วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2550

กระบวนทัศน์องค์รวมพหุภาพในกรอบอ้างอิง9มิติ(10)

การวิเคราะห์ในแบบเศรษฐกิจการเมือง


ในการวิเคราะห์แบบทฤษฎีของค่ายสังคมนิยม หรือทฤษฎีวัตถุนิยมวิภาษ จะมีแบบวิธีวิเคราะห์ กว้างๆคือ รากฐานทางเศรษฐกิจ และโครงสร้างชั้นบน

รากฐานทางเศรษฐกิจ หรือพื้นฐานทางเศรษฐกิจ จะประกอบไปด้วยส่วนหลักๆ2ส่วนคือ....พลังการผลิต และความสัมพันธ์ทางการผลิต
พลังการผลิต จะวิเคราะห์ถึง คน และ เครื่องมือการผลิต หรือการเปลี่ยนแปลงไปของคน และสภาพแวดล้อมภายใต้การเปลี่ยนไปของกระบวนการผลิตต่างๆ....
ความสัมพันธ์ทางการผลิต จะวิเคราะห์ถึงความสัมพันธ์ของคนในการถือครองปัจจัยการผลิตต่างๆ....ระบบแห่งสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป...
ทั้งหมด กล่าวโดยรวมๆจะเรียกว่า การศึกษาวัตถุนิยมทางประวัติศาสตร์....โดยมีรากฐานแห่งการคิดคือปรัชญาวัตถุนิยมวิภาษที่มีหลักสำคัญคือวัตถุกำหนดจิต การปฏิบัติเป็นพื้นฐานความรู้เป็นต้น..... และเอกภาพของด้านตรงข้ามหรือทวิลักษณะหรือทฤษฎีวิภาษวิธี

การวิเคราะห์ในเรื่องทุน....ในแบบวิธีการวิเคราะห์แบบนี้จะเน้นการวิเคราะห์ชนชั้นของทุน....หรือสรุปกว้างๆได้ว่ากระบวนความคิดใดๆมีการดำรงอยู่ของชนชั้น....ระหว่างชนชั้นที่ได้เปรียบและเสียเปรียบ
บนพื้นฐานของปรัชญาวัตถุนิยมวิภาษ ที่มีหลักการว่าการเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่งเกิดจาก การเปลี่ยนแปลงของเอกภาพด้านตรงข้ามโดยมีเหตุภายนอกเป็นเงื่อนไข และเหตุภายในเป็นมูลฐานการเปลี่ยนแปลง เหตุภายนอกก่อบทบาทโดยเหตุภายใน......
ด้วยเหตุนี้...นักทฤษฎีของค่ายนี้ที่ยึดถือทฤษฎีอย่างเหนียวแน่นจึงเสนอแนวทางนโยบายใดๆล้วนมีลักษณะ การสร้างเงื่อนไขที่ก่อให้เกิดการเร่งการสูญสลายทางชนชั้น.....

เมื่อมีการวิเคราะห์ถึงชนชั้นของทุน....จึงมีการเสนอทิศทางนโยบายอันเป็นการลดทอนลงของการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์....เมื่อมีการถือเอาว่ามนุษย์ที่มีแนวคิดที่เรียกว่าทุนนิยมเป็นเป้าหมายทำลายล้าง.....ด้วยแบบวิธีคิดแบบกลไก...

จึงทำให้เกิดการเฉื่อยชา....เกิดองค์กรขนาดมหึมาที่เทอะทะและเฉื่อยชา.....หรือในกรอบคิดค่ายนี้จะเรียกว่า ความขัดแย้งระหว่างพลังการผลิตและความสัมพันธ์ทางการผลิต...ที่ก่อเกิดเงื่อนไขขัดขวางต่อการพัฒนาของพลังการผลิต.....

ในประเทศจีน ก็ยังยึดถือแนวคิดเช่นนี้...แต่ปัจจุบันได้ปรับเปลี่ยนแนวคิดโดยมุ่งยึดถือคนเป็นศูนย์กลาง....
การยึดถือคนเป็นศูนย์กลาง....จึงทำให้...ทุน...ในความหมายแบบมาร์กซิสต์คลาสสิกต้องเปลี่ยนไป....และตรงกับความเป็นจริงมากขึ้น...

เพราะทุน....แท้ที่จริงแล้วก็คือศักย์...หรือพลังงานศักย์ ใดๆ....หรือศักยภาพใดๆที่แตกต่างกันของมนุษย์....ของกลุ่มทางสังคมของมนุษย์....

ที่ย่อมมีความแตกต่าง ทั้งปัจเจกชน และกลุ่ม

ระบบแห่งการเอารัดเอาเปรียบใดๆ....ล้วนเกิดจากการขาดดุลยภาพอันเกิดจาก ระบบกลไกกลางการแลกเปลี่ยนศักยภาพของทุนที่ดำรงอยู่ในมนุษย์....


กรอบแนวคิดแบบเสรีนิยมเช่นกัน....เมื่อปล่อยให้มีการดำเนินไปของปัจเจกชน...อย่างไร้ทิศทางควบคุม...ก่อให้เกิดกลุ่มที่ทรงอำนาจที่ผูกขาดอำนาจเศรษฐกิจการเมืองไว้ในมือของคนส่วนน้อยในสังคม....และลักษณะอนาธิไตยต่างๆ...อันไม่อาจเกิด.....ทุนแห่งศีลธรรมจรรยา หรือธรรมาธิปไตยของทุนได้....

ดังนั้นเอง...ทุนแห่งศีลธรรมจรรยา กล่าวกว้างๆก็คือทางสายกลาง...ที่เกิดจากการลดลงของทั้งสองขั้วดังกล่าว....ก่อเกิดรูปการใหม่ขึ้นมา....อันก่อให้เกิดดุลยภาพของระบบทุน.....



แบบจำลององค์รวมพหุภาพทุน


ในการวิเคราะห์แบบแยกส่วนย่อย(reduction) จะเห็นได้ว่าหน่วยย่อยพื้นฐานเบื้องต้นของทุน(capital ) ที่จริงแล้วก็คือ คน นั่นเอง

ทุน คือศักยภาพที่มีการสั่งสมของมนุษย์ อันประกอบไปด้วยศักยภาพทุนทางกายภาพ และศักยภาพทุนทางปัญญา-จิตวิญญาณ นั่นก็คือคนที่มีการสั่งสมทางวิวัฒนาการ ในทางกายภาพของมนุษย์ และการสั่งสมทางปัญญา-จิตวิญญาณ ตามวิวัฒนาการแบบวิถีชีวิตในทางสังคมมนุษย์

เมื่อทุน ก็คือ คน และ คน ก็คือ ทุน การวิเคราะห์ทุนใดๆที่พัฒนารูปแบบมาถึงปัจจุบัน ย่อมแยกไม่ออกจาก ระบบความเชื่อ รูปการจิตสำนึก จิตวิญญาณของมนุษย์

การศึกษาวิจัยในทางสังคมศาสตร์ ทุกชนิด ล้วนเริ่มต้นจากคน....และมีการต่อยอดสาขาวิชาไปมากมายเหลือคณานับ....

หากมิมีการมองในแบบรวบยอด ( deduction) ก็จะไม่เห็นถึง รากฐาน และทิศทาง....และเช่นกันหากมองแบบแยกส่วนโดดๆ( reductionism) และการสรุปรวบยอดโดดๆโดยขาดการเจาะลึกหารายละเอียด( deductionism) ก็จะไม่พบทิศทางและแนวทางที่เป็นรูปธรรม.....


อุดมการณ์ และจุดมุ่งหมาย

นักทฤษฎีทางสังคมศาสตร์โดยทั่วไปแล้วหากกล่าวถึงจุดมุ่งหมายแล้วล้วนมีจุดมุ่งหมายในการก่อให้เกิดสภาวะดุลยภาพของมนุษย์ในการเปลี่ยนแปลงสังคม...

ในปัจจุบันหากแยกประเภทใหญ่ๆกว้างๆในเชิงอุดมการณ์ได้แก่...
-อุดมการณ์แห่งลัทธิเสรีนิยม
-อุดมการณ์แห่งสังคมนิยมแบบอเทวนิยม
-อุดมการณ์แห่งสังคมนิยมแบบเทวนิยม

ในแบบเสรีนิยม อันมีจุดมุ่งหมาย เสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ ภายใต้หลักคิดแห่งการมีเสรีภาพของปัจเจกชน ซึ่งเป็นแรงจูงใจให้เกิดการขยายศักยภาพทุนภายใต้การแข่งขัน....หากแต่ว่าเมื่อขาดทิศทางแห่งการสร้างลักษณะร่วมขององค์รวมพหุภาพเหล่านั้น....อันไม่ต่างจากองค์รวมที่ประกอบเป็นมนุษย์ที่ประกอบด้วยองคาพยพของหน่วยย่อยต่างๆที่เป็นอิสระ....แต่ก็ยังมีลักษณะร่วมเพื่อการพัฒนาร่วมกัน.....

เสรีภาพ ที่มีในเชิงกายภาพและจิตวิญญาณ โดยขาดการควบคุมทางจิตวิญญาณ.....ก็ก่อให้เกิด....อนาธิปไตยแห่งทุน...อันเป็นการทำลายเอกภาพแห่งองค์รวม....

ในแนวคิดแบบสังคมนิยม ในแบบอเทวนิยม และแบบเทวนิยม รูปแบบหลักคือการใช้รูปแบบศรัทธานิยมเป็นหลัก....อุดมการณ์แห่งการควบคุมในทางจิตวิญญาณอย่างเข้มข้น.....

ในการควบคุมอย่างเข้มข้นเพียงอย่างเดียว....จึงก่อให้เกิดการทำลายความมีเสรีภาพแห่งการสร้างสรรค์ หรือส่งเสริมให้เกิดศักยภาพสูงสุดของทุน....

เมื่อทุน....ก็คือ คน.....หรือศักย์ที่ดำรงอยู่ในคน

เมื่อคน...ต่างล้วนมีรูปการแห่งความเชื่อ ที่แตกต่างกัน....ไม่มีแม้แต่คนเดียวในโลกที่เหมือนและเท่าเทียมกันทุกประการ......

เมื่อ อุดมการณ์ ที่ตั้งบนพื้นฐานทฤษฎีและการปฏิบัติอันไม่สอดคล้อง....เป้าหมายและอุดมการณ์...ก็ต้องเป็นเพียงแค่ความฝันลมๆแล้งๆ....

และในทางตรงข้าม เป็นการทำลายล้างมวลมนุษยชาติ....

แน่นอนที่สุด...เป็นการทำลายทุน...

เมื่อทุนคือคน....และจุดมุ่งหมายของผู้คน....ต่างล้วนแสวงหาความสุขที่ตนพึงพอใจ.....


แนวคิดทฤษฎีและแบบวิธีการวิเคราะห์ทางสังคม


แนวคิดทฤษฎีและแบบวิธีการวิเคราะห์ทางสังคมเพื่อศึกษาสังคมไทยโดยทั่วไปจำแนกเป็นประเภทใหญ่ๆได้ดังนี้

1. การวิเคราะห์แบบแยกส่วนย่อย และแบบสรุปรวบยอด จะจำแนกเป็นประเภทกว้างๆดังนี้

- แบบวิธีวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจ
- แบบวิธีวิเคราะห์ทางการเมือง
- แบบวิธีวิเคราะห์ทางสังคมและมานุษยวิทยา
- แบบวิธีวิเคราะห์ทางประวัติศาสตร์
- แบบวิธีวิเคราะห์ทางจิตวิทยาสังคม
- แบบวิธีวิเคราะห์ด้านโครงสร้าง
- แบบวิธีวิเคราะห์ด้านบุคลิกภาพและจิตใจ
- แบบวิธีวิเคราะห์ด้านความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
- แบบวิธีวิเคราะห์ในแนววิวัฒนาการ เป็นต้น


ในแบบวิธีวิเคราะห์ทางทฤษฎีทางเศรษฐกิจ ของนักเศรษฐศาสตร์ จำแนกได้กว้างๆดังนี้

- กลุ่มคลาสสิก ได้แก่ ทฤษฎีพัฒนาการเศรษฐกิจ ของอดัม สมิท (1723-1790)ถือเป็นOriginal ในทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ของโลก เดวิด ริคาร์โด (1772-1823) และจอห์น สจ๊วต มิลล์ เป็นต้น

- กลุ่มคัดค้านคลาสสิก ได้แก่ คาร์ล มาร์กซ (1818-1883)

- กลุ่ม นีโอ-คลาสสิก เช่น อัลเฟรด มาร์แชลล์ กลุ่มออสเตรีย (the Austrian School) กลุ่มMathematical School มีอิทธิพลระหว่าง 1870-1935

- กลุ่มคัดค้าน นีโอ-คลาสสิก ได้แก่ โจเซฟ ชุมปีเตอร์ จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ Roy F.Harrod และEvsey D.Domar เป็นต้น รวมไปถึงแนวคิดนักเศรษฐศาสตร์ทั่วไปในปัจจุบัน
- กลุ่มคลาสสิกใหม่ (new clas-sical )

แนวนโยบายทั่วไปของรัฐโดยทั่วไปจะยึดแนวทางพัฒนาเศรษฐกิจจากแนวคิดดังกล่าวข้างต้น

2. การวิเคราะห์แบบสหวิทยาการ หรือแบบบูรณาการ ได้แก่

- แบบวิธีวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม สังคม ในแบบวิธีวิเคราะห์แบบนี้ เช่น แบบวิธีวิเคราะห์แบบมาร์กซิสต์ ถือเป็นแบบแรกในการนำเสนอแนวคิดในการวิเคราะห์แบบนี้โดยมีรากฐานทางทฤษฎีวัตถุนิยมวิภาษ เป็นหลักในการวิเคราะห์

หากแต่ว่ากรอบวัตถุนิยมวิภาษแบบมาร์กซิสต์คลาสสิก นั้นจะเป็นในรูป การวิเคราะห์แบบทวิลักษณะในแบบกลไก เช่น การยึดถือเอาชนชั้นอันเป็นนามธรรมคือชนชั้นกรรมาชีพที่ไร้สมบัติ ไม่มีความคิดเอารัดเอาเปรียบ ไม่มีการขูดรีด เป็นชนชั้นที่มองแบบกลไกว่าเป็นวิทยาศาสตร์ที่สุด มีจิตใจเสียสละที่สุด ไร้ซึ่งความเห็นแก่ตัว ฯลฯ

หรือสรุปง่ายๆ ก็คือ พระเจ้านั่นเอง จินตภาพ กรรมาชีพ ก็ไม่ต่างจากพระอรหันต์ ในศาสนาพุทธ และพระเจ้าในศาสนา อื่นๆ

นั่นคือการถือเอา อุดมคติ หรือเป้าหมายในเชิงอุดมคติ มาเป็นแบบวิธีการกำหนดแนวทางนโยบายในการแปรเปลี่ยนมนุษย์ โดยแนวทางการสูญสลายชนชั้นแบบกลไก

แต่ทฤษฎีของมาร์กซ ได้สร้างคุณูปการให้แก่ชาวโลกหลายประการเช่น การเกิดแนวคิดรัฐสวัสดิการ ในประเทศอุตสาหกรรม การดูแลเอาใจใส่แก่คนงานเพิ่มขึ้น และทฤษฎีมาร์กซ ถือเป็นต้นแบบการวิเคราะห์แบบสหวิทยาการแม้ว่าจะเป็นในแบบกลไกแต่เนื่องจากเกิดขึ้นมานับร้อยปีแล้ว

3.การวิเคราะห์แบบองค์รวม ในแบบวิธีการวิเคราะห์ แบบนี้จะต้อง ถือความสัมพันธ์ของทุกส่วนนั้นเกี่ยวข้องกัน


เพื่อเสนอ model ( ตัวแบบ) ในการวิเคราะห์ลักษณะสังคมไทยและเป็นแนวทางในการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ ดังที่ได้นำเสนอมากว้างๆ ในปัญหาเรื่องทุน ซึ่งจะเป็นหน่วยพื้นฐานทางเศรษฐกิจการเมืองในสังคม

การวิเคราะห์แบบองค์รวม จะต้องวิเคราะห์ ถึงความสัมพันธ์ ระหว่าง องค์รวมของทุนหรือศักยภาพทุนทางกายภาพและศักยภาพทุนทางปัญญาและจิตวิญญาณของมนุษย์ ที่มีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมภายนอก เช่นธรรมชาติ ทรัพยากรธรรมชาติ และสังคม

การวิเคราะห์รูปแบบการพัฒนาไปของกลไกกลางการแลกเปลี่ยนทางศักยภาพของทุน ระบบที่มีดุลยภาพของกลไกกลางการแลกเปลี่ยน หรือระบบดุลยภาพของทุน เป็นต้นเพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ที่ก่อให้เกิดดุลยภาพทางเศรษฐกิจการเมืองและสังคม

การพัฒนาคิดค้นรูปแบบการสร้างมูลค่าให้กับทุน เช่น ทุนทางวัฒนธรรม และทุนทางสังคมต่างๆเพื่อก่อให้เกิดดุลยภาพ และเกิดการสะสมทุนเพิ่มขึ้นของกลุ่มที่ขาดดุลยภาพทางทุนในสังคมไทยเช่นชาวนาชาวไร่ในชนบทไทย อย่างเป็นรูปธรรม

ชาวนาชาวไร่ ที่เพิ่งหลุดพ้นจากความไร้อิสระภาพในการสะสมทุนจากระบบไพร่ มาเพียงแค่ชั่วไม่กี่อายุคน คือเพียงแค่ร้อยกว่าปี จากที่ต้องทำงานให้มูลนายในสังกัดเป็นปี ลดลงเหลือ 6เดือนต่อปี และมีการยกเลิก แต่แบบวิถีชาวบ้านในชนบทก็ยังมีการเกณท์แรงงานเช่นกันหากแต่ว่าเป็นความสมัครใจ นอกจากจะมีระบบการผลิตที่ต้องพึ่งพิงธรรมชาติเป็นหลักและต้องทำงานอย่างหนักแต่ไม่มีอำนาจในการกำหนดราคาผลผลิต
จากประวัติศาสตร์ที่ยากจน ปัจจุบันก็ยังยากจน และอนาคตก็ยังจะยากจนต่อไป ถ้าไม่มีการสร้างเสริมให้เกิดดุลยภาพแห่งทุน

เมือง ที่บริโภคทรัพยากรส่วนใหญ่ของประเทศ ขณะที่ชนบท ขาดแคลน จึงก่อให้เกิดการขาดดุลยภาพอย่างหนักในประเทศ ระบบรวมศูนย์ที่เมืองใหญ่ และกระจายไปเมืองบริวาร ไปจนถึงหน่วยสุดท้ายหมู่บ้านในชนบท
เช่นคนเมืองใหญ่ มีการบริการทางการแพทย์ที่ดี เป็นศูนย์รวมการคมนาคมขนส่ง ส่วนเมืองเล็กๆก็เป็นเมืองบริวาร เช่นถ้าจะขึ้นเครื่องบินก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปเมืองใหญ่เพิ่มขึ้น จึงก่อให้เกิดการกระจุกตัวในเมืองใหญ่ และพ่อค้าในเมืองจึงเป็นผู้ที่มีการสะสมเงินทุนได้สูง
ภายใต้ระบบการเมืองที่ผูกขาดอำนาจก่อให้เกิดการเติบโตของกลุ่มพ่อค้า กลุ่มมาเฟีย และระบบผู้รับเหมาก่อสร้างที่บริหารจังหวัดที่ผลาญงบประมาณแผ่นดินในการบริหารท้องถิ่น เป็นต้น
ขณะที่ระบบการผลิตที่ล้าหลังในชนบท ระบบการทำนาที่อาศัยธรรมชาติเป็นหลัก โดยมีที่ทำการเกษตรที่เป็นที่ทำนาเป็นหลัก แยกออกไปจากบ้านพักอาศัยซึ่งจะเป็นชุมชนเป็นหมู่บ้าน ทำให้การปรับเปลี่ยนมาทำเกษตรแบบผสมผสานลำบาก และต้องลงทุนสูงในการปรับปรุงที่นา ในการโยกย้ายที่อยู่อาศัย ปัญหาความปลอดภัยต่างๆเป็นต้น จึงทำให้การผลิตไม่เพียงพอที่จะเลี้ยงตนเองได้และก่อเกิดปัญหาหนี้สิน ปัญหาการอพยพหางานทำในเมือง การแตกสลายของครอบครัว เป็นต้น

แนวทางการปรับเปลี่ยนและมีการค้นคิดนำใช้ทุน ทางวัฒนธรรม ทางสังคม ทางการสั่งสมภูมิปัญญา ให้กับชาวนาชาวไร่ พร้อมๆกับการช่วยเหลือด้านเงินทุนเบื้องต้นเพื่อก่อให้เกิดการสร้างผลิตผล จึงเป็นแนวทางหนึ่งที่ก่อให้เกิดการเพิ่มพูนขึ้นทางศักยภาพทุนของกลุ่มชาวนาชาวไร่ในสังคมที่ขาดศักยภาพทุนมาตลอดในรูปเงินลงทุน

ระบบกลไกกลางการแลกเปลี่ยนศักยภาพแห่งทุนใดๆที่ก่อให้เกิดดุลยภาพ ย่อมเป็นกลไกของระบบรัฐแห่งธรรมาธิปไตย




ระบอบทุนนิยมแห่งสังคม
SOCIAL - CAPITALISM

…………………………………


ทุน ( Capital ) :
นิยามและความหมาย


กระบวนการวิเคราะห์พื้นฐานในทางสังคมเพื่อให้เห็นถึงทิศทางแห่งการพัฒนาไปทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ล้วนแล้วก็คือการวิเคราะห์ถึงโครงสร้างแห่งความสัมพันธ์ต่างๆของทุนภายใต้การวิวัฒนาการไปสังคมนั้นๆ

ความหมายของคำว่า ทุน ดังได้กล่าวมาแล้ว...อันหมายถึงศักยภาพที่มีการสั่งสมมาในทางกายภาพและทางจิตวิญญาณของมนุษย์ในสังคม...

ในความหมายที่กล่าวมานี้ย่อมแตกต่างจาก แนวคิด ทวิลักษณะกลไกแบบมาร์กซิสต์ ที่ให้คำอธิบายว่าทุนก็คือแรงงาน....ภายใต้การใช้แรงงานของชนชั้นกรรมาชีพ แรงงานส่วนเกินของชนชั้นกรรมาชีพก่อเกิดมูลค่าส่วนเกินและเกิดการสะสมทุนของชนชั้นนายทุนที่ขูดรีดและเอาเปรียบสร้างความมั่งคั่งและก่อเกิดชนชั้นนายทุน...

ในความหมายในที่นี้ จะอธิบายให้เห็นว่า ที่จริงแล้วทุนก็คือการสั่งสมแห่งศักยภาพที่ดำรงอยู่อันแตกต่างกันของมนุษย์
ทั้งในทางศักยภาพทางกายภาพและศักยภาพทางปัญญาและจิตวิญญาณอันเกิดจากการเรียนรู้ที่สั่งสมมาในกระบวนการทางสังคม

ในความแตกต่างแห่งศักยภาพเหล่านี้ของคนที่ไม่เท่าเทียมกันอย่างสัมบูรณ์บนโลก อันเป็นธรรมชาติของสรรพสิ่งในจักรวาลที่ดำรงสถานะความเป็นเอกเทศอย่างสัมพัทธ์

ภายใต้ความแตกต่างเหล่านี้ ก่อให้เกิด กลไกกลางแห่งการแลกเปลี่ยนศักยภาพทุน ที่พัฒนามาเป็นระบอบการเมืองการปกครอง ระบอบเศรษฐกิจ วัฒนธรรม สังคม กฏเกณท์ต่างๆ บรรทัดฐานทางสังคม รูปการทางจิตสำนึก-จิตวิญญาณต่างๆ เป็นต้น

ตัวอย่างเช่น เด็กทารกแรกเกิดในประเทศจีน หากเกิดมาเป็นเด็กชาย จะมีศักยภาพทางกายภาพที่สูงกว่า เด็กหญิง และมีมูลค่าในการแลกเปลี่ยนศักยภาพแห่งทุนสูงกว่า เด็กหญิง

จากตัวอย่างนี้จะเห็นได้ว่า แค่เด็กร้อง อุแว้ ...ก็มีมูลค่าสูงกว่าแล้วหาได้ใช้แรงงานส่วนเกินอะไรไม่..

ทุนแห่งศักยภาพทางกายภาพของเด็กที่ดำรงอยู่ ก่อเกิดมูลค่าได้ ที่มีมูลค่าสูงกว่าเด็กหญิง ย่อมเกิดจาก สิ่งที่เรียกว่า องค์รวมพหุภาพแห่งทุนในทางสังคม...

องค์รวมพหุภาพแห่งทุนในทางสังคม ก็คือองค์รวมแห่งการสั่งสมศักยภาพแห่งทุนในสังคมนั้นๆที่มีมานับแต่อดีต ปัจจุบัน และทิศทางแห่งอนาคต
การก่อรูปการองค์รวมทางวัตถุใดๆของสรรพสิ่ง ล้วนดำรงไว้ซึ่งร่องรอยแห่งอดีต ปัจจุบันและอนาคต ในกระบวนการพัฒนาไปของสิ่งนั้นๆ...

ไม่มีความคิดเห็น: