วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2550

กระบวนทัศน์องค์รวมภายใต้กรอบอ้างอิง9มิติ

จากการวิเคราะห์โครงสร้างการก่อรูปการของอารมณ์แห่งความงามความรักบนการวิเคราะห์รูปธรรมแห่งอารมณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นบนโลกเสมือน...เป็นแบบวิธีวิเคราะห์แบบหนึ่งที่เรียกว่า...การวิเคราะห์สิ่งที่เป็นรูปธรรมอย่างเป็นรูปธรรม....

ภายใต้การวิเคราะห์หากฎเกณท์...จากเฉพาะสู่ทั่วไป.....

เราจะเห็นได้ว่ารูปธรรมต่างๆที่เพื่อนๆในบล็อกได้แสดงออกมาเป็นตัวอักษรในการสื่อถึงอารมณ์อันก่อเกิดสุนทรียภาพความงามความรัก....อันได้แก่....รูปการของความผูกพันต่างๆ....ความใกล้ชิดในรูปแบบต่างๆเช่นอารมณ์ความรู้สึกที่มีความคล้ายคลึงกัน..หรือการมีลักษณะร่วมกัน....มิตรภาพ...ความประทับใจต่างๆ....เป็นต้น

จากการวิเคราะห์เราจะเห็นได้ว่า....การก่อรูปการทางวัตถุหรืออารมณ์บนโลกแห่งความคิดหรือจิตใจ...รูปการทางวัตถุที่เกิดขึ้นเป็นการเกิดขึ้นโดยมีการประกอบกันขึ้นมาใหม่จากอารมณ์ต่างๆในอดีต...ปัจจุบัน...และความไฝ่ฝันหรืออนาคต....เป็นรูปการใหม่ที่เกิดขึ้นของอารมณ์แห่งสุนทรียภาพความงามความรัก....การเกิดขึ้นของรูปการทางวัตถุบนระบบความคิดหรืออารมณ์.....เป็นการก่อรูปการในลักษณะของกระบวนการหลอมรวม....หรือกระบวนการฟิวชั่นโดยมีทิศทางแห่งการพัฒนาที่สูงขึ้น...


ในทางตรงข้าม....การก่อรูปการทางวัตถุที่มีทิศทางตรงข้ามเป็นการเกิดจากกระบวนการลดลงของพลังงานองค์รวมระบบและเป็นกระบวนการแยกย่อยลงขององค์รวมหรือกระบวนการฟิชชั่น....

นั่นคือ เราพอจะสรุปหลักการเบื้องต้นทั่วไปดังกล่าว....คือ...กระบวนทางด้านความคิดหรือจิตใจซึ่งเป็นกระบวนการก่อรูปการทางวัตถุของระบบที่มีความเร็วสูงกว่าระบบการก่อรูปการทางกายภาพ....การก่อรูปการของระบบความคิดที่มีทิศทางการพัฒนาสูงขึ้นของจิตใจหรือ...รูปการแห่งความรักที่ออกไปจากตัวตน...การก่อรูปการใหม่ที่สูงขึ้นเป็นผลจากการหลอมรวมของพลังงานทั้งระบบของกรอบการวิเคราะห์......

มนุษย์...สามารถที่จะพัฒนาและสร้างเสริมศักยภาพเพื่อสร้างเงื่อนไขแห่งการก่อรูปการในทิศทางที่ดีงามได้....

การก่อรูปการแห่งความเชื่อ...ทางศาสนาก็เช่นกัน...

มนุษย์เมื่อ 2-3 พันปีที่แล้ว...ได้คำอธิบายปรากฎการณ์ต่างๆในรูปของความเชื่อทางศาสนา...โดยมีการอธิบายในเชิงสัญญลักษณ์เปรียบเทียบ

ในความหมายถึง...พลังงานต่างๆที่ดำรงอยู่ในทางธรรมชาติที่มนุษย์สัมผัสได้ด้วยจิตใจและจิตวิญญาณแต่ละคน....และได้ให้ความหมายในเชิงสัญญลักษณ์อันหมายถึงพระเจ้า...

เช่นเดียวกันกับการอธิบายในทางฟิสิกส์ปัจจุบัน...เราทราบว่ามีพลังงานดำรงอยู่ในจักรวาล..

ในพระคัมภีร์ศาสนา...ที่มีบันทึกมาหลายพันปีจากอดีต...พระเจ้าย่อมหมายถึงพลังงานที่ดำรงอยู่ที่มนุษย์สัมผัสได้.....

แบบวิธีการสัมผัสกับพลังงานในจักรวาลในการทำความเข้าใจทางฟิสิกส์เช่นการทดลองต่างๆ.......ในแบบวิธีทางศาสนาจะเป็นแบบพิธีกรรมเป็นรูปแบบหลักในการปฏิบัติ...

พิธีกรรมต่างๆ....อันเป็นกระบวนแห่งการก่อรูปการทางจิตหรือการปฏิบัติการทางจิต...หรือกระบวนการฟิวชั่นทางจิตเพื่อหลอมรวมให้จิตใจของแต่ละคนเกิดคุณสมบัติพิเศษขึ้น....อันเกิดจากพลังงานแห่งกระบวนการฟิวชั่นในทางจิต....

อันได้แก่...การอธิษฐาน การอ่านทำความเข้าใจพระคัมภีร์ การนมัสการ หรือกระบวนการที่ในคัมภีร์ที่กล่าวถึงการยึดมั่นหรือติดสนิทกับพระเจ้า...ความศรัทธา ความยึดมั่น ความยำเกรงต่างๆล้วนเป็นกระบวนการที่ก่อรูปการแห่งความเชื่อมั่นในระบบจิตใจอันก่อเกิดพลังงานและความมีสมาธิ....ความสงบนิ่ง....ความปิติ...ความสงบเยือกเย็นในจิตใจ.....ให้เกิดการหลอมรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของพลังงานต่างๆเหล่านั้น....

อันเป็นผลให้กระบวนการทางจิตคนๆนั้นก่อเกิดอันตรกิริยากับพลังงานที่ดำรงอยู่ในการก่อเกิดรูปการทางจิตที่มีพลังงานของระบบสูงขึ้น...

ตัวอย่างเช่น...ในพระคัมภีร์ศาสนาคริสต์
ยากอบ 1:5 “ ถ้าผู้ใดในพวกท่านขาดสติปัญญา ก็ให้ผู้นั้นทูลขอจากพระเจ้าผู้ทรงโปรดประทานให้แก่คนทั้งปวง ด้วยพระกรุณาและมิได้ทรงตำหนิ แล้วผู้นั้นก็จะได้รับสิ่งที่ทูลขอ ”

จะเห็นได้ว่า การสัมผัสในกระบวนการทางจิตของคนในยุคนั้นและมีการบันทึกไว้

หมายความว่าพลังงานที่ดำรงอยู่ในจักรวาล อันไม่จำกัดต่อผู้หนึ่งผู้ใด....หรือสัจจธรรมใดๆที่ดำรงอยู่...การก่อรูปการใดๆอยู่ที่คุณภาพในกระบวนการทางจิตของแต่ละคนที่จะนำเอาพลังงานที่ดำรงอยู่มาก่อรูปการให้เป็นประโยชน์แก่ตนได้อย่างไรเท่านั้น...หรือในการทำความเข้าใจในสิ่งที่เป็นไปเหล่านั้นในธรรมชาติ

พระเจ้า...ก็เช่นเดียวกับ...นิพพาน ของพุทธศาสนา.....อันเป็นการดำรงอยู่ของพลังงานในธรรมชาติไม่เอนเอียงหรือมีอคติต่อผู้ใด...

เพราะเป็นสภาวะที่กระบวนการทางจิตนั้นๆไม่สามารถก่อรูปการด้วยตนเองหรือเกิดการดับสูญแล้วซึ่งกิเลสต่างๆ....
แต่พลังงานเหล่านั้นยังดำรงอยู่เป็นบ่อเกิดแห่งการก่อรูปการต่างๆ.....ตามร่องรอยของสิ่งต่างๆ....หรือตามแต่กรรมหรือการกระทำ...ของสิ่งต่างๆ...

มนุษย์...ย่อมเลือกทิศทางแห่งการกระทำของตนได้....ว่าจะสร้างร่องรอยแห่งการก่อรูปการของอนาคตอย่างไร....และย่อมที่จะเลือกทิศทางในทางที่พัฒนาสูงขึ้นอันสอดคล้องกับทิศทางขององค์รวมระบบ....หากเลือกทิศทางแห่งการก่อบาป...และพอกพูนกิเลส...แน่นอนที่สุดร่องรอยที่ก่อเกิดของรูปการใหม่ก็คือร่องรอยแห่งความทุกข์...

เราเลือกที่จะมีความสุขหรือความทุกข์ได้....อยู่ที่ความพึงพอใจของเรา...

นี่เป็นสิ่งพิเศษ...ที่ธรรมชาติสร้างมนุษย์ขึ้นมา....

และอยู่ที่เราจะเลือกเป็นเดียรัจฉาน....หรือมนุษย์ที่มีทิศทางแห่งการพัฒนาของจิตใจที่สูงขึ้น...



แบบวิธีในการทำความเข้าใจต่อความเป็นไปทางธรรมชาติของมนุษย์....ที่ประกอบเป็นรูปการแห่งความเชื่อในระบบความคิดของคนเรา....จากอดีตมาถึงปัจจุบันอาจจำแนกเป็นรูปการใหญ่ๆคือ..

แบบวิธีแรก..เช่น การทำความเข้าใจในกฎเกณท์ทางธรรมชาติด้วยรูปการภายใต้การตรวจวัดและการสัมผัสในทางกายภาพอันได้แก่รูปแบบแห่งการให้เหตุและผลในแบบที่เราเรียกกันว่าแบบวิธีทางวิทยาศาสตร์....ที่มีการทดลองปฏิบัติหาข้อสรุปจากการทดลองปฏิบัติ....ในการทำความเข้าใจโลกของจิตวิญญาณ.....เช่นแบบวิธีของพุทธศาสนา...จะใช้แบบวิธีนี้เป็นหลักในการทำความเข้าใจอันเป็นปฏิบัติการทางฟิสิกส์ของระบบจิตวิญญาณ.....ซึ่งจำแนกเป็นแบบชุดแห่งการปฏิบัติที่แตกต่างกันไป....


ในแบบแห่งการปฏิบัติทั่วไป....หรือที่เรียกว่าการดำเนินตามทางสายกลาง....สำหรับบุคคลทั่วไปอันได้แก่....การเจริญในอริยมรรค....หรือ มรรค 8 อันเป็นการดำเนินชีวิตที่อยู่ในทิศทางแห่งการไปสู่จุดมุ่งหมายนิพพาน.....หรือเกิดการก่อรูปการแห่งร่องรอยและทิศทางแห่งอนาคตเพื่อไปสู่จุดหมายนี้...ได้แก่...ความคิดเห็นที่ถูกต้อง....ความคิดที่ชอบ.....การพูดที่ชอบ....การทำงานที่ชอบ...การเลี้ยงชีพที่ชอบ....ความพยายามที่ชอบ....การมีสติที่ชอบ....การมีสมาธิที่ชอบ.....และในทั้งหมดจะมี สัมมาสมาธิเป็น องค์ประธานหรือเป็นหลักโดยมีอีก7 มรรค(หนทาง,วิถีทาง)เป็นองค์ประกอบ....


และยังต้องประกอบไปด้วย....จุดมุ่งหมาย...ความไฝ่ฝันแห่งอนาคต..หรือคุณธรรมหลักๆคือ...พรหมวิหาร 4 หรือการประพฤติตนเยี่ยงพรหม....อันได้แก่...เมตตา(ความรักที่บริสุทธิ์)...กรุณา(ความเกื้อกูล)...มุทิตา(ความสุข,ความเบิกบาน)....อุเบกขา(ความหนักแน่น,ความเที่ยงธรรม)....เป็นต้น...

สำหรับแบบวิธีปฏิบัติในแบบวิธีทางพุทธศาสนา...มีการแยกย่อยละเอียดมากในการปฏิบัติสำหรับผู้ที่มุ่งมั่นบรรลุสู่จุดมุ่งหมายการหลุดพ้น....

แบบวิธีที่สอง....แบบวิธีการในเชิงกระบวนการรับรู้แห่งรหัสนัย....แบบวิธีของการก่อรูปการในทางความเชื่อในรูปแบบนี้....รูปแบบการทดลองปฏิบัติในทางจิตวิญญาณ...จะใช้รูปแบบแห่งการก่อกระบวนการทางจิตเพื่อที่จะสัมผัสกับสิ่งที่นอกเหนืออายตนะภายนอกหรือรูปการทางวัตถุสัมผัสได้...

การก่อรูปการทางจิตโดยอาศัย...สัญลักษณ์...ความศรัทธา...หรือพิธีกรรมต่างๆ...เป็นรูปแบบหลักเพื่อให้กระบวนการในทางจิตเกิดการรวมตัว....และก่อเกิดพลังงานที่สูงขึ้นหรือมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบความเร็วที่สูงขึ้นตามปริมาณแห่งพลังงานที่เพิ่มขึ้นของระบบ....

การรับรู้ต่อระบบใดๆ...สิ่งที่ตรวจวัดได้ก็ต้องอยู่ในระบบเดียวกันจึงจะตรวจวัดและสัมผัสได้....

เช่น....เราจะตรวจวัดระบบที่เร็วกว่าความเร็วแสงได้เราด้วยอายตนะหรือเครื่องมือตรวจวัดต่างๆหรือการตรวจวัดในเชิงประจักษ์นิยมอย่างเป็นรูปธรรม....ซึ่งก็ต้องอยู่ในระบบแห่งการก่อรูปการเดียวกัน....ไม่เช่นนั้นก็ต้องอาศัยการอนุมาน..การคาดหมายการประมาณการในเชิงนามธรรม....

พลังงานของการก่อรูปการในระบบทางจิตวิญญาณ....ย่อมประกอบไปด้วยความหลากหลายในระบบแห่งความเร็ว....

เทคนิค...ในการตรวจวัดแบบนี้ได้แก่....กระบวนการยกระดับและเปลี่ยนแปลงพลังงานในทางจิตให้สัมผัสกับพลังงานในระบบที่เราสามารถก่อรูปการเพื่อให้สัมผัสได้อย่างเป็นรูปธรรม....

เทคนิคการตรวจวัดแบบนี้....เช่นกระบวนการฟิวชั่น....และกระบวนการฟิชชั่น...ในทางจิต..

ภายใต้กระบวนการเช่นนี้....ก่อให้รูปการทางจิตที่ก่อขึ้นจากรูปการทางวัตถุในระบบความเร็วแสงเกิดการเปลี่ยนแปลง....

การลดลงของอัตตาใดๆหรือมวลแห่งกิเลสที่เกิดจากกระบวนการทางวัตถุ...เป็นผลให้เกิดการเพิ่มสูงขึ้นของพลังงานทางจิตในการที่จะก่อเกิดอันตรกิริยากับพลังงานภายนอกที่ดำรงอยู่ในจักรวาลและมีขนาดของขอบเขตุที่กว้างขึ้น.......

โลกแห่งนรก...และโลกแห่งสวรรค์....ก็คือโลกที่ทิศทางแห่งจิตวิญญาณก่อรูปการขึ้นใหม่ภายใต้กระบวนการพัฒนาที่เป็นไปตามกฎเกณท์ทางธรรมชาติของมนุษย์....ทั้งในทางกายภาพและทางจิตวิญญาณ....

การเกิดขึ้นของรูปการดังกล่าว....ก่อเกิดจาก...รูปการของร่องรอยแห่งอดีต...หรือกรรม...และรูปการของร่องรอยแห่งอนาคต...อันรวมไปถึงการกระทำแห่งปัจจุบัน.....

ประกอบกันขึ้น...เป็นรูปการใหม่.....และมีทิศทางการพัฒนาไปตาม...กรรมเหล่านั้น....


ทิศทางหลักในสองทิศทาง....เมื่อกล่าวสำหรับในกรอบกระบวนทางจิตวิญญาณของมนุษย์ก็คือทิศทางที่มีการพัฒนาของพลังงานที่สูงขึ้น....และทิศทางที่มีการลดลงของพลังงาน.....เมื่อเปรียบเทียบกับการก่อรูปการทางวัตถุแห่งโลกของมนุษย์......


หลักการทั่วไปทางฟิสิกส์แห่งการก่อรูปการ...ก็คือ...


-สรรพสิ่งล้วนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน...และแยกไม่ออกจากกัน...แปรเปลี่ยนไปมา...

-การเกิดขึ้นของรูปการใดๆ....ล้วนเป็นการก่อเกิดจากร่องรอยแห่งอดีต...และร่องรอยแห่งอนาคต.....

-ระบบที่มีพัฒนาการสูงขึ้นหรือมีพลังงานที่สูงกว่า...ย่อมก่อเกิดจากร่องรอยอดีต...ปัจจุบัน...และอนาคต...ของระบบที่มีพลังงานต่ำกว่า....เมื่อเทียบอย่างสัมพัทธ์...

-ระบบที่มีพลังงานต่ำกว่าใดๆ....การแปรเปลี่ยนไปสู่ระบบที่มีพลังงานสูงย่อมเกิดจากกระบวนการที่เกิดการหลอมรวมพลังงานในระบบที่สูงขึ้น...อันตรกิริยาที่ก่อเกิดกับพลังงานภายนอกจึงก่อเกิดการยกระดับสู่คุณภาพใหม่....

-การลดลงของพลังงานในระบบพลังงานสูงไปสู่ระบบพลังงานต่ำ....หรือเกิดการก่อรูปการทางวัตถุในระบบความเร็วต่ำ....เกิดจากกระบวนการแตกตัวในองค์เอกภาพนั้นๆอันเป็นผลให้เกิดองค์รวมย่อยๆและเกิดการลดลงของพลังงานแห่งองค์รวมใหญ่.....และเกิดจากการเพิ่มพูนขึ้นในรูปการทางวัตถุขององค์รวมนั้นๆจนถึงระดับแห่งการลดลงของความเร็วในระบบ...


ระบบฟิสิกส์โลกแห่งนรก....และฟิสิกส์โลกแห่งสวรรค์....ล้วนมีการทับซ้อนของระบบความเร็วอันหลากหลาย....การก่อรูปการทางวัตถุแห่งระบบความเร็วใดๆหรือพลังงานใดๆ...เป็นไปตามกฎเกณท์ทางฟิสิกส์ดังกล่าว....


การก่อรูปการทางความเชื่อ....ในรูปการความเชื่อทางศาสนาอันเป็นรูปการหนึ่งของจิต...หรือรูปการทางความนึกคิดของคนเรา....

รูปการที่เกิดขึ้นของความคิด...ก็คือรูปการการก่อรูปทางวัตถุที่อยู่บนระบบแห่งความเร็วหรือระบบแห่งพลังงานที่แตกต่างจากการก่อรูปการทางวัตถุในระบบความหมายที่เราเข้าใจกันหรือระบบที่ความเร็วสูงสุดเท่าความเร็วแสง.....

หากเราจินตภาพดูว่า...องค์รวมของสนามแรงที่ประกอบขึ้นอันก่อให้เกิดรูปการทางวัตถุที่เดินทางได้ด้วยความเร็วสูงสุดที่ความเร็วแสง....เราลองจินตภาพดูว่าเป็นเหมือนแม่น้ำสายหนึ่ง...

ในแม่น้ำสายนี้...ยังมีระบบความเร็วที่หลากหลาย...แม่น้ำที่ไหลไปหาได้ไหลไปด้วยความเร็วเท่ากันไม่....ความเร็วของกลางลำแม่น้ำ...ริมฝั่ง....ในส่วนน้ำลึก...ในส่วนผิวแม่น้ำ...บางแห่งมีน้ำวนเล็กๆ...ความเร็วในแต่ละส่วนไม่เท่ากัน

เราจะเห็นว่าความเร็วในระบบใหญ่ของแม่น้ำเราอาจประมาณการความเร็วได้เป็นค่า..ความเร็วเฉลี่ย...และความเร็วต่ำสุด...ความเร็วสูงสุด...เมื่อผู้ตรวจวัดหยุดนิ่งอยู่บนฝั่ง.....

การตรวจวัดประมาณการในทางคณิตศาสตร์...มีหลายแบบ....เช่นเราอาจตรวจวัดความเร็วโดยผู้ที่ตรวจวัดอยู่บนสายน้ำ...แต่ก็ต้องมีจุดอ้างอิงที่หยุดนิ่งอย่างสัมพัทธ์ในการอ้างอิง....หรือการตรวจวัดโดยการเปรียบเทียบ...ระหว่างเช่นความเร็วของสายน้ำบริเวณเฉลี่ยความลึกที่สมมติเช่น3ฟุต...กับความเร็วในความลึกลงไปกว่านี้...เป็นต้นโดยมีผู้สังเกตุที่อยู่นอกระบบ..เป็นต้นความเร็วที่ได้อันเป็นความเร็วสัมพัทธ์ที่เกิดจากการเปรียบเทียบ....

การก่อเกิดรูปการทางความคิดใดๆ....ล้วนเกิดจากการเกิดขึ้นใหม่จากรูปการทางอารมณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น.....และรูปการทางอารมณ์ต่างๆล้วนเป็นการสัมผัสกับองค์รวมต่างๆทางวัตถุจากภายนอก...เช่น..อารมณ์สุนทรียภาพความงามที่เราเห็นจากภาพวาด...เราจะเห็นว่าที่เรามองคือองค์รวมทั้งหมด....

สุนทรียภาพในด้านเสียงเพลง...ก็เกิดจากการรับฟังองค์รวมทั้งหมดของเพลง...

องค์รวมต่างๆที่เรารับรู้จากอายตนะทั้งหมด....ก่อเกิดรูปการทางวัตถุในกระบวนการทางความคิดของคนเรา....

ในการแบบวิธีการปฏิบัติ...และปรัชญาทางพุทธศาสนา...มีการจำแนกในทางปริมาณและคุณภาพของจิตไว้หลายระดับ...

เช่น...ในระดับต้น...หรือระดับพื้นฐานในการฝึกฝนการควบคุม...สติ..ให้ดำรงอยู่ในสมาธิตามแบบพุทธปรัชญาหรือที่เรียกว่าการเจริญสติปัฏฐานอันเป็นแบบวิธีการฝึกฝนเพื่อควบคุมจิตใจและตัดกิเลสที่มาปรุงแต่งจิตใจออก...ด้วยวิธีการในแบบวิปัสสนา...และสมาธิ....

ในแบบการปฏิบัติการทางจิตแบบนี้มีการจำแนกคุณภาพของจิต กว้างๆที่เกิดจากผลการปฏิบัติการทางจิต 2 ระดับใหญ่ๆคือรูปฌาน และอรูปฌาน

รูปฌาน แบ่งเป็น ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌาน...

อรูปฌาน แบ่งเป็น อากาสานัญจายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน อากิญจัญญาตนฌาน และ เนวสัญญานาสัญญายตนฌาณ....

และขั้นสูงสุด คือ สัญญาเวทยิตนิโรธ....

จะไม่ขอกล่าวรายละเอียดสำหรับท่านที่สนใจศึกษาได้จากพระไตรปิฎกและตำราพุทธศาสนาต่างๆ.....

ในแบบวิธีปฏิบัติการทางจิตแบบพุทธจะเห็นว่า.....ในแต่ระดับของจิต...ที่เข้าใกล้ค่าของ 0 แห่งระบบจิต...หรือในความหมายว่าบรรลุสู่การดับกิเลส...ในขั้นสูงสุดจะมีการ จำแนกแยกแยะตัดอารมณ์ต่างๆออก...สัญญาหรือข้อผูกพันใดๆออกหรือการตัดกิเลสใดๆออกจากระบบความคิด.....ภายใต้การวิเคราะห์การเปรียบเทียบการพิจารณาให้เห็นถึงความเป็นอนัตตา....

จิตในระดับนี้จึงเป็นระบบจิตที่ มีอีกคุณภาพหนึ่ง....อันแตกต่างจากระบบจิตที่อยู่ในระบบแห่งการพอกพูนของกิเลสอันเป็นร่องรอยแห่งการกระทำหรือการก่อรูปการทางวัตถุในระบบกายภาพ

การควบคุมสติ...หรือการมีสมาธิอย่างยิ่งยวด......เป็นผลให้ระบบแห่งการรับรู้ไม่ถูกจำกัดโดยการปรุงแต่งของกิเลสของโลกวัตถุทางกายภาพ....นั่นคือความมีเสรีภาพที่สูงขึ้นแห่งการรับรู้ทางอายตนะในอีกระบบความเร็ว...รวมไปถึงรูปธรรมแห่งการก่อรูปการของพลังงานในอีกระบบความเร็วที่แตกต่างจากความเร็วทางกายภาพ......

และนี่เป็นรูปการหนึ่งของกระบวนการทางจิต....อันควบคู่กับกระบวนการทางกายภาพของมนุษย์...

เช่นเดียวกันกับเมื่อเรามองดูแท่งแม่เหล็ก....เราก็คงมองไม่เห็นสนามแรงของมัน...

เว้นแต่เมื่อมีเหล็กเข้ามาใกล้....

กายภาพ ย่อม มีจิตใจ ที่ควบคู่กันไปอย่างแยกไม่ออกและประกอบเป็นองค์รวมเดียวกัน....ในการวิเคราะห์สิ่งมีชีวิตเช่นมนุษย์บนโลกใบนี้...


....................................


ฟิสิกส์โลกทางสังคมมนุษย์


ในการศึกษาในทางสังคมศาสตร์...มีการจำแนกการศึกษาออกเป็นหลากหลายสาขาวิชาการมากมายในการศึกษาปรากฎการณ์ในรูปแบบที่มนุษย์อยู่ร่วมกันก่อรูปการเป็นสังคมขึ้นมา....

ตัวแบบทางทฤษฎีในการศึกษาก็มีมากมายเช่นการวิเคราะห์ในลักษณะโครงสร้าง การวิเคราะห์กระบวนการที่ก่อเกิดพลวัตรหรือความขัดแย้งต่างๆ การวิเคราะห์แบบสัญญลักษณ์ต่างๆ การวิเคราะห์หาลักษณะปรากฎการณ์จากหน่วยพื้นฐานต่างๆ...การวิเคราะห์ในแบบกระบวนการวิวัฒนาการเป็นต้น...นับตั้งแต่เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ มานุษยวิทยา ประวัติศาสตร์ จิตวิทยาสังคม ฯลฯ อันเป็นการศึกษาเจาะลึกลงไปถึงพฤติกรรมและปรากฏการณ์ของมนุษย์ในสังคม

สัมพันธภาพของความสัมพันธ์ต่างๆที่ก่อรูปการขึ้นภายใต้การอยู่ร่วมกันของมนุษย์ นับตั้งแต่ครอบครัว ชุมชน หมู่บ้าน สังคมประเทศ และสังคมโลก....ก่อเกิดวัฒนธรรมอันหลากหลายที่เกิดจากกระบวนการก่อรูปการขึ้นมาของมนุษย์ในแต่ละท้องถิ่น...ในแต่ละสังคม....

สังคมมนุษย์ก็มีทิศทางแห่งการพัฒนาอันเป็นไปตามกฎเกณท์ทางฟิสิกส์....เช่นเดียวกันกับองค์รวมระดับโมเลกุล...ในสิ่งต่างๆอันมีคุณภาพองค์รวมแตกต่างจากองค์รวมย่อยของอนุภาค....

องค์รวมมนุษย์ หนึ่งคน..ย่อมแตกต่างจากลักษณะองค์รวมของมนุษย์หลายคนที่ประกอบเป็นสังคม...รวมทั้งกฎเกณท์การพัฒนาที่มีขอบเขตุของขนาดและคุณภาพที่แตกต่างออกไป....

การวิเคราะห์อย่างกว้างๆ....จะเห็นได้ว่าการก่อรูปการทางวัตถุใดๆในทางสังคมก็เป็นไปตามทิศทางแห่งการก่อรูปการนั้นๆ.....ทิศทางแห่งการพัฒนาไป และทิศทางแห่งการเสื่อมสลาย....หรือทิศทางแห่งการเพิ่มขึ้นของขอบเขต..ขนาด..ความเร็ว..และพลังงานต่างๆในการก่อรูปการทางสังคม....และทิศทางของการลดขอบเขต...ขนาด...ความเร็ว...และพลังงานต่างๆในการก่อรูปการทางสังคม..

สังคม...ณ.เวลาปัจจุบันใดๆ....ล้วนเป็นการก่อรูปการขึ้นใหม่...ภายใต้การแสวงหาดุลยภาพที่มีการเคลื่อนที่....โดยมีร่องรอยแห่งรูปการของอดีต(ประวัติศาสตร์,มรดกวัฒนธรรม,ประเพณี.ความเชื่อฯลฯ)...รูปการปัจจุบันแห่งสังคม(ปฏิบัติการต่างๆในปัจจุบัน)...และร่องรอยแห่งอนาคต(อุดมคติ,อุดมการณ์,จุดมุ่งหมาย,ทฤษฎี,วิทยาการและนวัตกรรม ฯลฯ )....ก่อรูปการใหม่เป็นทิศทางแห่งสังคมปัจจุบันที่กำลังก้าวไป....

ร่องรอยแห่งอดีต...มีบทบาทสูงมากในการก่อรูปการทางสังคม...และมีบทบาทต่อการกำหนดทิศทางแห่งอนาคตของสังคมนั้นๆ....

สงครามก็คือตัวอย่างที่เด่นชัดแห่งการรุกรานทางวัฒนธรรมในทางสังคม....สงครามใดๆล้วนเกิดจากการขาดดุลยภาพในทางวัฒนธรรมของสังคมอันเนื่องจากอัตตาแห่งกลุ่มคนในสังคม....

วัฒนธรรมก็คือรากฐานแบบวิธีประพฤติปฏิบัติใดๆ...ของคนในสังคม...

อันก่อเกิดจาก...ร่องรอยแห่งอดีต...และร่องรอยแห่งอนาคต...และก่อรูปการขึ้นใหม่ตามหลักการทางฟิสิกส์.....ที่เป็นธรรมชาติของสังคมมนุษย์ภายใต้กระบวนแห่งการพัฒนา....


แบบวิธีวิเคราะห์ทางสังคมเป็นการทำความเข้าใจในสัมพันธภาพของกระบวนการต่างๆทางสังคม...เพื่อทำความเข้าใจในการนำมาประยุกต์ใช้.....

ในการประยุกต์เพื่อวิเคราะห์...คาดหมาย...พยากรณ์แนวโน้มหรือการสร้างแบบจำลองแห่งการพัฒนา....การปรับปรุงการสร้างกลยุทธ์ใหม่ๆการปรับปรุงองค์กรต่างๆทางสังคม...ล้วนแล้วมีเรื่องหลักที่จะต้องวิเคราะห์......ก็คือการทำความเข้าใจในเรื่อง....ทิศทาง.....กล่าวคือ...ทิศทางใหญ่...ทิศทางเล็ก....และทิศทางย่อยๆลงที่กำกับการปฏิบัติในแต่ละระยะ....

จุดมุ่งหมาย...อุดมคติ...อุดมการณ์...แนวทาง...นโยบาย....เข็มมุ่ง...หนทาง...ยุทธศาสตร์...ยุทธวิธี...กลยุทธ์...มาตรการ....ฯลฯ....

ทั้งหมดล้วนแล้วเป็นการกำหนดทิศทางแห่งองค์รวมแต่ละองค์รวมจะต้องเดินไปภายใต้การคาดหมายและการกำหนดแบบวิธีปฏิบัติในทางสังคม...หรือกระบวนแห่งการสร้างร่องรอยเพื่อดำเนินไปสู่อนาคต.....

จากเซลล์เดียวของไข่ที่ได้รับการผสมและพัฒนามาเป็นมนุษย์....สัตว์ที่เติบโตมาจากเซลล์เดียวเผ่าพันธุ์นี้....ที่มีส่วนประกอบของอนุภาคที่ไม่ต่างจากสิ่งอื่นๆภายยังมีลักษณะของการอยู่ร่วมกันเป็นสังคม...และมีการก่อรูปการทางสังคมขึ้นไม่ต่างจากโมเลกุลของอนุภาค.....

ลักษณะสำคัญที่ทำให้ก่อเกิดระบบสังคม...ก็คือระบบองค์รวมของสิ่งต่างๆในธรรมชาติมีพัฒนาการไปบนพื้นฐานแห่งการปรับดุลยภาพตลอดเวลาเพื่อให้เกิดการดำรงอยู่และเกิดการเคลื่อนที่ไป....ภายใต้อันตรกิริยากับภายนอก...ที่มีการแปรเปลี่ยนไปเช่นกันตลอดเวลา

โมเลกุลทางสังคม...หรือระบบความสัมพันธ์ทางชีวภาพของสังคมมนุษย์...มีระบบแห่งการสื่อสาร...ระบบเศรษฐกิจ...การเมือง...และระบบทางสังคมต่างๆ..เป็นส่วนเชื่อมความสัมพันธ์เช่นเดียวกันกับพันธะทางฟิสิกส์เคมี.....


ในการศึกษาในทางสังคมศาสตร์...มีการจำแนกการศึกษาออกเป็นหลากหลายสาขาวิชาการมากมายในการศึกษาปรากฎการณ์ในรูปแบบที่มนุษย์อยู่ร่วมกันก่อรูปการเป็นสังคมขึ้นมา....

ตัวแบบทางทฤษฎีในการศึกษาก็มีมากมายเช่นการวิเคราะห์ในลักษณะโครงสร้าง การวิเคราะห์กระบวนการที่ก่อเกิดพลวัตรหรือความขัดแย้งต่างๆ การวิเคราะห์แบบสัญญลักษณ์ต่างๆ การวิเคราะห์หาลักษณะปรากฎการณ์จากหน่วยพื้นฐานต่างๆ...การวิเคราะห์ในแบบกระบวนการวิวัฒนาการเป็นต้น...นับตั้งแต่เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ มานุษยวิทยา ประวัติศาสตร์ จิตวิทยาสังคม ฯลฯ อันเป็นการศึกษาเจาะลึกลงไปถึงพฤติกรรมและปรากฏการณ์ของมนุษย์ในสังคม

สัมพันธภาพของความสัมพันธ์ต่างๆที่ก่อรูปการขึ้นภายใต้การอยู่ร่วมกันของมนุษย์ นับตั้งแต่ครอบครัว ชุมชน หมู่บ้าน สังคมประเทศ และสังคมโลก....ก่อเกิดวัฒนธรรมอันหลากหลายที่เกิดจากกระบวนการก่อรูปการขึ้นมาของมนุษย์ในแต่ละท้องถิ่น...ในแต่ละสังคม....

สังคมมนุษย์ก็มีทิศทางแห่งการพัฒนาอันเป็นไปตามกฎเกณท์ทางฟิสิกส์....เช่นเดียวกันกับองค์รวมระดับโมเลกุล...ในสิ่งต่างๆอันมีคุณภาพองค์รวมแตกต่างจากองค์รวมย่อยของอนุภาค....

องค์รวมมนุษย์ หนึ่งคน..ย่อมแตกต่างจากลักษณะองค์รวมของมนุษย์หลายคนที่ประกอบเป็นสังคม...รวมทั้งกฎเกณท์การพัฒนาที่มีขอบเขตุของขนาดและคุณภาพที่แตกต่างออกไป....

การวิเคราะห์อย่างกว้างๆ....จะเห็นได้ว่าการก่อรูปการทางวัตถุใดๆในทางสังคมก็เป็นไปตามทิศทางแห่งการก่อรูปการนั้นๆ.....ทิศทางแห่งการพัฒนาไป และทิศทางแห่งการเสื่อมสลาย....หรือทิศทางแห่งการเพิ่มขึ้นของขอบเขต..ขนาด..ความเร็ว..และพลังงานต่างๆในการก่อรูปการทางสังคม....และทิศทางของการลดขอบเขต...ขนาด...ความเร็ว...และพลังงานต่างๆในการก่อรูปการทางสังคม..

สังคม...ณ.เวลาปัจจุบันใดๆ....ล้วนเป็นการก่อรูปการขึ้นใหม่...ภายใต้การแสวงหาดุลยภาพที่มีการเคลื่อนที่....โดยมีร่องรอยแห่งรูปการของอดีต(ประวัติศาสตร์,มรดกวัฒนธรรม,ประเพณี.ความเชื่อฯลฯ)...รูปการปัจจุบันแห่งสังคม(ปฏิบัติการต่างๆในปัจจุบัน)...และร่องรอยแห่งอนาคต(อุดมคติ,อุดมการณ์,จุดมุ่งหมาย,ทฤษฎี,วิทยาการและนวัตกรรม ฯลฯ )....ก่อรูปการใหม่เป็นทิศทางแห่งสังคมปัจจุบันที่กำลังก้าวไป....


ร่องรอยแห่งอดีต...มีบทบาทสูงมากในการก่อรูปการทางสังคม...และมีบทบาทต่อการกำหนดทิศทางแห่งอนาคตของสังคมนั้นๆ....
สงครามก็คือตัวอย่างที่เด่นชัดแห่งการรุกรานทางวัฒนธรรมในทางสังคม....สงครามใดๆล้วนเกิดจากการขาดดุลยภาพในทางวัฒนธรรมของสังคมอันเนื่องจากอัตตาแห่งกลุ่มคนในสังคม....


วัฒนธรรมก็คือรากฐานแบบวิธีประพฤติปฏิบัติใดๆ...ของคนในสังคม...
อันก่อเกิดจาก...ร่องรอยแห่งอดีต...และร่องรอยแห่งอนาคต....
และก่อรูปการขึ้นใหม่ตามหลักการทางฟิสิกส์.....ที่เป็นธรรมชาติของสังคมมนุษย์ภายใต้กระบวนแห่งการพัฒนา....



แบบวิธีวิเคราะห์ทางสังคม


เป็นแบบวิธีการการทำความเข้าใจในสัมพันธภาพของกระบวนการต่างๆทางสังคม...เพื่อทำความเข้าใจในการนำมาประยุกต์ใช้.....

ในการประยุกต์เพื่อวิเคราะห์...คาดหมาย...พยากรณ์แนวโน้มหรือการสร้างแบบจำลองแห่งการพัฒนา....การปรับปรุงการสร้างกลยุทธ์ใหม่ๆการปรับปรุงองค์กรต่างๆทางสังคม...ล้วนแล้วมีเรื่องหลักที่จะต้องวิเคราะห์......ก็คือการทำความเข้าใจในเรื่อง....ทิศทาง.....กล่าวคือ...ทิศทางใหญ่...ทิศทางเล็ก....และทิศทางย่อยๆลงที่กำกับการปฏิบัติในแต่ละระยะ....

จุดมุ่งหมาย...อุดมคติ...อุดมการณ์...แนวทาง...นโยบาย....เข็มมุ่ง...หนทาง...ยุทธศาสตร์...ยุทธวิธี...กลยุทธ์...มาตรการ....ฯลฯ....ทั้งหมดล้วนแล้วเป็นการกำหนดทิศทางแห่งองค์รวมแต่ละองค์รวมจะต้องเดินไปภายใต้การคาดหมายและการกำหนดแบบวิธีปฏิบัติในทางสังคม...หรือกระบวนแห่งการสร้างร่องรอยเพื่อดำเนินไปสู่อนาคต.....

จากเซลล์เดียวของไข่ที่ได้รับการผสมและพัฒนามาเป็นมนุษย์....สัตว์ที่เติบโตมาจากเซลล์เดียวเผ่าพันธุ์นี้....ที่มีส่วนประกอบของอนุภาคที่ไม่ต่างจากสิ่งอื่นๆภายยังมีลักษณะของการอยู่ร่วมกันเป็นสังคม...และมีการก่อรูปการทางสังคมขึ้นไม่ต่างจากโมเลกุลของอนุภาค.....

ลักษณะสำคัญที่ทำให้ก่อเกิดระบบสังคม...ก็คือระบบองค์รวมของสิ่งต่างๆในธรรมชาติมีพัฒนาการไปบนพื้นฐานแห่งการปรับดุลยภาพตลอดเวลาเพื่อให้เกิดการดำรงอยู่และเกิดการเคลื่อนที่ไป....ภายใต้อันตรกิริยากับภายนอก...ที่มีการแปรเปลี่ยนไปเช่นกันตลอดเวลา

โมเลกุลทางสังคม...หรือระบบความสัมพันธ์ทางชีวภาพของสังคมมนุษย์...มีระบบแห่งการสื่อสาร...ระบบเศรษฐกิจ...การเมือง...และระบบทางสังคมต่างๆ..เป็นส่วนเชื่อมความสัมพันธ์เช่นเดียวกันกับพันธะทางฟิสิกส์เคมีต่างๆที่เชื่อมอนุภาคเป็นโครงสร้างโมเลกุล.......

ในการวิเคราะห์เพื่อหาทิศทางที่จะก่อให้เกิดทางเลือกที่ดีที่สุดกับการก่อรูปการทางสังคม...มีหัวข้อที่ต้องวิเคราะห์หลักๆดังนี้...


1.การวิเคราะห์ทิศทาง ....ได้แก่ทิศทางหลัก...ทิศทางย่อยๆ...ทิศทางเลือกต่างๆ...เป็นต้น อันประกอบไปด้วยการวิเคราะห์

-ร่องรอยแห่งอดีต...อันเป็นส่วนที่จะบ่งบอกถึงทิศทาง

-ร่องรอยแห่งอนาคต....อันบ่งบอกถึงทิศทางและแนวโน้ม

-แบบวิธีปฏิบัติในปัจจุบัน.....อันบ่งบอกถึงข้อแห่งการกระทำปัจจุบัน

-ศักย์ที่ดำรงอยู่......ได้แก่ค่าแห่งศักยภาพทางกายภาพทางสังคม และศักยภาพทางปัญญา,จิตวิญญาณทางสังคมนั้นๆ...อันก่อเกิดระบบแห่งการแลกเปลี่ยนศักยภาพนั้นๆ...การประเมินคุณค่า...การเปรียบเทียบต่างๆ.....สัมพันธภาพต่างๆ...เป็นต้น

-ลักษณะของความสัมพันธ์และระบบ....เช่นระบบสื่อสาร...

-การเปลี่ยนแปลงและทิศทางภายใต้การเคลื่อนที่

-มิติของเงา,มิติวงแหวน,มิติการทับซ้อน(พหุภาพกายภาพ),มิติการทับซ้อนเวลา(พหุภาพเวลา)และมิติองค์รวมพหุภาพ(องค์รวมทางกายภาพและจิตวิญญาณทางสังคม)

2.หลักการทั่วไปทางฟิสิกส์ของการเปลี่ยนแปลง
( ดังได้กล่าวในรายละเอียดมาแล้ว...เช่นพลังงานความเร็วของระบบ..หรือศักยภาพต่างๆที่ดำรงอยู่ในทางสังคมอันเป็นเงื่อนไขการก่อรูปการทางวัตถุในระบบ )

3.การประยุกต์ หรือการเลือกทิศทาง


เช่น...การสร้างองค์ความรู้ใหม่ใดๆ....ก็ต้องคำนึงถึงทิศทางอันก่อให้เกิดการพัฒนาสูงขึ้นของระบบที่สอดคล้องกับการพัฒนาไปของภายนอก...และองค์ความรู้ใดๆล้วนประกอบไปด้วย ร่องรอยอดีตหรือประวัติศาสตร์(ที่เก็บรับบทเรียน),ร่องรอยการกระทำปัจจุบัน(การลงมือทดลองปฏิบัติเพื่อหาข้อสรุป)และร่องรอยแห่งอนาคต(การสร้างสรรค์,การรังสรรค์,ทฤษฎี,จินตนาการ,นโยบายมาตรการทุกชนิดเป็นต้น)....


ศักยภาพแห่งทุน


หากจะกล่าวถึงทิศทางหลักแห่งการที่มนุษย์อยู่ร่วมกันเป็นสังคมแล้ว....ทิศทางหลักๆก็คือทิศทางแห่งความรัก....อันเป็นการก่อรูปการพันธะที่เชื่อมโยงมนุษย์กับมนุษย์ในสังคม

หากปราศจากความรักที่มนุษย์มีต่อสิ่งอื่นนอกเหนือจากตนเองแล้ว....

การก่อรูปการทางสังคมคงไม่เกิดขึ้น....

จากความรัก...ระหว่างเพศ...สู่ครอบครัว....ชุมชน...สังคม..
ทิศทางแห่งความรักจึงเป็นการก่อรูปการแห่งพันธะที่เชื่อมเป็นโมเลกุลมนุษย์...

ความเข้มแข็ง...แข็งแกร่งขึ้นกับความเหนียวแน่นแห่งพันธะเหล่านี้อันก่อเกิดรูปการการเรียงตัวหรือบนพื้นฐานแห่งการเกาะเกี่ยวกันด้วยความรัก...ความสมานฉันท์...ความเสมอภาค...

ที่โมเลกุลในระดับต่างๆ...เกี่ยวร้อยเป็นองค์เอกภาพเดียวกัน...

เมื่อมนุษย์ถือกำเนิดมา....สิ่งที่ดำรงอยู่ ณ.เวลาปัจจุบันในการวิเคราะห์...ก็คือ..

ศักยภาพทางกายภาพ....และศักยภาพทางปัญญา-จิตวิญญาณ

ระบบแห่งการประเมินคุณค่าศักยภาพเหล่านี้....เป็นผลมาจากร่องรอยอดีต...ปัจจุบัน..และร่องรอยแห่งอนาคต อันประกอบเป็นรูปการจิตสำนึกต่างๆในทางสังคม...

ระบบการจัดการในทางสังคมใดๆ....เช่นระบบการเมือง...ระบบเศรษฐกิจ...ระบบทางสังคม...วัฒนธรรม...เป็นต้น ต่างล้วนพัฒนามาจาก....การก่อรูปการของกลไกกลางแห่งการแลกเปลี่ยนศักยภาพของทุน....

หากเราใช้แบบจำลองในการวิเคราะห์ในแบบเศรษฐศาสตร์การเมือง....เพื่อทำการวิเคราะห์แบบแยกส่วน.....อันมีข้อสรุปพื้นฐานว่า...

โครงสร้างชั้นบนและรูปการจิตสำนึกทางสังคมต่างๆ....ก่อเกิดจากรากฐานทางเศรษฐกิจอันเป็นรากฐานแห่งการก่อเกิดขึ้นของโครงสร้างชั้นบน...

และเมื่อแยกย่อยลงไป...ถึงกระบวนการพื้นฐานทางเศรษฐกิจ....เราก็จะพบว่า...หน่วยย่อยพื้นฐานก็คือคน...

คน...ซึ่งก่อกำเนิดมาด้วยพื้นฐานที่แตกต่างกันและไม่มีใครเหมือนกันเลยทั้งโลกใบนี้....

หากมององค์รวมกว้างๆในระดับโมเลกุลหรือสังคมมนุษย์.....ก็จะเห็นลักษณะร่วมที่เหมือนกัน...
แต่เมื่อแยกย่อย...สู่ระดับอนุภาคหรือระดับมนุษย์แต่ละคน...

แต่ละคน....มีการดำรงอยู่แห่งศักยภาพทางกายภาพ...และศักยภาพทางปัญญา...ไม่เท่ากัน..
เมื่อวิเคราะห์ในการก่อรูปการทางเศรษฐกิจ...อันมีการแลกเปลี่ยนของคนในสังคมภายใต้อันตรกิริยาต่างๆ...

ศักยภาพที่ก่อเกิดทุน...ของแต่ละคนที่แตกต่างกันตามรูปการจิตสำนึกแห่งระบบคุณค่าทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป....

ศักยภาพทุนทางกายภาพ...และศักยภาพทุนทางปัญญา-จิตวิญญาณ...ที่ประกอบเป็นองค์รวมทางกายภาพแห่งทุน...ของแต่ละคน...แต่ละชุมชน...แต่ละสังคม...

ความแตกต่างเหล่านี้....ล้วนเกิดขึ้นจาก...ดุลยภาพที่มีการเคลื่อนที่ของกลไกกลางการแลกเปลี่ยนศักยภาพของทุน...

รูปการแห่งกระบวนการใช้อำนาจในการจัดการในการควบคุมกลไกกลางการแลกเปลี่ยนเหล่านี้....ก็คือรูปการแห่งระบบการปกครองของสังคมนั้นๆ....

ระบบแห่งการควบคุมกลไกกลางการแลกเปลี่ยนที่ดำเนินไป...ในทิศทางหลัก 2 ทิศทาง..


ทิศทางแห่งความรัก....ของมนุษย์ต่อสรรพสิ่ง...
และทิศทางแห่งการสั่งสมเพื่อตัวตน....

การขาดดุลยภาพอันเกิดจากการเบี่ยงเบนทิศทางการพัฒนาไปของกลไกกลางการแลกเปลี่ยนศักยภาพแห่งทุน...

เป็นไปทั้งในรูปแบบที่เจตนา....และรูปแบบที่ไม่เจตนา....
ก่อเกิดการสูญเสียประสิทธิภาพสูงสุดแห่งการพัฒนาศักยภาพทุนขององค์รวม...

ก่อเกิด...การแตกแยก..ความไม่เสมอภาคให้กับคนในสังคม...

รวมไปถึง...ความเสมอภาคแบบกลไกและเสรีภาพแบบกลไก....อันเป็นเพียงรูปแบบที่เอื้อประโยชน์เพียงบางกลุ่มที่ควบคุมกลไกกลางเหล่านี้....และทิศทางแห่งความเสมอภาคแบบกลไก...จุดหมายปลายทางก็คือการแตกแยก...และแรงต้านทานต่างๆจากคนในสังคมที่มีต่อเนื่องไปตลอด....

ทิศทางที่ถูกต้องของกลไกกลางการแลกเปลี่ยนศักยภาพทุน...

ก็คือ...ทิศทางแห่งความรัก...ทิศทางแห่งสันติภาพ...

อันเป็นทิศทางแห่งการนำใช้ศักยภาพทุนที่เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อมวลมนุษยชาติ...และต่อสรรพสิ่งที่แวดล้อมภายนอก...


ที่ประกอบขึ้นเป็นองค์รวมแห่งโลกใบนี้....




การวิเคราะห์แบบแยกส่วนย่อยลงไปถึงหน่วยพื้นฐานทางสังคม....ซึ่งก็คือคน...และคนซึ่งประกอบไปด้วย ศักยภาพทางกายภาพ และศักยภาพทางปัญญา-จิตวิญญาณ ที่ประกอบขึ้นเป็นองค์รวมของคน

ในการวิเคราะห์ที่แยกส่วนเป็นสาขาวิชาต่างๆ....ในทางเศรษฐศาสตร์ คือการวิเคราะห์เรื่องของ ทุน..อันเป็นหน่วยย่อยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ....ในสาขารัฐศาสตร์ จะวิเคราะห์ถึง โครงสร้างการใช้อำนาจเป็นหลัก...และรวมถึงความสัมพันธ์แห่งอำนาจต่างๆในทางสังคม...

ปัจจุบัน...จากตัวอย่างการพัฒนาทางสังคมมนุษย์นับแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบันจะเห็นได้ว่า....การพัฒนาทางสังคมล้วนเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางรากฐานทางเศรษฐกิจ....การปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีทางการผลิต....เทคโนโลยีการสื่อสาร...เป็นต้น..อันก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างชั้นบน...

ในอดีต...แนวคิดเกี่ยวกับทฤษฎีการพัฒนาสังคมทั้งเศรษฐกิจและการเมือง...อาจจะจำแนกเป็น2ค่ายใหญ่...คือ เสรีนิยม และสังคมนิยม

ในกรอบแนวคิดของค่ายสังคมนิยม ในแนวคิดทางเศรษฐกิจ จะยึดหลักทฤษฎี ของมาร์กซ เป็นหลัก....อันมีข้อจำกัดในแบบการวิเคราะห์ที่เป็นไปแบบทวิลักษณะแบบกลไก

ทุน...และมูลค่า ...ในทัศนะของค่ายนี้...จะมองว่า ก่อขึ้นเมื่อมนุษย์ใช้แรงงาน...และมีทัศนะที่เชื่อว่ามีแต่ชนชั้นแรงงานเท่านั้นจึงจะมีความคิดที่เป็นวิทยาศาสตร์....อีกทั้งยังพยากรณ์ว่าระบอบทุนนิยมเป็นระบอบที่ล้าหลัง....จะต้องพินาศในที่สุด...

กรอบคิด...ก็มาจากแนวคิดแบบวิวัฒนาการที่เชื่อว่า...การพัฒนาของสังคม...ปรับเปลี่ยนจากระบอบที่เรียกว่าทุนนิยม...ไปสู่สังคมนิยม...และจุดมุ่งหมายสุดท้ายคือการสูญสลายรัฐ...

ในขณะที่กรอบแนวคิดของค่ายเสรีนิยม....ก็เสนอแนวคิดอันเป็นเสรีนิยมแบบกลไก...หรือเป็นเพียงรูปแบบเป็นเพียงรูปธรรมในทางลายลักษณ์อักษร แต่ในทางการปฏิบัติผู้ที่ได้เปรียบทางศักยภาพและการควบคุมกลไกกลางการแลกเปลี่ยนทางศักยภาพทุน....ล้วนเป็นผู้ที่มีเสรี......

ปัจจุบัน....เราจะเห็นว่า เพียงแค่ทารกแรกเกิด....เป็นเพศไหน...ก็จะมีศักยภาพทุนทางกายภาพแตกต่างกันไปตามคุณค่าที่เกิดขึ้นในทางสังคมนั้นๆ....เช่นในเมืองจีน...เพศชายมีคุณค่าทางศักยภาพทางกายภาพ อันเกิดจากอันตรกิริยาระหว่างทารก กับคุณค่าทางสังคมนั้นๆ ....

แค่แรงงาน...ที่เด็กร้องหลังคลอดตามสัญชาติญาณเพื่อความอยู่รอด....ให้ปอดทำงานหลังออกมาสู่โลกที่มีอากาศ....จากที่อยู่ในน้ำคร่ำ...
แรงงานเป็นตัวกำหนดมูลค่า...จริงหรือ...?!! หากจะวิเคราะห์แบบแยกย่อยไปถึงหน่วยมูลฐาน...


ปัจจุบัน...สังคมมนุษย์ พัฒนาก้าวไกลไปสู่อีกระดับของความสัมพันธ์...อันมีความสัมพันธ์ในหลายระบบความสัมพันธ์ทางสังคม...เมื่อวิเคราะห์แบบเศรษฐศาสตร์การเมือง...เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของรัฐ จะเห็นได้ว่ามีความสัมพันธ์ดังนี้

-ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐชาติ
-ความสัมพันธ์ขององค์กรไร้รัฐ(องค์กรเสมือนแห่งรัฐ)
-ความสัมพันธ์เครือข่ายแห่งรัฐชาติ
-ความสัมพันธ์ของเครือข่ายองค์กรเสมือนแห่งรัฐ


ปัจจุบัน องค์กรเสมือนแห่งรัฐ...หรือองค์กรไร้รัฐ มีบทบาทสำคัญในการกำหนดทิศทางการพัฒนาของรัฐชาติต่างๆในโลก...เช่น บรรษัทข้ามชาติ...องค์กรเอกชนต่างๆ...กลุ่มทุนในระดับต่างๆภายในรัฐชาติ เป็นต้น

แนวทาง...นโยบาย...ทิศทางการพัฒนาของรัฐชาติต่างๆล้วนอยู่บนพื้นฐาน การสนองตอบต่อการพัฒนา การขยายตัว ขององค์กรเหล่านี้....

รัฐชาติ...ในฐานะบทบาทที่เป็นกลไกกลางการแลกเปลี่ยนศักยภาพทุนของประชาชนและประชาชาติให้ก่อเกิดดุลยภาพ....จึงเป็นเพียงอุดมการณ์...อุดมคติ....

กรอบแนวคิด...ทฤษฎี...ทิศทาง...แนวทาง...แนวนโยบายแห่งรัฐชาติใดๆ...ล้วนอยู่บนพื้นฐานหลักการพัฒนาทุนบนพื้นฐานกรอบแห่งลัทธิบริโภคนิยม...

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์...เพื่อบรรลุเป้าหมายการสร้างแรงงานสำรองให้กับองค์กรเหล่านี้...และแต่ละรัฐชาติ...ต่างล้วนแก้ไขกฎระเบียบทางสังคมเพื่อดึงดูดเงินทุนจากองค์กรเหล่านี้ให้มาลงทุนในประเทศ...ซึ่งแต่ละรัฐชาติต่างล้วนแข่งขันกัน...

อุดมคติ....ที่เคยมีต้องเก็บเอาไว้ในลิ้นชัก.....

เศรษฐศาสตร์แห่งความสุข...การเมืองเพื่อความสุข..มีหรือไม่..??

คำตอบก็คือ...มี....แต่ไม่ทำ..!!! เลือกได้...แต่ไม่เลือก..!!


เมื่อ..องค์กรเสมือนของรัฐ...ต่างล้วนอิงแอบแนบชิดกับผู้กุมอำนาจแห่งรัฐชาติต่างๆ...และเป็นเสมือนจิตวิญญาณ ของผู้กุมกลไกอำนาจรัฐเหล่านี้....

เสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ แห่งประชาชาติ ก็เป็นเพียง ลมปากจากนักสิทธิมนุษยชนจอมปลอมเหล่านี้....


การก่อรูปการทางสังคม หรือการก่อรูปการทางวัตถุของกระบวนการของความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์และระหว่างมนุษย์กับสรรพสิ่งภายนอก...

วัตถุ...ในความหมายในที่นี้หมายถึง....รูปการที่เกิดขึ้นของสิ่งต่างๆกระบวนการต่างๆความสัมพันธ์ต่างๆ...อันสามารถตรวจวัดได้ถึงความแตกต่างจากสิ่งอื่น...

รูปการทางวัตถุที่เกิดขึ้นใดๆ...ล้วนมีหลักการพื้นฐานแห่งการก่อรูปการในทางฟิสิกส์....อันได้แก่

พลังงาน...ที่ดำรงอยู่ในระบบนั้นๆที่เป็นผลจากอันตรกิริยากับสิ่งต่างๆ

ศักยภาพทางกายภาพ และศักยภาพทางปัญญา-จิตวิญญาณ ในมนุษย์ และในทางสังคมแต่ละสังคม...ก็คือการดำรงอยู่แห่งพลังงานในการก่อรูปการทางวัตถุนั้นๆ...

เช่นในรูปแบบการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์...ก็ได้แก่ระบบทุน....ศักยภาพแห่งทุนที่ดำรงรงอยู่ของมนุษย์ และของสังคม....ในทางรัฐศาสตร์ ได้แก่ระบบการเมืองการปกครองต่างๆ....ในรูปการจิตสำนึกต่างๆก็ได้แก่...วัฒนธรรม ความเชื่อ ที่ดำรงอยู่ภายใต้การสั่งสมมายาวนานในทางประวัติศาสตร์แห่งการพัฒนาของมนุษยชาติ...

นอกจากจะตรวจวัดในความแตกต่างของระบบพลังงานที่ดำรงอยู่รวมทั้งความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นจากกลไกกลางแห่งการแลกเปลี่ยนศักยภาพ....

การเปลี่ยนแปลงของระบบสังคม....ยังมีการเปลี่ยนแปลงอันเป็นไปตามหลักการพื้นฐานทางฟิสิกส์อีกประการหนึ่งกล่าวคือ...เป็นการเปลี่ยนแปลงไปตามการเปลี่ยนไปของระดับพลังงานทางสังคมที่ดำรงอยู่ในสังคมนั้น

การเปลี่ยนแปลงในทางสังคม ที่มีวิวัฒนาการระบบการผลิตในทางสังคมและการพัฒนารูปการจิตสำนึก จากสังคมบรรพกาล สังคมทาส สังคมศักดินา สังคมทุนนิยม(สังคมที่มีความเข้มข้นแห่งการผูกขาดการควบคุมกลไกกลางการแลกเปลี่ยนศักยภาพทุน) และสู่ยุคปัจจุบัน สังคมบริโภคนิยม(สังคมการบริโภคแบบเสมือน)ล้วนแล้วเป็นการเปลี่ยนไปแห่งระดับของศักย์ ทางกายภาพ และระดับศักย์ทางปัญญา-จิตวิญญาณ ที่สังคมนั้นๆเกิดการเปลี่ยนแปลงไป

การประเมินศักยภาพทางกายภาพและศักยภาพทางปัญญา-จิตวิญญาณที่ดำรงอยู่ในสังคม อันประกอบเป็นองค์รวมทางสังคมหนึ่งสังคมใด....ล้วนเป็นไปอย่างมีการเปรียบเทียบ...หรือสัมพัทธ์

คุณค่า ที่ตรวจวัด ย่อมตรวจวัดได้จากขอบเขตุความสัมพันธ์ที่กว้างขวางขึ้น หรือมีขอบเขตุแห่งการขยายออกไปจากตัวตนกว้างขวางขึ้น....

ระบบคุณค่าทางสังคมใด...ที่มีกรอบกระบวนทัศน์อันขยายกว้างขวางขึ้นไปสู่การรับรู้แห่งความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของสรรพสิ่งที่ต้องพึ่งพาอาศัยกัน...ย่อมเป็นระบบที่มีทิศทางแห่งการยกระดับการพัฒนาที่สูงขึ้น...เมื่อเปรียบเทียบกับจุดเริ่มต้นแห่งการก่อรูปการทางสังคมมนุษย์และมีวิวัฒนาการมาตามลำดับ......

ระบบที่ก่อให้มนุษย์ในสังคมนั้นๆ....ดำรงชีวิตได้ด้วยความมีเสรี....แห่งดุลยภาพทางกายภาพและทางปัญญา....บนพื้นฐานแห่งความสุขที่ได้รับในกระบวนการทางสังคมนั้นๆพร้อมๆไปกับสังคมภายนอก.....

ระบบสังคมที่ว่านี้....ย่อมเป็นสังคมที่มีขนาดและปริมาณของพลังงานที่สูงกว่าสังคมที่พัฒนาไปไม่ถึงขั้นนี้....

สังคมบางสังคม...แม้ว่าทางกายภาพจะพัฒนาสูงด้วยเทคโนโลยีทันสมัย...แต่มนุษย์ในสังคมก็ยังขาดเสรี....หมายถึงเสรีที่จะดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข...

เมื่อกล่าวโดยองค์รวมแห่งสังคมแล้ว....สิ่งที่จะชี้วัดระดับขนาดปริมาณและคุณภาพของพลังงานแห่งระบบสังคมนั้นย่อมต้องประกอบไปด้วย องค์รวมศักยภาพที่ดำรงอยู่ทางกายภาพและทางจิตวิญญาณแห่งสังคมนั้นๆ

เราไม่อาจกล่าวได้ว่า....สังคมโจร..ที่อาศัยการปล้นฆ่า และผลิตเทคโนโลยีแห่งการเข่นฆ่ามนุษย์ด้วยความทันสมัย....เป็นสังคมที่มีระบบพลังงานสูง.....เมื่อเรามองแบบองค์รวมถึงระดับการพัฒนาทางด้านจิตใจ....หรือจิตสำนึกในสังคม...

การก่อรูปการทางสังคมแบบโจร...ก็เกิดจากทิศทางที่บิดเบี้ยวแห่งการก่อรูปการทางสังคมนั้น...

นอกจากนี้...หลักการทั่วไปในทางฟิสิกส์แห่งการก่อรูปการทางวัตถุใดๆ...ยังมีประเด็นที่ต้องวิเคราะห์คือ...

รูปการทางวัตถุแห่งระบบปัจจุบันใดๆ....เป็นการก่อรูปการขึ้นมาใหม่ทั้งสิ้น...ณ.เวลาอ้างอิงปัจจุบัน....

การเกิดรูปการใหม่ในปัจจุบัน แตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับรูปการของอดีต...

หากแต่ว่าบทบาทของอดีต....มีส่วนสำคัญต่อทิศทางแห่งการพัฒนาไป ณ.เวลาปัจจุบัน...

ดังนั้น....รูปการแห่งการพัฒนาไปในปัจจุบันของสังคม...จึงประกอบไปด้วย

ทิศทางของร่องรอยแห่งอดีต....ทิศทางแห่งการกระทำการปฏิบัติทางสังคมแห่งปัจจุบัน...และรวมไปถึง ทิศทางแห่งความไฝ่ฝันหรือร่องรอยแห่งอนาคต....

ประกอบกันขึ้น...เป็นองค์รวมแห่งกระบวนทัศน์ของคนส่วนใหญ่ในทางสังคมปัจจุบัน...

การวิเคราะห์แบบองค์รวมในทางสังคม



การวิเคราะห์แบบองค์รวมในทางสังคม
................................

การคิดใหม่ต่อหลักการ
และแนวคิดทั่วไปในการวิเคราะห์:


หลักการพื้นฐานโดยทั่วไปในกระบวนการรับรู้ในการเรียนรู้ของมนุษย์ไม่ต่างจากปิระมิดที่มียอดแหลมตั้งบนพื้น....ถ้าเปรียบพื้นดินเหมือนความรับรู้อันกว้างใหญ่ไพศาลในจักรวาล....โดยมีปลายแหลมของยอดปิระมิดที่เป็นบริเวณที่มนุษย์ทำความเข้าใจต่อโลกและสรุปเป็นหลักการ
.....เมื่อมีการต่อยอดขึ้นไปเรื่อยๆขององค์ความรู้....ฐานที่เล็กแต่ส่วนบนมีการแตกแขนงไปไม่สิ้นสุด....ย่อมล่องลอยอยู่บนฟ้าและในที่สุดก็ล้มลงสัมผัสความเป็นจริงยังพื้นดิน.....และสร้างพื้นฐานใหม่....
......นั่นจึงเป็นสาเหตุว่า...ทำไมจึงต้องมีการคิดใหม่ในเรื่องหลักการ...ก็เพื่อหารากฐานที่ถูกต้องในการต่อยอด....

หลักพื้นฐานในการคิด....ที่มีหลายรูปแบบเช่น...
แบบแยกส่วนย่อย
แบบการสรุปรวบยอด
แบบบูรณาการ

ในแบบบูรณาการจะเห็นว่ามีฐานของปิระมิดหลายๆปิระมิดแห่งสหวิชาหลายๆสาขาที่เอาปลายแหลมตั้งไว้หลายๆบนดินแดนแห่งความรู้อันเป็นรากฐานการต่อยอดขึ้นไป....จากหลายๆฐานที่เกี่ยวโยงกัน...

หากแต่ว่า....กระบวนทัศน์แบบองค์รวม( holistic paradigm )ที่นำเสนอนี้เป็นแบบวิธีคิดอีกแบบ....ที่ขยายกรอบอ้างอิงให้กว้างขึ้น...เช่นกรอบมิติ...ในการอ้างอิง..

โดยสรุปเป็นกรอบกว้างๆเรียกว่า....มิติแห่งองค์รวมพหุภาพ..

องค์รวมพหุภาพ.....หมายถึงองค์รวมอันประกอบเป็นเอกเทศของสิ่งหนึ่งสิ่งใดในการตรวจวัด....และสัมพันธ์กับสิ่งที่ตรวจวัด....

การวิเคราะห์ทุนอันเป็นหน่วยพื้นฐานหนึ่งในทางเศรษฐกิจการเมืองเช่นกัน...มีรากฐานในการวิเคราะห์ดังได้กล่าวมาแล้ว...คือ....

การวิเคราะห์บนรากฐานทฤษฎีแบบเสรีนิยม
การวิเคราะห์บนรากฐานทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองแบบมาร์กซิสต์

และการวิเคราะห์ภายใต้กระบวนทัศน์แบบองค์รวม....

ผู้เขียนจะเน้นหนักเฉพาะทุน...แห่งระบอบธรรมาธิปไตย....เช่นระบบทุนแบบ ethical capital อันเป็นรากฐานทางเศรษฐกิจ ของโครงสร้างชั้นบนในระบอบรัฐแห่งธรรมาธิปไตย

Ethical capital หรือทุนแบบมีศีลธรรม ( ทุนในอุดมคติของระบบที่กลไกกลางการแลกเปลี่ยนศักยภาพของทุนเกิดดุลยภาพ) ซึ่งมีความหมายครอบคลุมที่กว้างขวาง....อันรวมไปถึงรูปการจิตสำนึกต่างๆที่เป็นศักยภาพแห่งทุนที่ดำรงอยู่ของมนุษย์ในสังคมนั้นๆ.....รวมถึงศาสนา....ความเชื่อทางจิตวิญญาณต่างๆของผู้คน....

รวมไปถึงจุดอ่อนต่างๆของระบอบทุนภายใต้กรอบกลไกแลกเปลี่ยนแบบเสรีนิยม....และแบบสังคมนิยม...


ทุน...หน่วยย่อยพื้นฐานเศรษฐกิจ-การเมือง


ระบอบเศรษฐกิจการเมืองใดๆล้วนแล้วมิอาจแยกออกจากการพัฒนาไปของระบอบทุนในโลก....
ทุน อันถือเป็นหน่วยย่อยพื้นฐานหนึ่งในทางเศรษฐกิจและการเมืองในสังคม....และเป็นรากฐานสำคัญต่อความสัมพันธ์ต่างๆของผู้คนในสังคมที่ก่อเกิดรูปการจิตสำนึกต่างๆ
การทำความเข้าใจในการพัฒนาไปของทุนที่มีการเปลี่ยนแปลงไปทำให้เราเข้าใจการเปลี่ยนแปลงไปของสังคม...วัฒนธรรม...การเมือง...ที่เกิดขึ้นจากการเคลื่อนที่ไปของทุน...

นิยามของทุน...มีผู้ให้คำอธิบายไว้หลายมุมมอง...ในทฤษฎีของฝ่ายสังคมนิยม...ได้ให้คำอธิบายว่า....

ทุน...เกิดจากแรงงาน....และผลจากแรงงานได้สร้างมูลค่าส่วนเกิน....และจากการสะสมทุนที่เกิดจากแรงงานส่วนเกิน ก่อให้เกิดชนชั้นใหม่คือชนชั้นนายทุน...ที่มีอำนาจผูกขาดควบคุมปัจจัยการผลิตต่างๆ.....จึงก่อให้เกิดทฤษฎีแห่งการต่อสู้ทางชนชั้น...และก่อเกิดรัฐแห่งสังคมนิยมขึ้น.....

ขณะที่อีกแนวคิดหนึ่ง...ยึดถือความมีเสรีภาพแห่งทุน....และก่อให้เกิดความมั่งคั่งและใหญ่โตของทุนที่เป็นปัจเจกชนขนาดใหญ่ขึ้น...จนไปสู่การข้ามชาติและไร้รัฐ...

ในแนวคิดที่นำเสนอ...จะพิจารณาทุนในอีกแง่มุมหนึ่ง...เพื่อนำเสนอว่าทุนแห่งรัฐธรรมาธิปไตย....เกิดขึ้นได้อย่างไร...

รัฐแห่งธรรมาธิปไตย ก็คือรัฐที่มีกระบวนการจัดความสัมพันธ์ของระบอบทุนอย่างมีดุลยภาพที่มีการเคลื่อนที่....


การกำเนิดของทุน....และกลไกแลกเปลี่ยนศักยภาพทุน


มนุษย์ ทุกคนที่เกิดมาบนโลก...ต่างล้วนมีความแตกต่างกัน...ไม่มีมนุษย์คนไหนที่เกิดมาเหมือนกันทุกประการแม้แต่เด็กฝาแฝดก็ตาม....
ความแตกต่างเหล่านี้...แยกเป็นความแตกต่างทางศักยภาพทางกายภาพ...และความแตกต่างทางศักยภาพทางปัญญารวมถึงจิตวิญญาณ...
องค์รวมของศักยภาพเหล่านี้ ที่ประกอบเป็นมนุษย์ผู้นั้น ที่มีความแตกต่างจากผู้อื่น....เมื่อมนุษย์มีการอยู่กันเป็นสังคม....จึงก่อให้เกิดกระบวนแห่งการแลกเปลี่ยนศักยภาพเหล่านั้นที่มีศักย์สะสมไว้แตกต่างกัน....
จึงมีการเกิดขึ้นของ....กลไกแห่งการแลกเปลี่ยนทางศักยภาพของทุน....

เช่น...ระบบการประเมินคุณค่าของศักยภาพที่มีอยู่....ระบบแลกเปลี่ยนศักยภาพ...
ในยุคบรรพกาล....ก็ย่อมมีการประเมินคุณค่าที่แตกต่างกันไป....ศักยภาพที่ได้เปรียบทางกายภาพบางครั้งอาจถูกประเมินว่ามีคุณค่าที่สูงกว่า...
เมื่อกลไกแห่งการแลกเปลี่ยนไร้ซึ่งดุลยภาพ.....ภายใต้การเปลี่ยนแปลงไปของสภาพแวดล้อมต่างๆที่เปลี่ยนไป....รวมไปถึงศักยภาพที่เพิ่มขึ้นและลดลงของผู้คนเมื่อมีการเปรียบเทียบอย่างสัมพัทธ์.....
การเปลี่ยนแปลงจึงเกิดขึ้น......จากการขาดดุลยภาพในการแลกเปลี่ยนเหล่านั้น......

ไม่มีความคิดเห็น: