วันพุธที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2550

ฟิสิกส์ระบำปลายเท้า21

ศักยภาพแห่งทุน


หากจะกล่าวถึงทิศทางหลักแห่งการที่มนุษย์อยู่ร่วมกันเป็นสังคมแล้ว....ทิศทาง
หลักๆก็คือทิศทางแห่งความรัก....อันเป็นการก่อรูปการพันธะที่เชื่อมโยงมนุษย์กับ
มนุษย์ในสังคม

หากปราศจากความรักที่มนุษย์มีต่อสิ่งอื่นนอกเหนือจากตนเองแล้ว....

การก่อรูปการทางสังคมคงไม่เกิดขึ้น....

จากความรัก...ระหว่างเพศ...สู่ครอบครัว....ชุมชน...สังคม..
ทิศทางแห่งความรักจึงเป็นการก่อรูปการแห่งพันธะที่เชื่อมเป็นโมเลกุลมนุษย์...

ความเข้มแข็ง...แข็งแกร่งขึ้นกับความเหนียวแน่นแห่งพันธะเหล่านี้อันก่อเกิด
รูปการการเรียงตัวหรือบนพื้นฐานแห่งการเกาะเกี่ยวกันด้วยความรัก...ความ
สมานฉันท์...ความเสมอภาค...

ที่โมเลกุลในระดับต่างๆ...เกี่ยวร้อยเป็นองค์เอกภาพเดียวกัน...

เมื่อมนุษย์ถือกำเนิดมา....สิ่งที่ดำรงอยู่ ณ.เวลาปัจจุบันในการวิเคราะห์...ก็
คือ..

ศักยภาพทางกายภาพ....และศักยภาพทางปัญญา-จิตวิญญาณ

ระบบแห่งการประเมินคุณค่าศักยภาพเหล่านี้....เป็นผลมาจากร่องรอยอดีต...
ปัจจุบัน..และร่องรอยแห่งอนาคต อันประกอบเป็นรูปการจิตสำนึกต่างๆในทางสังคม...

ระบบการจัดการในทางสังคมใดๆ....เช่นระบบการเมือง...ระบบเศรษฐกิจ...ระบบทาง
สังคม...วัฒนธรรม...เป็นต้น ต่างล้วนพัฒนามาจาก....การก่อรูปการของกลไกกลางแห่ง
การแลกเปลี่ยนศักยภาพของทุน....

หากเราใช้แบบจำลองในการวิเคราะห์ในแบบเศรษฐศาสตร์การเมือง....เพื่อทำการ
วิเคราะห์แบบแยกส่วน.....อันมีข้อสรุปพื้นฐานว่า...

โครงสร้างชั้นบนและรูปการจิตสำนึกทางสังคมต่างๆ....ก่อเกิดจากรากฐานทางเศรษฐกิจ
อันเป็นรากฐานแห่งการก่อเกิดขึ้นของโครงสร้างชั้นบน...

และเมื่อแยกย่อยลงไป...ถึงกระบวนการพื้นฐานทางเศรษฐกิจ....เราก็จะพบว่า...หน่วย
ย่อยพื้นฐานก็คือคน...

คน...ซึ่งก่อกำเนิดมาด้วยพื้นฐานที่แตกต่างกันและไม่มีใครเหมือนกันเลยทั้งโลกใบ
นี้....

หากมององค์รวมกว้างๆในระดับโมเลกุลหรือสังคมมนุษย์.....ก็จะเห็นลักษณะร่วมที่
เหมือนกัน...
แต่เมื่อแยกย่อย...สู่ระดับอนุภาคหรือระดับมนุษย์แต่ละคน...

แต่ละคน....มีการดำรงอยู่แห่งศักยภาพทางกายภาพ...และศักยภาพทางปัญญา...ไม่เท่า
กัน..
เมื่อวิเคราะห์ในการก่อรูปการทางเศรษฐกิจ...อันมีการแลกเปลี่ยนของคนในสังคมภาย
ใต้อันตรกิริยาต่างๆ...

ศักยภาพที่ก่อเกิดทุน...ของแต่ละคนที่แตกต่างกันตามรูปการจิตสำนึกแห่งระบบคุณ
ค่าทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป....

ศักยภาพทุนทางกายภาพ...และศักยภาพทุนทางปัญญา-จิตวิญญาณ...ที่ประกอบเป็นองค์รวม
ทางกายภาพแห่งทุน...ของแต่ละคน...แต่ละชุมชน...แต่ละสังคม...

ความแตกต่างเหล่านี้....ล้วนเกิดขึ้นจาก...ดุลยภาพที่มีการเคลื่อนที่ของกลไก
กลางการแลกเปลี่ยนศักยภาพของทุน...

รูปการแห่งกระบวนการใช้อำนาจในการจัดการในการควบคุมกลไกกลางการแลกเปลี่ยนเหล่า
นี้....ก็คือรูปการแห่งระบบการปกครองของสังคมนั้นๆ....

ระบบแห่งการควบคุมกลไกกลางการแลกเปลี่ยนที่ดำเนินไป...ในทิศทางหลัก 2 ทิศทาง..


ทิศทางแห่งความรัก....ของมนุษย์ต่อสรรพสิ่ง...
และทิศทางแห่งการสั่งสมเพื่อตัวตน....

การขาดดุลยภาพอันเกิดจากการเบี่ยงเบนทิศทางการพัฒนาไปของกลไกกลางการแลกเปลี่ยน
ศักยภาพแห่งทุน...

เป็นไปทั้งในรูปแบบที่เจตนา....และรูปแบบที่ไม่เจตนา....
ก่อเกิดการสูญเสียประสิทธิภาพสูงสุดแห่งการพัฒนาศักยภาพทุนขององค์รวม...

ก่อเกิด...การแตกแยก..ความไม่เสมอภาคให้กับคนในสังคม...

รวมไปถึง...ความเสมอภาคแบบกลไกและเสรีภาพแบบกลไก....อันเป็นเพียงรูปแบบที่เอื้อ
ประโยชน์เพียงบางกลุ่มที่ควบคุมกลไกกลางเหล่านี้....และทิศทางแห่งความเสมอภาค
แบบกลไก...จุดหมายปลายทางก็คือการแตกแยก...และแรงต้านทานต่างๆจากคนในสังคมที่มี
ต่อเนื่องไปตลอด....

ทิศทางที่ถูกต้องของกลไกกลางการแลกเปลี่ยนศักยภาพทุน...

ก็คือ...ทิศทางแห่งความรัก...ทิศทางแห่งสันติภาพ...

อันเป็นทิศทางแห่งการนำใช้ศักยภาพทุนที่เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อมวล
มนุษยชาติ...และต่อสรรพสิ่งที่แวดล้อมภายนอก...


ที่ประกอบขึ้นเป็นองค์รวมแห่งโลกใบนี้....




การวิเคราะห์แบบแยกส่วนย่อยลงไปถึงหน่วยพื้นฐานทางสังคม....ซึ่งก็คือคน...และคน
ซึ่งประกอบไปด้วย ศักยภาพทางกายภาพ และศักยภาพทางปัญญา-จิตวิญญาณ ที่ประกอบขึ้น
เป็นองค์รวมของคน

ในการวิเคราะห์ที่แยกส่วนเป็นสาขาวิชาต่างๆ....ในทางเศรษฐศาสตร์ คือการ
วิเคราะห์เรื่องของ ทุน..อันเป็นหน่วยย่อยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ....ในสาขารัฐ
ศาสตร์ จะวิเคราะห์ถึง โครงสร้างการใช้อำนาจเป็นหลัก...และรวมถึงความสัมพันธ์
แห่งอำนาจต่างๆในทางสังคม...

ปัจจุบัน...จากตัวอย่างการพัฒนาทางสังคมมนุษย์นับแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบันจะเห็น
ได้ว่า....การพัฒนาทางสังคมล้วนเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางรากฐานทางเศรษฐกิจ....
การปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีทางการผลิต....เทคโนโลยีการสื่อสาร...เป็นต้น..อันก่อ
ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างชั้นบน...

ในอดีต...แนวคิดเกี่ยวกับทฤษฎีการพัฒนาสังคมทั้งเศรษฐกิจและการเมือง...อาจจะ
จำแนกเป็น2ค่ายใหญ่...คือ เสรีนิยม และสังคมนิยม

ในกรอบแนวคิดของค่ายสังคมนิยม ในแนวคิดทางเศรษฐกิจ จะยึดหลักทฤษฎี ของมาร์กซ เป็นหลัก....อันมีข้อจำกัดในแบบการวิเคราะห์ที่เป็นไปแบบทวิลักษณะแบบกลไก

ทุน...และมูลค่า ...ในทัศนะของค่ายนี้...จะมองว่า ก่อขึ้นเมื่อมนุษย์ใช้แรง
งาน...และมีทัศนะที่เชื่อว่ามีแต่ชนชั้นแรงงานเท่านั้นจึงจะมีความคิดที่เป็น
วิทยาศาสตร์....อีกทั้งยังพยากรณ์ว่าระบอบทุนนิยมเป็นระบอบที่ล้าหลัง....จะต้อง
พินาศในที่สุด...

กรอบคิด...ก็มาจากแนวคิดแบบวิวัฒนาการที่เชื่อว่า...การพัฒนาของสังคม...ปรับ
เปลี่ยนจากระบอบที่เรียกว่าทุนนิยม...ไปสู่สังคมนิยม...และจุดมุ่งหมายสุดท้าย
คือการสูญสลายรัฐ...

ในขณะที่กรอบแนวคิดของค่ายเสรีนิยม....ก็เสนอแนวคิดอันเป็นเสรีนิยมแบบกลไก...
หรือเป็นเพียงรูปแบบเป็นเพียงรูปธรรมในทางลายลักษณ์อักษร แต่ในทางการปฏิบัติผู้
ที่ได้เปรียบทางศักยภาพและการควบคุมกลไกกลางการแลกเปลี่ยนทางศักยภาพทุน....ล้วน
เป็นผู้ที่มีเสรี......

ปัจจุบัน....เราจะเห็นว่า เพียงแค่ทารกแรกเกิด....เป็นเพศไหน...ก็จะมีศักยภาพ
ทุนทางกายภาพแตกต่างกันไปตามคุณค่าที่เกิดขึ้นในทางสังคมนั้นๆ....เช่นในเมือง
จีน...เพศชายมีคุณค่าทางศักยภาพทางกายภาพ อันเกิดจากอันตรกิริยาระหว่างทารก กับ
คุณค่าทางสังคมนั้นๆ ....

แค่แรงงาน...ที่เด็กร้องหลังคลอดตามสัญชาติญาณเพื่อความอยู่รอด....ให้ปอดทำงาน
หลังออกมาสู่โลกที่มีอากาศ....จากที่อยู่ในน้ำคร่ำ...
แรงงานเป็นตัวกำหนดมูลค่า...จริงหรือ...?!! หากจะวิเคราะห์แบบแยกย่อยไปถึงหน่วย
มูลฐาน...


ปัจจุบัน...สังคมมนุษย์ พัฒนาก้าวไกลไปสู่อีกระดับของความสัมพันธ์...อันมีความ
สัมพันธ์ในหลายระบบความสัมพันธ์ทางสังคม...เมื่อวิเคราะห์แบบเศรษฐศาสตร์การ
เมือง...เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของรัฐ จะเห็นได้ว่ามีความสัมพันธ์ดังนี้

-ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐชาติ
-ความสัมพันธ์ขององค์กรไร้รัฐ(องค์กรเสมือนแห่งรัฐ) -ความสัมพันธ์เครือข่ายแห่งรัฐชาติ
-ความสัมพันธ์ของเครือข่ายองค์กรเสมือนแห่งรัฐ


ปัจจุบัน องค์กรเสมือนแห่งรัฐ...หรือองค์กรไร้รัฐ มีบทบาทสำคัญในการกำหนดทิศทาง
การพัฒนาของรัฐชาติต่างๆในโลก...เช่น บรรษัทข้ามชาติ...องค์กรเอกชนต่างๆ...
กลุ่มทุนในระดับต่างๆภายในรัฐชาติ เป็นต้น

แนวทาง...นโยบาย...ทิศทางการพัฒนาของรัฐชาติต่างๆล้วนอยู่บนพื้นฐาน การสนองตอบ
ต่อการพัฒนา การขยายตัว ขององค์กรเหล่านี้....

รัฐชาติ...ในฐานะบทบาทที่เป็นกลไกกลางการแลกเปลี่ยนศักยภาพทุนของประชาชนและ
ประชาชาติให้ก่อเกิดดุลยภาพ....จึงเป็นเพียงอุดมการณ์...อุดมคติ....

กรอบแนวคิด...ทฤษฎี...ทิศทาง...แนวทาง...แนวนโยบายแห่งรัฐชาติใดๆ...ล้วนอยู่บน
พื้นฐานหลักการพัฒนาทุนบนพื้นฐานกรอบแห่งลัทธิบริโภคนิยม...

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์...เพื่อบรรลุเป้าหมายการสร้างแรงงานสำรองให้กับองค์กร
เหล่านี้...และแต่ละรัฐชาติ...ต่างล้วนแก้ไขกฎระเบียบทางสังคมเพื่อดึงดูดเงิน
ทุนจากองค์กรเหล่านี้ให้มาลงทุนในประเทศ...ซึ่งแต่ละรัฐชาติต่างล้วนแข่งขัน
กัน...

อุดมคติ....ที่เคยมีต้องเก็บเอาไว้ในลิ้นชัก.....

เศรษฐศาสตร์แห่งความสุข...การเมืองเพื่อความสุข..มีหรือไม่..??

คำตอบก็คือ...มี....แต่ไม่ทำ..!!! เลือกได้...แต่ไม่เลือก..!!


เมื่อ..องค์กรเสมือนของรัฐ...ต่างล้วนอิงแอบแนบชิดกับผู้กุมอำนาจแห่งรัฐชาติ
ต่างๆ...และเป็นเสมือนจิตวิญญาณ ของผู้กุมกลไกอำนาจรัฐเหล่านี้....

เสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ แห่งประชาชาติ ก็เป็นเพียง ลมปากจากนักสิทธิมนุษยชน
จอมปลอมเหล่านี้....


การก่อรูปการทางสังคม หรือการก่อรูปการทางวัตถุของกระบวนการของความสัมพันธ์
ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์และระหว่างมนุษย์กับสรรพสิ่งภายนอก...

วัตถุ...ในความหมายในที่นี้หมายถึง....รูปการที่เกิดขึ้นของสิ่งต่างๆกระบวนการ
ต่างๆความสัมพันธ์ต่างๆ...อันสามารถตรวจวัดได้ถึงความแตกต่างจากสิ่งอื่น...

รูปการทางวัตถุที่เกิดขึ้นใดๆ...ล้วนมีหลักการพื้นฐานแห่งการก่อรูปการในทาง
ฟิสิกส์....อันได้แก่

พลังงาน...ที่ดำรงอยู่ในระบบนั้นๆที่เป็นผลจากอันตรกิริยากับสิ่งต่างๆ

ศักยภาพทางกายภาพ และศักยภาพทางปัญญา-จิตวิญญาณ ในมนุษย์ และในทางสังคมแต่ละ
สังคม...ก็คือการดำรงอยู่แห่งพลังงานในการก่อรูปการทางวัตถุนั้นๆ...

เช่นในรูปแบบการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์...ก็ได้แก่ระบบทุน....ศักยภาพแห่งทุน
ที่ดำรงรงอยู่ของมนุษย์ และของสังคม....ในทางรัฐศาสตร์ ได้แก่ระบบการเมืองการ
ปกครองต่างๆ....ในรูปการจิตสำนึกต่างๆก็ได้แก่...วัฒนธรรม ความเชื่อ ที่ดำรง
อยู่ภายใต้การสั่งสมมายาวนานในทางประวัติศาสตร์แห่งการพัฒนาของมนุษยชาติ...

นอกจากจะตรวจวัดในความแตกต่างของระบบพลังงานที่ดำรงอยู่รวมทั้งความสัมพันธ์ที่
เกิดขึ้นจากกลไกกลางแห่งการแลกเปลี่ยนศักยภาพ....

การเปลี่ยนแปลงของระบบสังคม....ยังมีการเปลี่ยนแปลงอันเป็นไปตามหลักการพื้นฐาน
ทางฟิสิกส์อีกประการหนึ่งกล่าวคือ...เป็นการเปลี่ยนแปลงไปตามการเปลี่ยนไปของ
ระดับพลังงานทางสังคมที่ดำรงอยู่ในสังคมนั้น

การเปลี่ยนแปลงในทางสังคม ที่มีวิวัฒนาการระบบการผลิตในทางสังคมและการพัฒนา
รูปการจิตสำนึก จากสังคมบรรพกาล สังคมทาส สังคมศักดินา สังคมทุนนิยม(สังคมที่มี
ความเข้มข้นแห่งการผูกขาดการควบคุมกลไกกลางการแลกเปลี่ยนศักยภาพทุน) และสู่ยุค
ปัจจุบัน สังคมบริโภคนิยม(สังคมการบริโภคแบบเสมือน)ล้วนแล้วเป็นการเปลี่ยนไป
แห่งระดับของศักย์ ทางกายภาพ และระดับศักย์ทางปัญญา-จิตวิญญาณ ที่สังคมนั้นๆ
เกิดการเปลี่ยนแปลงไป

การประเมินศักยภาพทางกายภาพและศักยภาพทางปัญญา-จิตวิญญาณที่ดำรงอยู่ในสังคม อัน
ประกอบเป็นองค์รวมทางสังคมหนึ่งสังคมใด....ล้วนเป็นไปอย่างมีการเปรียบเทียบ...
หรือสัมพัทธ์

คุณค่า ที่ตรวจวัด ย่อมตรวจวัดได้จากขอบเขตุความสัมพันธ์ที่กว้างขวางขึ้น หรือ
มีขอบเขตุแห่งการขยายออกไปจากตัวตนกว้างขวางขึ้น....

ระบบคุณค่าทางสังคมใด...ที่มีกรอบกระบวนทัศน์อันขยายกว้างขวางขึ้นไปสู่การรับ
รู้แห่งความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของสรรพสิ่งที่ต้องพึ่งพาอาศัยกัน...ย่อม
เป็นระบบที่มีทิศทางแห่งการยกระดับการพัฒนาที่สูงขึ้น...เมื่อเปรียบเทียบกับจุด
เริ่มต้นแห่งการก่อรูปการทางสังคมมนุษย์และมีวิวัฒนาการมาตามลำดับ......

ระบบที่ก่อให้มนุษย์ในสังคมนั้นๆ....ดำรงชีวิตได้ด้วยความมีเสรี....แห่งดุลยภาพ
ทางกายภาพและทางปัญญา....บนพื้นฐานแห่งความสุขที่ได้รับในกระบวนการทางสังคม
นั้นๆพร้อมๆไปกับสังคมภายนอก.....

ระบบสังคมที่ว่านี้....ย่อมเป็นสังคมที่มีขนาดและปริมาณของพลังงานที่สูงกว่า
สังคมที่พัฒนาไปไม่ถึงขั้นนี้....

สังคมบางสังคม...แม้ว่าทางกายภาพจะพัฒนาสูงด้วยเทคโนโลยีทันสมัย...แต่มนุษย์ใน
สังคมก็ยังขาดเสรี....หมายถึงเสรีที่จะดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข...

เมื่อกล่าวโดยองค์รวมแห่งสังคมแล้ว....สิ่งที่จะชี้วัดระดับขนาดปริมาณและคุณภาพ
ของพลังงานแห่งระบบสังคมนั้นย่อมต้องประกอบไปด้วย องค์รวมศักยภาพที่ดำรงอยู่ทาง
กายภาพและทางจิตวิญญาณแห่งสังคมนั้นๆ

เราไม่อาจกล่าวได้ว่า....สังคมโจร..ที่อาศัยการปล้นฆ่า และผลิตเทคโนโลยีแห่งการ
เข่นฆ่ามนุษย์ด้วยความทันสมัย....เป็นสังคมที่มีระบบพลังงานสูง.....เมื่อเรามอง
แบบองค์รวมถึงระดับการพัฒนาทางด้านจิตใจ....หรือจิตสำนึกในสังคม...

การก่อรูปการทางสังคมแบบโจร...ก็เกิดจากทิศทางที่บิดเบี้ยวแห่งการก่อรูปการทาง
สังคมนั้น...

นอกจากนี้...หลักการทั่วไปในทางฟิสิกส์แห่งการก่อรูปการทางวัตถุใดๆ...ยังมี
ประเด็นที่ต้องวิเคราะห์คือ...

รูปการทางวัตถุแห่งระบบปัจจุบันใดๆ....เป็นการก่อรูปการขึ้นมาใหม่ทั้งสิ้น...ณ.
เวลาอ้างอิงปัจจุบัน....

การเกิดรูปการใหม่ในปัจจุบัน แตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับรูปการของอดีต...

หากแต่ว่าบทบาทของอดีต....มีส่วนสำคัญต่อทิศทางแห่งการพัฒนาไป ณ.เวลา
ปัจจุบัน...

ดังนั้น....รูปการแห่งการพัฒนาไปในปัจจุบันของสังคม...จึงประกอบไปด้วย

ทิศทางของร่องรอยแห่งอดีต....ทิศทางแห่งการกระทำการปฏิบัติทางสังคมแห่ง
ปัจจุบัน...และรวมไปถึง ทิศทางแห่งความไฝ่ฝันหรือร่องรอยแห่งอนาคต....

ประกอบกันขึ้น...เป็นองค์รวมแห่งกระบวนทัศน์ของคนส่วนใหญ่ในทางสังคมปัจจุบัน...

ไม่มีความคิดเห็น: