป็นการให้ความหมายโดยทีมงานดังกล่าวได้แปลไว้เมื่อ20ปีที่แล้ว.....(ดังได้กล่าวมาจากตอนที่แล้ว)....หลังจากนั้นมา....คำว่ากระบวนทัศน์จึงเป็นที่แพร่หลายกันทั่วไป.....

ทำไมจะต้องมีการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ใหม่....นั่นก็คือ....จะต้องปรับเปลี่ยนปรัชญาในการคิดใหม่.....

ในโอกาสที่ครบรอบ....100 ปี เต็มของการนำเสนอทฤษฎีสัมพัทธภาพของท่านอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ และครบรอบ 120 ปีเต็มของนักฟิสิกส์ผู้ยิ่งใหญ่ชาวเดนมาร์ก อีกท่านคือ นิลส์ บอร์ห ( 1885-1962)

2 ท่านผู้เปิดพรมแดนการรับรู้ด้านฟิสิกส์ให้กับมนุษยชาติ....และปรัชญาแห่งการคิด...แบบเอกลักษณะ และทวิลักษณะ....ตราบจนถึงฟิสิกส์ ควอนตัม....อนันตลักษณะ ( holographic)....และกระบวนทัศน์แห่งองค์รวมปัจจุบัน....

ในการอธิบายถึง.....เหตุภาพ ( causality ) หรือเหตุและผลแห่งการเกิดขึ้นของปรากฎการณ์ต่างๆ.....จำแนกออกเป็น 2 แนวคิดใหญ่....คือ....

แนวคิดแรก...เห็นว่าสามารถวัดค่าหาความแน่นอนได้....เช่นจากสถิติ...ข้อมูล...ด้วยหลักแห่งความแน่นอน

อีกแนวคิด.....เห็นว่าไม่สามารถวัดค่าที่แน่นอนได้....อันเนื่องจากข้อจำกัดต่างๆในการทำความเข้าใจ....วัตถุที่มีลักษณะของการประกอบกันเป็นความสมบูรณ์โดยสิ่งตรงข้าม(complementarity)หรือเอกภาพของด้านตรงข้ามที่ประกอบกันขึ้นเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด.....การตรวจวัดใดๆจะไม่เป็นรูปเดียวกัน....หากแต่เสริมความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น.....หรือหลักแห่งความไม่แน่นอน....

จากอดีต....ปรัชญาจีน..และของทางตะวันออกได้อธิบายถึงเอกภาพของด้านตรงข้ามที่ดำรงอยู่ในวัตถุ....เช่นหยินและหยาง....ปรัชญาของพุทธ จะอธิบายถึง...อนัตตา...ความไม่มีตัวตนหรือลักษณะของ....อนันตลักษณ์....

ในการดัดแปลงทางธรรมชาติของมนุษย์เพื่อการดำรงชีวิตอยู่ของมนุษย์....และ เพื่อที่จะตรวจวัดค่าประมาณการให้ได้ใกล้เคียงความเป็นจริงอย่างสัมพัทธ์....จึงเกิดการสังเกตุทดลองค้นคว้าในกระบวนการผลิตต่างๆ.....และมีกรอบแห่งการคิด...เพื่อหาค่าประมาณการภายใต้กรอบแห่ง 4มิติ ดังกล่าว....

การขยายกรอบอ้างอิง....ที่ผู้เขียนได้นำเสนอมาเพื่อเพิ่มเติมหรือขยายกรอบมิติ....ในการประมาณการ....ไม่ได้หมายความว่า....ผู้เขียนมีปรัชญาที่เชื่อว่าสามารถตรวจวัดความแน่นอนของสรรพสิ่งได้.....หากแต่ว่าผู้เขียนเชื่อว่ามีกรอบแห่งมิติ...ที่มนุษย์ยังไม่ได้รับรู้ ณ.เวลาปัจจุบัน... นั้นมีมากมายจนนับไม่ได้เป็นอนันต์.....มิติที่นำเสนอเพิ่มเติม....เพื่อขยายกรอบการรับรู้แบบสัมพัทธ์....อันได้แก่.....มิติที่5เงา...มิติที่6วงแหวน....มิติที่7 การทับซ้อน มิติที่8 การเหลื่อมทับของเวลา มิติที่9 องค์รวมพหุภาพ.....เป็นต้น...

เป็นการแยกย่อยเพื่อให้เห็นความแตกต่างเท่านั้น......แต่ที่จริงแล้ว....หลักการคิดก็คือ....มิติแห่งองค์รวมพหุภาพของสรรพสิ่ง....ที่มีลักษณะสัมบูรณ์และสัมพัทธ์....ภายใต้กรอบอ้างอิง...ดังนั้นถึงจะแยกย่อยเป็นล้านล้านมิติ.....กรอบแห่งเหตุภาพ เพื่อหาค่าประมาณการ ก็ต้องถือเอากรอบสุดท้ายคือ องค์รวมพหุภาพ....เป็นการวัดค่าประมาณการ อยู่ดี....

ไม่มีความคิดเห็น: